งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รายงานสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รายงานสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รายงานสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
ภาคตะวันออก ข้อมูล ณ วันที่ 3 มีนาคม 2553 กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดระยอง

2 สถานการณ์การระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
สถานการณ์การระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ถึงวันที่ 3 มีนาคม พื้นที่ระบาด 6 จังหวัด ในภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยองและสระแก้ว รายละเอียดดังนี้ วิเคราะห์สถานการณ์ ข้อมูลพื้นที่การปลูกมันสำปะหลัง ในภาพรวม 6 จังหวัด ภาคตะวันออก รวม 1,786,433 ไร่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง (ไร่) จันทบุรี ,702 ฉะเชิงเทรา 351,705 ชลบุรี ,239 ปราจีนบุรี 192,831 ระยอง ,937 สระแก้ว ,019 รวม ,786,433

3

4 ตามมาตรการเร่งด่วนและมาตรการเฝ้าระวัง
2. การระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง 6 จังหวัด ภาคตะวันออก ตามมาตรการเร่งด่วนและมาตรการเฝ้าระวัง พื้นที่ระบาดรวม 194,288 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 11 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งหมด 6 จังหวัด ภาคตะวันออก (1,786,433 ไร่) พื้นที่ยังไม่ระบาดรวม 1,592,145 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 89

5 3. พื้นที่การระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ใน 6 จังหวัด ภาคตะวันออก
ตามมาตรการเร่งด่วนและมาตรการเฝ้าระวัง แบ่งตามช่วงอายุมันสำปะหลัง ดังนี้ -อายุ 1 – 4 เดือน พื้นที่ระบาด 116,859 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 60 ของพื้นที่ระบาดรวม(194,288 ไร่) -อายุ 5 – 7 เดือน พื้นที่ระบาด ,790 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27 ของพื้นที่ระบาดรวม(194,288 ไร่) -อายุ 8 เดือนขึ้นไป พื้นที่ระบาด ,639 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 13 ของพื้นที่ระบาดรวม(194,288 ไร่) รวมพื้นที่ระบาด 194,288 ไร่

6

7 ต่อพื้นที่ระบาดรวมรายจังหวัด
รายละเอียดพื้นที่และร้อยละการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังตามช่วงอายุมันสำปะหลัง ต่อพื้นที่ระบาดรวมรายจังหวัด อายุมันสำปะหลัง 1-4 เดือน เดือน 8 เดือนขึ้นไป รวมพื้นที่ระบาด (ไร่) ร้อยละ (ไร่) ร้อยละ (ไร่) ร้อยละ (ไร่) จันทบุรี 2, , ,975 ฉะเชิงเทรา 32, , , ,109 ชลบุรี 5, , , ,500 ปราจีนบุรี 58, , , ,044 ระยอง 3, , , ,257 สระแก้ว , , , ,403 ภาพรวม , , , ,288

8

9 สาเหตุการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
1.สภาพอากาศแห้งแล้ง เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ของเพลี้ยแป้ง จึงทำให้เกิด การแพร่กระจายและการระบาดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น 2.เกษตรกรยังไม่ตระหนักด้านการป้องกัน จึงไม่ได้ทำลายเศษซาก ต้นมันสำปะหลังแปลงที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง หลังการเก็บเกี่ยว จึงเป็นแหล่งขยาย พันธุ์เพลี้ยแป้งไปยังแปลงปลูกในบริเวณใกล้เคียง ทำให้การระบาดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น 3.การดำเนินการควบคุมการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์มันสำปะหลังโดยชุมชน ยังไม่มีการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง 4.เกษตรกรไม่ตระหนักในการปฏิบัติท่อนพันธุ์ที่ถูกต้องให้ปลอดจากเพลี้ยแป้ง ก่อนปลูก สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังไปแล้ว ส่วนใหญ่ไม่ได้แช่ท่อนพันธุ์ ด้วยสารเคมีกำจัดเพลี้ยแป้งก่อนปลูก

10 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
1. มันสำปะหลังอายุ 8 เดือนขึ้นไป ใน 6 จังหวัดภาคตะวันออก รวมพื้นที่ระบาด 24,639 ไร่ หรือ คิดเป็นร้อยละ 13 ของพื้นที่ที่มีการระบาดรวม ใน 6 จังหวัด ภาคตะวันออก หลังจากที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะทำให้พื้นที่การระบาดลดลงร้อยละ ดังนั้น จังหวัดและอำเภอจึงควรประชาสัมพันธ์ ให้เกษตรกรมีการทำลายซากต้นมันสำปะหลัง มีการไถตากดิน และมีการแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อนปลูก 2. จังหวัดควรเร่งจัดซื้อสารเคมีตามโครงการการจัดการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง และแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่กำลังจะปลูกมันสำปะหลังใช้แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก

11 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
3. ประสานงานให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง 4. รณรงค์และสนับสนุนสารเคมี ตามโครงการการจัดการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ให้เกษตรกรฉีดพ่นสารเคมี ในพื้นที่ระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง อายุ 1-4 เดือน และอายุ 5-8 เดือน ที่มีพื้นที่ระบาดรวม 169,649 ไร่ หรือ คิดเป็นร้อยละ 87 ของพื้นที่ที่มีการระบาดรวม ใน 6 จังหวัด ภาคตะวันออก จะทำให้พื้นที่การระบาดของเพลี้ยแป้งลดลงในระดับหนึ่ง พร้อมกับเร่งรัดอำแภอ/ตำบลดำเนินการจัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และให้ความรู้แก่สมาชิกเพื่อเป็นกลไกในการปฏิบัติการควบคุมเพลี้ยแป้งโดยวิธีผสมผสาน อีกด้านหนึ่ง

12 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
5. ควรมีการประสานงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบจ. อบต. เพื่อขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานต่อไป 6. มาตรการเฝ้าระวังพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่ยังไม่เกิดการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ใน 6 จังหวัด ภาคตะวันออก รวมจำนวน 1,592,145 ไร่ หรือ คิดเป็นร้อยละ 89 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งหมด ควรมีการประชาสัมพันธ์เน้นหนักให้เกษตรกรเกิดความตระหนักและมีการหมั่นออกสำรวจแปลงปลูกมันสำปะหลังเป็นประจำสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ หากพบเพลี้ยแป้งระบาดให้เด็ดยอดทำลาย และฉีดพ่นด้วยสารเคมีไทอะมิโทแซม อัตรา 2 กรัม ผสมไวท์ออย 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร


ดาวน์โหลด ppt รายงานสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google