งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

๑.เทคนิคสำคัญ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โดยให้แกนนำในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมเป็นวิทยากร ใช้กิจกรรมนันทนาการจุดประกายขณะเปิดเวที เช่น เพลง “สดุดีมหาราชา” รูปแบบเวทีเป็นธรรมชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "๑.เทคนิคสำคัญ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โดยให้แกนนำในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมเป็นวิทยากร ใช้กิจกรรมนันทนาการจุดประกายขณะเปิดเวที เช่น เพลง “สดุดีมหาราชา” รูปแบบเวทีเป็นธรรมชาติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ๑.เทคนิคสำคัญ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โดยให้แกนนำในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมเป็นวิทยากร ใช้กิจกรรมนันทนาการจุดประกายขณะเปิดเวที เช่น เพลง “สดุดีมหาราชา” รูปแบบเวทีเป็นธรรมชาติ มีผู้อาวุโสในชุมชนเป็นประธานเปิด เล่าเรื่องดีๆ ของชุมชนในอดีต เป็นประเด็นจุดประกายให้ชุมชนตระหนักถึงคุณค่าสิ่งดีงาม ในอดีตที่บรรพบุรุษรักษาไว้ ตั้งประเด็นข้อสังเกต หรือคำถาม หรือนำไปสู่การค้นหา ข้อมูลด้านต่างๆ ของชุมชน

2 ๒.ข้อพึงระวัง ในขณะวิทยากรดำเนินการในเวที ให้ความเท่าเทียมเป็นกันเอง
ไม่ชี้ผิดชี้ถูกกับประเด็นแลกเปลี่ยนของสมาชิกชุมชนที่เสนอ ควบคุมเวลาให้อยู่ในชั่วโมงของเนื้อหาแต่ละประเด็น และสรุปจบ ให้เห็นความเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่อง วิทยากรเป็นผู้ตื่นตัวทุกเวลา พร้อมและสามารถที่จะแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าในเวทีให้ลื่นไหล ไม่ติดขัด วิทยากร ทำหน้าที่เป็นคนกลางไกล่เกลี่ย กรณีมีประเด็นข้อเสนอแนะ ที่ออกมาในเชิงขัดแย้งกัน

3 ๓.หลักพิจารณานำเอาข้อมูล เพื่อมาวิเคราะห์ยกร่างและจัดทำแผน
ข้อมูลเดิมจากหน่วยงานอื่นๆ ที่จัดเก็บ เช่น จปฐ. 1-2 ข้อมูลจาก แผนประชาคมของ อปท. ข้อมูลปัจจุบันที่ได้มาจากกระบวนการ สำรวจข้อมูลตามแบบสำรวจ ที่คณะวิทยากรกับชุมชนร่วมกันจัดทำขึ้น * เหตุที่ใช้ฐานข้อมูลจาก 2 แหล่ง เพื่อให้เห็นข้อเปรียบเทียบ บนความเปลี่ยนแปลงตามบริบทพื้นที่ เช่น จำนวนประชากร/สถานที่/ ผังโครงสร้าง/ภายในชุมชน/รายรับ-รายจ่าย รวม และหนี้สินของชุมชน ให้เป็นปัจจุบัน มาวิเคราะห์ยกร่างจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน

4 ๔.รูปแบบการจัดเวทีประชาพิจารณ์ เพื่อให้ผลดีต่อการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน
มีคณะทำงานรับผิดชอบกำหนดแผนในการจัดเวที เช่น การเตรียมประสาน ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมทุกฝ่าย อบต. ปราชญ์ผู้รู้ ผู้นำกลุ่มองค์กรในชุมชน เตรียมสื่อ เครื่องมือ/อุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้เพียงพอ/งบสนับสนุน ทีมงานที่จดบันทึกประเด็นในเวที * ข้อดี เป็นเวทีที่เปิดกว้างให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้วิพากษ์ข้อมูลต่างๆ ที่จะนำมายกร่างเป็นแผน ขณะเดียวกันข้อมูลที่บกพร่อง/ผิดพลาด จะได้ปรับปรุงแก้ไข * ข้อจำกัด ถ้ากลุ่มเป้าหมายที่เชิญ ไม่สามารถเข้าร่วมได้ครบ จะทำให้ การจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ไม่ครอบคลุม และแผนฯ ไม่ถูกยอมรับ

5 ๕.กระบวนการทบทวน/ปรับปรุง แผนพัฒนาหมู่บ้าน
กรณีที่เป็นแผนงานโครงการที่ต้องให้หน่วยงานท้องถิ่นและภายนอก สนับสนุนถ้าผลการติดตามประเมินแล้วเห็นว่า แผนงานโครงการไม่เป็นไป ตามความต้องการของชุมชน อันเป็นเหตุให้แผนฯ ไม่บรรลุเป้าประสงค์ สามารถนำแผนกลับมาทบทวนใหม่ โดยใช้กระบวนการเวทีแบบเดียวกับ เวทีประชาพิจารณ์ ข้อจำกัด ถ้าต้องการปรับปรุงแผนงาน ไม่ผ่านกระบวนการในเวที จะเกิด ความไม่โปร่งใส แผนงานโครงการ อาจไปเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มบุคคล

6 ๖.ภารกิจของทีมวิทยากรกระบวนการระดับจังหวัด
จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น แผนการอบรมเพิ่มศักยภาพ กม. ระดับอำเภอ แผนงานการคัดเลือก หมู่บ้าน กม. ต้นแบบ ภายในจังหวัด จัดเวทีสร้างความเข้าใจให้แก่ทีมวิทยากรกระบวนการระดับอำเภอนำเสนอ ทิศทาง แนวนโยบายจากหน่วยงานส่วนกลาง (ปค.) กำหนด แผนปฏิบัติการร่วมระดับอำเภอ เพื่อขับเคลื่อนงานของ กม. ให้บรรลุเป้าประสงค์ตามภารกิจ ที่ได้รับมอบหมาย

7 สนับสนุนแผนงานของทีม กม. ระดับอำเภอ ที่จะขับเคลื่อนต่อ
ในพื้นที่ โดยเป็นพี่เลี้ยง และเอื้ออำนวยทรัพยากรให้กับทีม วิทยากร กม. ระดับอำเภอ/ตำบล/หมู่บ้าน ตั้งทีมติดตามประเมินผลเชิงพัฒนา (ไม่ใช่จับผิด)

8


ดาวน์โหลด ppt ๑.เทคนิคสำคัญ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โดยให้แกนนำในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมเป็นวิทยากร ใช้กิจกรรมนันทนาการจุดประกายขณะเปิดเวที เช่น เพลง “สดุดีมหาราชา” รูปแบบเวทีเป็นธรรมชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google