งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การบริหารงานงบประมาณ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การบริหารงานงบประมาณ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การบริหารงานงบประมาณ
แผนงาน งบประมาณ ประกอบด้วย + แผนเงิน การจัดทำงบประมาณ นขต.ทร. การอนุมัติงบประมาณ สปช.ทร. กรมฝ่ายอำนวยการที่เกี่ยวข้อง การควบคุมและติดตามประเมินผล สปช.ทร. การบริหารงบประมาณ สปช.ทร.

2 การจัดทำงบประมาณ แบบเดิม แบบใหม่ แผนเงิน แผนงาน แผนงาน แผนเงิน
ผลลัพธ์ที่ได้คนละทิศทางทำให้ ไม่บรรลุเป้าหมายหลักของ ทร. ผลลัพธ์ที่ได้สอดคล้องกันนำไปสู่ เป้าหมายตามแผนกลยุทธทร. แบบเดิม แบบใหม่ แผนเงิน แผนงาน ได้จากแผนกลยุทธของ ทร. หรือแผนปฏิบัติราชการ ทร. วงเงินปีที่ผ่านมา +10% จัดงานเข้าแผนตาม - ภารกิจที่หน่วยต้องปฏิบัติ - ความต้องการของหน่วย จัดงานเข้าแผนตาม - ภารกิจที่หน่วยต้องปฏิบัติ - เป้าหมายตามแผนกลยุทธ ทร. ในส่วนที่หน่วยเกี่ยวข้อง แผนงาน แผนเงิน

3 แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี (แบบใหม่)
เป้าประสงค์ที่ต้องการขององค์กร ทร.กำหนดจากยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์ระดับ กห. แล้วกำหนดตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ วิธีการที่จะทำให้บรรลุยุทธศาสตร์ ทร.จัดทำเป็นแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี กำหนดกลยุทธ ผลผลิต กิจกรรม (ทร.)พร้อมกำหนดหน่วยรับผิดชอบในแต่ละกลยุทธ แผนกลยุทธ ผลที่ต้องการเพื่อดำเนินการไปตามแผนกลยุทธ หน่วยตรวจสอบ กลยุทธ ผลผลิต กิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนด เป็นแผนปฏิบัติงาน ผลผลิต การดำเนินการ + งบประมาณ เพื่อเกิดผลผลิต กำหนดงานทีจะทำและงบประมาณที่จะใช้ กิจกรรม

4 ตัวอย่าง เป้าประสงค์ : ขวัญและกำลังใจ ความภาคภูมิใจ การมีคุณภาพ
ชีวิตที่ดี ในการเป็นกำลังพลของกองทัพเรือ ตัวอย่าง ตัวชี้วัด 1. กำลังพลมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองเพิ่มขึ้น 2. กำลังพลและครอบครัวได้รับการบริการในด้านอื่นๆ ตาม สิทธิ กำลังพล และการสวัสดิการอื่นๆ กลยุทธหลัก 1. ส่งเสริมให้กำลังพลมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง มีเป้าหมาย หลักในพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และสัตหีบโดยนำที่ดินที่ ทร. ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาพัฒนาร่วมกับหน่วยงานรัฐ /เอกชน สก.ทร.เป็นเจ้าภาพ 2. ลดการจัดหาอาคารบ้านพักประจำหน่วยของทางราชการ ให้เหลือเท่าที่จำเป็น กบ.ทร.เป็นเจ้าภาพ 3. ดำเนินการให้ข้าราชการได้รับบริการตามสิทธิกำลังพล และสวัสดิการอื่นๆ สก.ทร.เป็นเจ้าภาพ

5 โครงสร้างแผนงบประมาณ ประกอบด้วย
แผนงาน ผลผลิตที่ 2 ผลผลิตที่ 1 ผลผลิตที่ 3 กิจกรรมที่1 กิจกรรมที่ 2 ใน 5 งบรายจ่าย ใน 5 งบรายจ่าย ยอดค่าใช้จ่ายต่างๆ ยอดค่าใช้จ่ายต่างๆ

6 แผนงาน.. เกิดจากพันธกิจ เช่น แผนงานป้องกันประเทศ
แผนงานรักษาความมั่นคงของรัฐ แผนงานพิทักษ์รักษา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ แผนงาน เกิดจากยุทธศาสตร์ของชาติ และ กห. เช่น แผนปรับโครงสร้างการท่องเที่ยว การบริการและการค้า

7 ผลผลิต.. แต่ละแผนงานอาจมีมากกว่า 1ผลผลิต เช่นแผน
งานป้องกันประเทศ มีผลผลิต คือ การเตรียมกำลังและใช้ กำลังในการป้องกันประเทศโดยกำลังทางเรือ การพัฒนา ระบบราชการ ฯลฯ

8 กิจกรรม.. การดำเนินการต่างๆ เพื่อให้เกิดผลผลิต เช่น
กิจกรรม.. การดำเนินการต่างๆ เพื่อให้เกิดผลผลิต เช่น ผลผลิตการเตรียมกำลังและใช้กำลังในการป้องกันประเทศ โดยกำลังทางเรือ มีกิจกรรมคือการเตรียมความพร้อมด้าน กำลังพล กิจกรรมการเตรียมความพร้อมด้านการส่งกำลัง บำรุง ฯลฯ

9 งบรายจ่าย.. ค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมให้สำเร็จ ในการ
เสนอของบประมาณ ต้องจำแนกค่าใช้จ่าย (งบประมาณ) ให้อยู่ใน 5 งบรายจ่าย ดังนี้

10 1.งบบุคลากร คือ รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อบริหารงาน
บุคคลภาครัฐ เช่น เงินเดือน เงินประจำตำแหน่งต่างๆ ค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว ค่าตอบแทนพนักงาน ราชการ

11 2.งบดำเนินงาน คือรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อบริหารงาน
ประจำ ซึ่งแยกออกตามลักษณะการจ่าย 4 ลักษณะดังนี้ 2.1 ค่าตอบแทน คือ เงินที่จ่ายตอบแทนให้กับผู้ที่ปฏิบัติงานให้ทาง ราชการตามที่ กค.กำหนด เช่นค่าเช่าบ้าน ค่าตรวจงานจ้างและ ควบคุมงาน ค่าจ้างปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 2.2 ค่าใช้สอย คือ เงินที่จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ เช่น งานบริการด้านไฟฟ้าต่างๆ โดยการไฟฟ้าฯ หรืองานบริการด้านประปาโดยการประปา ค่าเช่าทรัพย์สิน ค่ารับรองและพิธีการ ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาทรัพย์สินให้สามารถใช้ราชการได้ตามปกติ 2.3 ค่าวัสดุ คือ เงินที่จ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของ ลักษณะใช้แล้วสิ้นเปลืองหมดไป หรือสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร และมีราคาต่อชุดไม่เกิน 5,000 บ. หรือ ค่าดัดแปลง ต่อเติม ปรับปรุง ครุภัณฑ์ที่มี วงเงินไม่เกิน 5,000 บ. ที่ดินสิ่งก่อสร้างไม่เกิน 50,000 บ.

12 2.4 ค่าสาธารณูปโภค คือ เงินที่จ่ายค่าบริการสาธารณูปโภค สื่อสาร
และโทรคมนาคม เช่น ค่าไฟฟ้า ประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการไปรษณีย์โทรเลข ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับระบบอินเตอร์เน็ต

13 3.งบลงทุน คือรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการลงทุนซึ่งแยก
ออกตามลักษณะการจ่าย 2 ลักษณะดังนี้ 3.1 ค่าครุภัณฑ์ คือ เงินที่จ่ายเพื่อจัดหา สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร และมีราคาต่อชุดเกิน 5,000 บ. หรือ ค่าดัดแปลง ต่อเติม ปรับปรุง ครุภัณฑ์ที่มีวงเงินเกินกว่า 5,000 บ. ค่าจ้างที่ปรึกษา เพื่อการจัดหาหรือปรับปรุงครุภัณฑ์ 3.2 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง คือรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินและหรือ สิ่งก่อสร้าง รายจ่ายเกี่ยวกับค่าที่ดินฯ เช่น ค่าเวนคืน ค่าชดเชย กรรมสิทธิ์ที่ดินฯลฯ หรือ ค่าดัดแปลง ต่อเติม ปรับปรุง ที่ดินและ สิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินเกินกว่า 50,000 บ.ค่าจ้างออกแบบ ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อการจัดหา หรือปรับปรุงที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และให้หมายถึงรวมถึงรายจ่าย ซึ่งจ่ายจากงบรายอื่นใด แต่เข้า ลักษณะการจ่ายตามข้างต้น

14 4.งบเงินอุดหนุน คือ รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเป็นค่าบำรุงเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงาน
อิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือ หน่วยงานรัฐซึ่งมิใช่ ราชการส่วนกลาง องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การระหว่างประเทศ แบ่งเป็น งบเงินอุดหนุนทั่วไปและงบเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ซึ่งราย จ่ายใดจะเป็นเงินอุดหนุนทั่วไป หรือ เฉพาะกิจขึ้นอยู่กับสำนักงบประมาณจะกำหนด

15 5.งบรายจ่ายอื่น หมายถึง รายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภท
งบรายจ่ายใด งบรายจ่ายหนึ่งที่กล่าวมาแล้ว หรือรายจ่าย ที่สำนักงบประมาณกำหนดให้ใช้จ่ายในงบรายจ่ายนี้

16 ยอดค่าใช้จ่าย.. เช่นในงบดำเนินงาน ค่าตอบแทนใช้
สอย และวัสดุ มียอดค่าจัดหา ผลิตเพื่อแจกจ่ายและซ่อม บำรุงสายงาน ชย. ค่าสาธารณูปโภค มียอด ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ฯลฯ

17 ตัวอย่าง

18 งบกลาง รายจ่ายงบกลาง หมายถึง รายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจทั่วไป นอกเหนือจากงบประมาณประจำปีที่ได้รับจัดสรรไปแล้วโดยมีเกณฑ์การขอใช้กำหนดไว้ เช่น เงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพระราชภารกิจในการเสด็จพระราชดำเนินภายใน ภายนอกประเทศและค่าใช้จ่ายในการต้อนรับประมุขต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายตามโครงการพระราชดำริ ฯลฯ


ดาวน์โหลด ppt การบริหารงานงบประมาณ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google