งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประชุมกำหนดแนวทางการประเมินผลดัชนีความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พ. ศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประชุมกำหนดแนวทางการประเมินผลดัชนีความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พ. ศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประชุมกำหนดแนวทางการประเมินผลดัชนีความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พ. ศ
ประชุมกำหนดแนวทางการประเมินผลดัชนีความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๕ ในวันอังคารที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสมบูรณ์ วัชโรทัย อาคาร ๑ ชั้น ๒ กรมอนามัย

2 วาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ  ความเป็นมาในการประเมินผลดัชนีวัดความโปร่งใส ของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๕ วาระที่ ๒ เรื่องเสนอที่ประชุมเพื่อทราบ รายละเอียดดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงาน ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๕ รายงานการประเมินผลตามดัชนีวัดความโปร่งใส ของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๔ วาระที่ ๓ เรื่องเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา  แนวทางการประเมินผลดัชนีวัดความโปร่งใสของ หน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามแบบสำรวจ ความโปร่งใสฯ (แบบ ดป ๑-๑-๑) และการ มอบหมายผู้รับผิดชอบ วาระที่ ๔ เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)

3 วาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ  ความเป็นมาในการประเมินผลดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๕ ความเป็นมา ปี ๒๕๕๒ ป.ป.ช. ได้จัดทำเครื่องมือที่ใช้วัดความโปร่งใส โดยได้สร้างดัชนีวัดความโปร่งใสและทดลองใช้กับ ๘ หน่วยงานนำร่องในภาครัฐ (กรมศุลกากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมทางหลวง กรมชลประทาน กรมการปกครอง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ปี ๒๕๕๔ ได้พัฒนาปรับปรุงเครื่องมือดังกล่าว โดยเรียกเครื่องมือวัดนี้ว่า “ดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๔” ประกอบด้วย ๙ ดัชนี ๑๗ ตัวชี้วัด โดยมีหน่วยงานนำร่องและหน่วยงานอาสาสมัครเข้ารับการประเมิน จำนวน ๔๕ หน่วยงาน และในปี ๒๕๕๕ ก็ได้ปรับปรุงและพัฒนาดัชนีวัดความโปร่งใสฯ ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ประกอบด้วย ๗ ดัชนี ๑๘ ตัวชี้วัด (๑๔๘ หน่วยงาน)ประเมินผลตามดัชนีวัดความโปร่งใสนี้ ซึ่ง ป.ป.ช. ได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๕ แจ้งให้กรมดำเนินการและจัดส่งให้สำนักงาน ป.ป.ช. ภายในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

4 รายละเอียดดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๕
วาระที่ ๒ เรื่องเสนอที่ประชุมเพื่อทราบ  รายละเอียดดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๕  รายงานการประเมินผลตามดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๔ วาระที่ ๓ เรื่องเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา  แนวทางการประเมินผลดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามแบบสำรวจความโปร่งใสฯ (แบบ ดป ๑-๑-๑) และ การมอบหมายผู้รับผิดชอบ รายละเอียดดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๕ ๑. วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อทราบระดับความโปร่งใสในการดำเนินงานตามภารกิจหลักของส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า ๒) เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการปฏิบัติราชการตามภารกิจหลักให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ๒. ขอบเขตการประเมิน ครอบคลุมระยะเวลาการดำเนินงานของหน่วยงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ จนถึง ณ วันที่รวบรวมข้อมูล ๓. แนวคิดในการประเมินความโปร่งใสฯ ที่แสดงถึงการมีธรรมาภิบาล (Good Governance) ประกอบด้วย ๖ หลัก ดังนี้ - หลักความโปร่งใส (Transparency) - หลักนิติธรรม (Rule of Law) - หลักคุณธรรม (Virtue) - หลักการมีส่วนร่วม (Participation) - หลักความพร้อมรับผิด (Accountability) - หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)

5 ๔. ดัชนีและตัวชี้วัดความโปร่งใส (๗ ดัชนี ๑๘ ตัวชี้วัด)
๔. ดัชนีและตัวชี้วัดความโปร่งใส (๗ ดัชนี ๑๘ ตัวชี้วัด) ดัชนี ตัวชี้วัด ๑. ดัชนีความโปร่งใสในการจัดซื้อ/จัดจ้าง (๓ ตัวชี้วัด) ตอบแบบสำรวจฯ (ข้อ ๑.๑ – ๑.๓) ๓ ตัวชี้วัด ๑.๑ คุณลักษณะ องค์ประกอบหรือกิจกรรมในการจัดทำแผนและการ ดำเนินการจัดหาพัสดุหรือการจัดซื้อจัดจ้าง ๑.๒ คุณลักษณะในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างราย โครงการ (บนเว็บไซต์หรือสื่ออื่นๆ) ประจำปีงบประมาณ ๑.๓ กลไกการจัดการเรื่องร้องเรียนการจัดซื้อจัดจ้าง ๒. การเข้าถึงข้อมูลของประชาชนตามภารกิจหลักของหน่วยงาน (๔ ตัวชี้วัด) ตอบแบบสำรวจฯ (ข้อ ๒.๑) ๑ ตัวชี้วัด ป.ป.ช. จัดเก็บเอง ๒ ตัวชี้วัด ป.ป.ช ขอจาก สขร. ๑ ตัวชี้วัด ๒.๑ ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลตามภารกิจหลัก ๒.๒ คุณลักษณะของข้อมูลที่ประชาชนเข้าดูได้ทางเว็บไซต์ของ หน่วยงาน ๒.๓ ระยะเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลบนเว็บไซต์ของหน่วยงาน ๒.๔ ผลการประเมินการรับรู้และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภาคประชาชน ๓. ดัชนีการมีส่วนร่วมตามภารกิจหลักของหน่วยงาน (๑ ตัวชี้วัด) - ตอบแบบสำรวจฯ ข้อ (๓.๑) ๑ ตัวชี้วัด ๓.๑ ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติราชการตามภารกิจ หลักของหน่วยงาน ๔. ดัชนีคุณภาพและความเป็นธรรมในการให้บริการตามภารกิจหลักของหน่วยงาน (๔ ตัวชี้วัด) ตอบแบบสำรวจฯ (ข้อ ๔.๑- ๔.๒) ๒ ตัวชี้วัด ๔.๑ ความเสมอภาคในการให้บริการตามภารกิจหลักของหน่วยงาน ๔.๒ การประกาศเผยแพร่ขั้นตอนกระบวนการสำหรับการแก้ปัญหาเรื่อง ร้องเรียนการดำเนินงานของหน่วยงาน ๔.๓ ผลการสังเกตการณ์หน่วยงานที่ให้การบริการประชาชนโดยตรง (Counter Service) ๔.๔ ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ

6 ๕. เกณฑ์การให้คะแนนประเมิน
๔. ดัชนีและตัวชี้วัดความโปร่งใส (๗ ดัชนี ๑๘ ตัวชี้วัด) (ต่อ) ดัชนี ตัวชี้วัด ๕ ดัชนีความเชื่อมั่นในองค์กรของบุคลากรในหน่วยงาน (๑ ตัวชี้วัด) ป.ป.ช. จัดเก็บเอง ๑ ตัวชี้วัด (โดยการสุ่มสำรวจ/สัมภาษณ์) ๕.๑ ระดับความเชื่อมั่นในองค์กรของบุคลากรในหน่วยงาน ๖ ดัชนี ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการ (๑ ตัวชี้วัด) ป.ป.ช. ขอจาก ก.พ.ร. ๑ ตัวชี้วัด ๖.๑ ระดับความสำเร็จของการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติ ราชการ/ภารกิจหลักของกรมหรือเทียบเท่า ๗ ดัชนีการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (๔ ตัวชี้วัด) ตอบแบบสำรวจฯ (ข้อ ๗.๑-๗.๓) ๓ ตัวชี้วัด ป.ป.ช จัดเก็บเอง และขอจาก ป.ป.ท. ๑ ตัวชี้วัด ๗.๑ มีระบบป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงาน ๗.๒ ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต ๗.๓ การรวมกลุ่มของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเพื่อการบริหารงานที่ โปร่งใส ๗.๔ การถูกชี้มูลความผิดของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ๕. เกณฑ์การให้คะแนนประเมิน โปร่งใสมาก = ๘๐.๐๐ – ๑๐๐.๐๐ คะแนน โปร่งใส = ๖๕.๐๐ – ๗๙.๙๙ คะแนน โปร่งแสง = ๕๐.๐๐ – ๖๔.๙๙ คะแนน มัวแสง = ตั้งแต่ ๔๙.๙๙ คะแนนลงมา

7 ดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๕๕
รวม ๗ ดัชนี ๑๘ ตัวชี้วัด (ปี ๕๔ รวม ๙ ดัชนี ๑๗ ตัวชี้วัด) ดัชนีที่ ๑ ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง (๓ ตัวชี้วัด) ๑.๑ คุณลักษณะ องค์ประกอบหรือกิจกรรมในการจัดทำแผนและ การดำเนินการจัดหาพัสดุหรือการจัดซื้อจัดจ้าง ๑) การประกาศเผยแพร่แผนจัดหาพัสดุหรือการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี ๕๕ ไม่มีการดำเนินงาน ๒) การจัดทำรายงานผลการจัดหาพัสดุหรือการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี ๕๔ ในรอบปีที่ผ่านมา กรมอนามัยได้กำหนดให้ทุกหน่วยงานในสังกัด จัดทำรายงานผลการจัดหาพัสดุ เป็นประจำทุกเดือน โดยมีหลักฐานอ้างอิงดังนี้ ๑) สำเนาหนังสือแจ้งเวียนให้หน่วยงานรายงานผลการจัดหาพัสดุ ๒) ตัวอย่างรายงานผลการจัดหาพัสดุ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ของสำนักโภชนาการ และสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ๓) การแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี ๕๔ (ฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนการจัดพัสดุของหน่วยงาน) ๓.๑) ชื่อโครงการ ๓.๒) งบประมาณ ๓.๓) ผู้ซื้อซอง ๓.๔) ผู้ยื่นซอง ๓.๕) ผู้ได้รับคัดเลือก ๓.๖) ร้อยละของจำนวนโครงการในแต่ละวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ๓.๗) ร้อยละของจำนวนงบประมาณในแต่ละวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ๔) การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลการจัดหาพัสดุหรือการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี ๕๔ ไม่มีการดำเนินงาน ๕) การปรับปรุงการดำเนินงานปีงบประมาณ ๕๕ ตามรายงานการวิเคราะห์ผลการจัดหาพัสดุหรือการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี๕๔ ไม่มีการดำเนินงาน

8 ๑.๒ คุณลักษณะในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง รายโครงการ (บนเว็บไซต์หรือสื่ออื่นๆ) ประจำปีงบประมาณ ๑) การเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละโครงการภายในระยะไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ไม่มีการดำเนินงาน ๒) การประกาศเผยแพร่หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกตัดสินผลการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละโครงการ มีการประกาศเผยแพร่หลักเกณฑ์ฯ ผ่านช่องทางต่างๆ โดยมีหลักฐานอ้างอิงดังนี้ ๑) ภาพถ่ายการปิดประกาศที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ของกองคลัง และบริเวณตึกกรมหน้าลิฟต์ชั้น ๑ ๒) สำเนาหน้าเว็บไซต์กรมอนามัย หัวข้อ “จัดซื้อจัดจ้าง” ๓) สำเนาหน้าเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ กรมอนามัย หัวข้อ “ข่าวการจัดซื้อจัดจ้าง” ๔) สำเนาหน้าเว็บไซต์กรมบัญชีกลาง หัวข้อ “ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP)” ๓) การประกาศวิธีการคำนวณราคากลางของแต่ละโครงการหรือไม่ ไม่มีการดำเนินงาน ๔) การประกาศรายชื่อผู้เสนอราคา/งานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกแต่ละโครงการ มีการประกาศรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิฯ ผ่านช่องทางต่างๆ โดยมีหลักฐานอ้างอิงดังนี้ ๑) สำเนาหน้าเว็บไซต์กรมอนามัย หัวข้อ “จัดซื้อจัดจ้าง” ๒) สำเนาหน้าเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ กรมอนามัย หัวข้อ “ข่าวการจัดซื้อจัดจ้าง” ๓) สำเนาหน้าเว็บไซต์กรมบัญชีกลาง หัวข้อ “ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP)” ๕) การรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละโครงการ พร้อมระบุวิธีการจัดซื้อจัดจ้างและเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินผลการจัดซื้อจัดจ้าง มีการสรุปรายงานผลการจัดหาพัสดุแต่ละโครงการ/งาน พร้อมระบุวิธีการจัดซื้อ จัดจ้างและเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินผลการจัดซื้อ จัดจ้าง โดยมีหลักฐานอ้างอิงดังนี้ ๑) ตัวอย่างเอกสารสรุปผลการดำเนินจัดซื้อในรอบเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และ มีนาคม ๒๕๕๔

9 ๑.๓ กลไกการจัดการเรื่องร้องเรียนการจัดซื้อจัดจ้าง
๑) การกำหนดขั้นตอน/กระบวนการเรื่องร้องเรียน ๒) การกำหนดช่องทางการร้องเรียน ๓) การกำหนดหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบเรื่องร้องเรียนจัดซื้อจัดจ้าง ๓.๑ การกำหนดหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบเรื่องร้องเรียนจัดซื้อจัดจ้าง ๓.๒ การมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ๔) การแจ้งรับเรื่องร้องเรียนให้ผู้ร้องเรียนทราบ ๕) การรายงานผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียนให้ผู้ร้องเรียนทราบ ๖) การปรับปรุง/แก้ไข/พัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างตามประเด็นร้องเรียน

10 ดัชนีที่ ๒ การเข้าถึงข้อมูลของประชาชนตามภารกิจหลักของหน่วยงาน (๔ ตัวชี้วัด)
๒.๑ ช่องทางการเข้าถึง ข้อมูลตามภารกิจหลัก “กลุ่มสื่อสารองค์กร” สำนักงานเลขานุการกรมอนามัย ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของกรม มีหน้าที่ติดต่อสื่อสาร ตอบข้อซักถาม รวมทั้งเป็นศูนย์รับข้อร้องเรียนและข้อชมเชย เกี่ยวกับงานตามภารกิจของกรมอนามัย ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ชั้น ๑ บริเวณทางเข้าอาคารกรมอนามัย เพื่อให้ประชาชนและผู้รับบริการ สามารถมาติดต่อสอบถามได้โดยสะดวก หลักฐานอ้างอิง ๑) ภาพถ่ายสถานที่ตั้งของกลุ่มสื่อสารองค์กร ซึ่งเป็นจุดให้บริการติดต่อสอบถาม มีการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภารกิจหลักของกรม ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมอนามัยและเว็บไซต์ของหน่วยงานในสังกัดกรมอนามัย เพื่อให้ประชาชนหรือผู้รับบริการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น หลักฐานอ้างอิง ๑) สำเนาหน้าเว็บไซต์ของกรมอนามัย ๒) ตัวอย่างสำเนาหน้าเว็บไซต์ของสำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม มีระบบ Call Center หมายเลข โทรศัพท์ ๐ ๒๕๙๐ ๔๐๐๐ เป็นช่องทางในการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภารกิจหลักของกรม เพื่อให้ประชาชนหรือผู้รับบริการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น หลักฐานอ้างอิง ๑) สำเนาหน้าเว็บไซต์กรมอนามัย ประชาสัมพันธ์หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๕๙๐ ๔๐๐๐ ๒) สำเนาหน้าเว็บไซต์สำนักงานเลขานุการกรมอนามัย ประชาสัมพันธ์หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๕๙๐ ๔๐๐๐ มีการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภารกิจหลักของกรมทางโทรทัศน์ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้รับบริการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น หลักฐานอ้างอิง ๑) ตัวอย่างซีดีรายการ “Health Me” ซึ่งเป็นรายการสารคดีด้านสุขภาพ ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง ๕ ทุกวันพุธ เวลา ๑๕.๓๐ – ๑๕.๔๕ น. มีการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภารกิจหลักของกรม ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้รับบริการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น หลักฐานอ้างอิงดัง ๑) ตัวอย่างข่าวกรมอนามัยทางหนังสือพิมพ์คมชัดลึก หัวข้อข่าว “กรมอนามัยเดินหน้าผลักดันหมู่บ้านไอโอดีน ๑๐๐% ตั้งเป้า ๗๖,๐๐๐ แห่งทั่วประเทศ” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ และ หัวข้อข่าว “ส้มตำไอโอดีน อร่อยถูกหลักกรมอนามัย” เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ ๒) ตัวอย่างวารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ฉบับที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ – มกราคม ๒๕๕๔ และวารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๑ ตุลาคม – ธันวาคม ๒๕๕๓ ๓) ตัวอย่างจดหมายข่าวกรมอนามัย ฉบับที่ ๔ ประจำเดือนเมษายน – พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ และฉบับที่ ๕ ประจำเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ๔) ตัวอย่างแผ่นพับ “กรมอนามัยส่งเสริมให้คนไทยไร้พุง” และ “ก้าวเดินเพื่อสุขภาพ” ๑) หน่วยประชาสัมพันธ์ ณ ที่ทำการของหน่วยงาน ๒) ข้อมูลตามภารกิจหลักทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน หรือ Social Media ๓) ระบบ Call center ๔) การเผยแพร่ข้อมูลทางโทรทัศน์ วิทยุ และ/หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ๕) การเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อต่อไปนี้ ๕.๑) หนังสือพิมพ์ ๕.๒) วารสาร ๕.๓) จุลสาร ๕.๔) แผ่นพับ ๕.๕) อื่นๆ โปรดระบุ

11 ๒.๒ คุณลักษณะของข้อมูลที่ประชาชนเข้าดูได้ทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน
(ป.ป.ช. จัดเก็บเอง) ปี ๕๔ ๑ มีข้อมูลเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ๒. มีข้อมูลแผนงาน/โครงการ ๓.มีข้อมูลการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ ๔ มีการรายงานการประเมินผลตามแผนงาน/โครงการ ๕. มีการปรับปรุงข้อมูลตามภารกิจหลักของ"หน่วยงานให้ทันสมัยอยู่เสมอ ๒.๓ ระยะเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลบนเว็บไซต์ของหน่วยงาน (ป.ป.ช. จัดเก็บเอง) ๒.๔ ผลการประเมินการรับรู้และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภาคประชาชน (ป.ป.ช. ขอจาก สขร. เอง)

12 ดัชนีที่ ๓ การมีส่วนร่วมตามภารกิจหลักของหน่วยงาน (๑ ตัวชี้วัด)
๓.๑ ระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในการปฏิบัติราชการตามภารกิจหลักของหน่วยงาน ๑) ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาการปฏิบัติราชการตามภารกิจหลักของหน่วยงาน ๒) ส่วนร่วมในการจัดทำแผนงาน/โครงการหรือในการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาการปฏิบัติราชการตามภารกิจหลักของหน่วยงาน ๓) ส่วนร่วมดำเนินการตามโครงการหรือปรับปรุงแก้ไขพัฒนาการปฏิบัติราชการตามภารกิจหลักของหน่วยงาน ๔) ส่วนร่วมตรวจสอบติดตามประเมินผลโครงการหรือประเมินผลการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาการปฏิบัติราชการตามภารกิจหลักของหน่วยงาน ๕) ส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาโครงการตามภารกิจหลักของหน่วยงานอย่างต่อเนื่องเมื่อสิ้นสุดโครงการ ได้ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติราชการตามภารกิจหลักของหน่วยงาน เช่น เชิญให้ร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานในภารกิจหลักของกรมอนามัย หลักฐานอ้างอิง ๑) ตัวอย่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชนของกรมอนามัย และคำสั่งคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน ของศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา ๒) ตัวอย่างรายงานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน ศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๕-๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ คณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชนของกรมอนามัย ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงาน/โครงการต่างๆ เช่น โครงการ “สาธารณสุขรวมใจ รณรงค์ลดโลกร้อน” ภายใต้แนวคิด Green & Clean หลักฐานอ้างอิง ๑) รายงานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน ศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ ขึ้น เมื่อวันที่ ๕-๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ภาคประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการตามโครงการตามภารกิจหลักของกรมอนามัย เช่น โครงการลดโลกร้อน หลักฐานอ้างอิง ๑) ตัวอย่างสรุปกิจกรรมการดำเนินงานของคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชนของศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา และสรุปการดำเนินงานลงนามความร่วมมือ (MOU) เครือข่ายลดโลกร้อน นครชัยบุรินทร์ ภาคประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อปรับปรุงแก้ไขพัฒนาการปฏิบัติราชการตามภารกิจหลักของกรมอนามัย เช่น การประเมินโครงการรณรงค์ลดโลกร้อนภายใต้แนวคิด Green & Clean หลักฐานอ้างอิง ๑) รายงานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน ศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๓-๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ภาคประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาโครงการรณรงค์ลดโลกร้อน ภายใต้แนวคิด Green & Clean อย่างต่อเนื่องเมื่อสิ้นสุดโครงการ หลักฐานอ้างอิง ๑) รายงานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน ศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ และรายงานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน ศูนย์อนามัยที่ ๕ นครราชสีมา ครั้งที่ ๒/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๔

13 ดัชนีที่ ๔ คุณภาพและความเป็นธรรมในการให้บริการ
ตามภารกิจหลักของหน่วยงาน (๔ ตัวชี้วัด) ๔.๑ ความเสมอภาคในการบริการตามภารกิจหลักของหน่วยงาน ๑) แนวทางในการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน ๒) คู่มือกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน ๓) การใช้เทคโนโลยีเพื่อให้บริการตามภารกิจหลักเป็นมาตรฐานเดียวกัน โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ คือ..... ๔) การแสดงขั้นตอนการให้บริการตามภารกิจหลัก อัตราค่าบริการ (ถ้ามี) และเวลาที่ใช้ในการดำเนินการให้ประชาชนทราบอย่างชัดเจน ๕) การให้บริการตามภารกิจหลักโดยจัดลำดับก่อน-หลัง ๖) ระบบการป้องกันหรือการตรวจสอบเพื่อป้องกันการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการตามภารกิจหลัก ๗) รายงานผลการปฏิบัติตามคู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก มีแนวทางในการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก หลักฐานอ้างอิง ๑) เอกสารคำอธิบายประกอบการตอบแบบสำรวจฯ ข้อ ๘.๑ มีคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก หลักฐานอ้างอิง ๒) คู่มือการปฏิบัติงาน เรื่อง กระบวนการที่สร้างคุณค่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้บริการมาตรฐานเดียวกัน หลักฐานอ้างอิง ๒) แบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลการใช้คู่มือการปฏิบัติงานตามกระบวนการที่สร้างคุณค่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ (รายกระบวนการ) ตามภารกิจหลัก ๔ ข้อของกรมอนามัย ซึ่งเป็นการบริการทางวิชาการผ่านทางภาคีเครือข่าย (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น อบจ. อบท. อบต ฯลฯ) มิได้มุ่งเน้นงานบริการแก่ประชาชนโดยตรง ตามภารกิจหลัก ๔ ข้อของกรมอนามัย มิได้มุ่งเน้นงานบริการแก่ประชาชนโดยตรง ไม่มีคำถามนี้

14 ๔.๒ การประกาศเผยแพร่ขั้นตอนกระบวนการสำหรับการแก้ปัญหา เรื่องร้องเรียนการดำเนินงานของหน่วยงาน
๑) การประกาศเผยแพร่ขั้นตอน กระบวนการในการร้องเรียนและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ๒) ในกรณีที่มีมาตรการที่ต้องดำเนินการก่อนการรับเรื่องร้องเรียนต้องมีการแจ้งรับเรื่องร้องเรียนภายในกำหนดเวลา ๑๕ วัน ๓) การรายงานผลการดำเนินการหรือความก้าวหน้าในการดำเนินการเรื่องร้องเรียน ๔) รายงานสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียนในรอบเดือน ๕) สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียนในรอบปี พร้อมทั้งระบุปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข ได้มีการประกาศเผยแพร่ขั้นตอนกระบวนการในการร้องเรียนและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน ตามช่องทางต่างๆ หลักฐานอ้างอิง ๑) ภาพถ่ายการปิดประกาศ ณ จุดให้บริการ “ศูนย์รับข้อร้องเรียนและข้อชมเชยกรมอนามัย” อาคาร ๑ ชั้น ๑ กรมอนามัย ๒) ภาพถ่ายการปิดประกาศ ณ บอร์ดเผยแพร่กิจกรรม บริเวณประตูทางเข้าของอาคาร ๕ ชั้น ๑ กรมอนามัย และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๓) เผยแพร่ทางเอกสารในสมุดบันทึกกรมอนามัย “ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนกรมอนามัย สำหรับประชาชน” ๔. สำเนาหน้าเว็บไซต์ของสำนักงานเลขานุการกรมอนามัย มีระบบการจัดการเรื่องร้องเรียน โดยมีการรับและลงทะเบียนเรื่องร้องเรียน การจัดการเรื่องร้องเรียนโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลักฐานอ้างอิง ๑) ตัวอย่างแบบฟอร์มรับเรื่องร้องเรียนของกรมอนามัย (Complaint_01) ๒) ตัวอย่างบันทึกข้อความส่งเรื่องร้องเรียนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการรายงานผลการดำเนินการหรือความก้าวหน้าการดำเนินการเรื่องร้องเรียน หลักฐานอ้างอิง ๑) รายงานผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียน ในการประชุมคณะกรรมการ PMQA หมวด ๓ กรมอนามัย ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมสมบูรณ์วัชโรทัย ๒) รายงานผลการดำเนินงานเรื่องร้องเรียน ให้ผู้ร้องทราบ มีการสรุปรายงานผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียนในรอบเดือน หลักฐานอ้างอิง ๑) รายงานสรุปข้อร้องเรียนและข้อชมเชยกรมอนามัย ประจำปี ๕๓ รอบ ๑๒ เดือน และรายงานสรุปข้อร้องเรียนและข้อชมเชยกรมอนามัย ประจำปี ๕๔ รอบ ๙ เดือน มีการสรุปผลการดำเนินงานเรื่องร้องเรียนในรอบปีที่ผ่านมา หลักฐานอ้างอิง ๑) รายงานสรุปการดำเนินงานจัดการข้อร้องเรียนและข้อชมเชยกรมอนามัย ประจำปี ๕๓

15 ๔.๓ ผลการสังเกตการณ์หน่วยงานที่ ให้การบริการประชาชนโดยตรง (Counter Service) (ป.ป.ช. จัดเก็บเอง)
๔.๔ ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ (ป.ป.ช. ขอจาก ก.พ.ร. เอง)

16 ดัชนีที่ ๕ ความเชื่อมั่นในองค์กรของบุคลากรในหน่วยงาน (๑ ตัวชี้วัด)
ดัชนีที่ ๕ ความเชื่อมั่นในองค์กรของบุคลากรในหน่วยงาน (๑ ตัวชี้วัด) ๕.๑ ระดับความเชื่อมั่นในองค์กรของบุคลากรในหน่วยงาน (ป.ป.ช. จัดเก็บเอง ปี ๕๕ ๕๐ ชุด) ปี ๕๔ ป.ป.ช. เก็บ ๓๐ ชุด ดัชนีที่ ๖ ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการ (๑ ตัวชี้วัด) ๖.๑ ระดับความสำเร็จของการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ/ภารกิจหลักของกรมหรือเทียบเท่า (ป.ป.ช. ขอจาก ก.พ.ร. เอง)

17 ดัชนีที่ ๗ การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต (๑ ตัวชี้วัด)
๗.๑ มีระบบป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงาน ๑) การประชุมหรือสัมมนาภายในองค์กรเพื่อให้ความรู้เรื่องการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนแก่เจ้าหน้าที่ ๒) การจัดทำคู่มือหรือประมวลจริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน ๓) การให้ความรู้ตามคู่มือหรือประมวลจริยธรรมเกี่ยวกับการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนแก่เจ้าหน้าที่ ๔) การปรับปรุงกลไก ขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือระเบียบ เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน ๕) การตรวจสอบกรรมการ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดซื้อจัดจ้าง ถึงความเกี่ยวข้องกับผู้เสนองาน ๖) รายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนและข้อเสนอแนะ ๗) การนำข้อเสนอแนะจากรายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนไปปรับปรุงระบบการทำงาน ๗.๒ ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต (ปี ๕๔ ป.ป.ช. เก็บจาก ก.พ.ร. เอง) ๑) การวิเคราะห์ผลการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของหน่วยงานที่ได้รายงานเมื่อปี ๒๕๕๔ ๒) เนื่องจากคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ มีการยกเลิกตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หน่วยงานของท่านมีการดำเนินการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตต่อในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ หรือไม่ ๓) แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖

18 ๗.๓ การรวมกลุ่มของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเพื่อการบริหารงานที่โปร่งใส
๑) การรวมกลุ่มของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเพื่อการบริหารงานที่โปร่งใส ๒) กรณีที่มีการรวมกลุ่มของเจ้าหน้าที่เพื่อการบริหารงานที่โปร่งใส กลุ่มดังกล่าวมีกิจกรรมที่แสดงถึงความพยายามที่จะปรับปรุงการบริหารงานของหน่วยงานให้มีความโปร่งใสยิ่งขึ้น ๗.๔ การถูกชี้มูลความผิดของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน (ป.ป.ช. จัดเก็บข้อมูลเรื่องร้องเรียนที่ถูกชี้มูลความผิดในรอบปีที่ผ่านมาของ ป.ป.ช. และ ป.ป.ท.)


ดาวน์โหลด ppt ประชุมกำหนดแนวทางการประเมินผลดัชนีความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พ. ศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google