งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเลี้ยงปลากะพงขาว.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเลี้ยงปลากะพงขาว."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเลี้ยงปลากะพงขาว

2 ปลากะพงขาว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Lates calcarifer (Bloch) และมีชื่อสามัญว่า Giant Perch หรือ Sea Bass ปลากะพงขาวเป็นปลาน้ำกร่อย ขนาดใหญ่ที่สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม จึงเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายในเขตจังหวัดชายทะเลของประเทศไทย ปลากะพงขาวเป็นปลาเลี้ยงง่าย โตเร็ว เนื้อมีรสชาติดีและมีราคาดีอีกด้วย

3 ข้อดีของปลากะพงขาว 1. เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว เนื้อมีรสชาติดี ราคาดีพอสมควร 2. หาพันธุ์ปลาได้ง่าย มีทุกขนาด และสามารถหาได้ ในปริมาณไม่จำกัด 3. สามารถเลี้ยงปลากะพงขาวได้ทั้งในแหล่งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำทะเล

4 การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง
การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นวิธีการหนึ่งที่เกษตรกรนิยมกันอย่างแพร่หลาย มีความเหมาะสมกับสภาพท้องที่ตามแหล่งน้ำตื้น เช่น ปากแม่น้ำลำคลอง ริมชายฝั่งทะเล ซึ่งสามารถดัดแปลงเป็นที่เลี้ยงปลาได้สะดวก ใช้พื้นที่น้อยแต่สามารถเลี้ยงปลาได้เป็นจำนวนมาก ๆ นอกจากนั้นแล้วยังไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับปัญหาคุณภาพของน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาอีกด้วย

5

6 การเลือกทำเลเพื่อการติดตั้งกระชังเลี้ยงปลา
เป็นบริเวณปากแม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ หรือชายฝั่งทะเล ซึ่งมีน้ำไหลถ่ายเทได้ดี มีการขึ้นลงของกระแสน้ำ และเมื่อน้ำลงต่ำสุดในฤดูร้อน ควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 2 เมตร เป็นบริเวณที่มีคลื่นสงบ เป็นบริเวณที่อยู่ห่างไกลจากโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งที่วางกระชังเลี้ยงปลาควรมีการคมนาคมที่ดี แหล่งที่วางกระชัง ควรอยู่ห่างจากเส้นทางสัญจรทางน้ำ

7

8 รูปแบบของกระชังเลี้ยงปลา แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างได้ 2 แบบ คือ
รูปแบบของกระชังเลี้ยงปลา แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างได้ 2 แบบ คือ 1. กระชังประจำที่ คือ กระชังจะผูกติดกับเสาหลักซึ่งปักไว้กับพื้นดินอย่างแข็งแรง ดังนั้นบริเวณแหล่งเลี้ยงจะมี ความลึกเมื่อน้ำขึ้นสูงสุดไม่เกิน 2.50 เมตร โดยมีระดับน้ำขึ้นสูงสุดต่ำสุดแตกต่างกันประมาณ เซนติเมตร

9

10 2. กระชังลอยน้ำ คือ กระชังที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาในบริเวณ ที่มีน้ำลึกไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ในช่วงน้ำลงต่ำสุด และระดับน้ำขึ้นลงแตกต่างกันมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป ตัวกระชังจะผูกแขวนอยู่กับแพ หรือทุ่นลอย ซึ่งลอยขึ้นลงตามการขึ้นลงของกระแสน้ำ กระชังเลี้ยงปลานิยมทำเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดที่นิยมใช้ กันมากโดยทั่ว ๆ ไป คือขนาด 3x3x2 เมตร 4x4x2 และ 5x5x2 เมตร ประกอบด้วยเนื้ออวนเบอร์ 15 มีขนาดตาเหยียด เซนติเมตร

11 การเตรียมพันธุ์ปลา ปลากะพงขาวที่จะปล่อยเลี้ยงในกระชังต้องมีขนาดความยาว 10 เซนติเมตร (4 นิ้วขึ้นไป) จึงจะเลี้ยงได้ผลดี มีอัตรารอดตายมากกว่า 90% ซึ่งปลา ดังกล่าวหาซื้อได้จากฟาร์มเอกชนทั่ว ๆ ไป

12

13 การจัดปลาลงเลี้ยงในกระชังและอัตราปล่อย
จะต้องคัดปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันอยู่ในกระชังเดียวกัน สามารถปล่อยปลากะพงขาวขนาด 4 นิ้ว ลงเลี้ยงได้ในอัตราปล่อยตั้งแต่ ตัวต่อตารางเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและทำเลของที่ตั้งกระชัง กรณีแม่น้ำลำคลองที่มีสภาพน้ำไม่ดีนัก น้ำไหลถ่ายเทไม่ดีพอ สามารถปล่อยเลี้ยงได้ในอัตรา ตัวต่อตารางเมตร ถ้าสภาพทำเลและแหล่งน้ำดีก็ปล่อยได้ในอัตราสูงถึง 200 ตัว/ตารางเมตร

14 อาหารและการให้อาหาร อาหารใช้เลี้ยงปลากะพงจะเป็นพวกปลาสด ส่วนใหญ่นิยมใช้ปลาหลังเขียว วิธีการให้อาหารแก่ปลากะพงขาวนั้น จะให้โดยการนำปลาสด ๆ ที่หาได้มาสับ ให้เป็นชิ้นขนาดพอดีกับปากปลากะพงขาว การให้อาหารจะให้วันละ 2 ครั้ง คือในตอนเช้าและตอนเย็น แต่ไม่ควรให้อาหารเกินความจำเป็น เพราะอาหารที่เหลือตกค้างอยู่ในกระชัง อาจจะหมักหมมและอุดตันรูอวนได้ หรืออาจจะเป็นเหยื่อล่อปูและสัตว์น้ำอื่น ๆ ปกติควรทำความสะอาดกระชังประมาณ วันต่อครั้ง อัตราการแลกอาหารเป็นเนื้อ (F:C:R) จะมีค่าเท่ากับประมาณ 7-10:1

15

16 การเจริญเติบโตและผลผลิต
ปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชังจะเจริญเติบโตได้ขนาดตลาด ( กรัม) ในระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 6-7 เดือน

17 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt การเลี้ยงปลากะพงขาว.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google