งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ตัวเลขไทย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ตัวเลขไทย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ตัวเลขไทย

2 ตัวเลขไทย ตัวเลขไทย คือ ตัวอักษรที่ใช้แทนจำนวนในภาษาไทย ปัจจุบันมีตัวเลขจำนวน ๑๐ ตัว ได้แก่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐

3 ตัวอย่าง ตัวเลขไทย สมัยต่าง ๆ และในปัจจุบัน

4 เลข ๑ สมัยสุโขทัย พบว่าเลขหนึ่งจะมีลักษณะคล้ายกัน และเมื่อมาพบหนังสือออกไชยาฯ สมัยอยุธยา พบเป็นลักษณะขมวดหัวตัวอักษรเป็นวงกลม แต่ยังมีสัณฐานเดิมโดยลักษณะดังกล่าวได้คลี่คลาย มาถึงรัตนโกสินทร์เป็นแบบในปัจจุบัน เลข ๒ หลักฐานสมัยสุโขทัยแสดงเลขสองที่ใกล้เคียงกัน ขณะที่ต่อมาเมื่อพบในหนังสือออกไชยาฯ พบว่ารอยหยักจากด้านข้าง เลื่อนขึ้นไปอยู่ที่เส้นบน และมีหางยาวขึ้นพร้อมลากลงด้วย (ลักษณะคล้ายๆไม้ยมก) แต่ในหนังสือออกพระวิสุทธิสุนทรหางอักษรกลับลากลงมาตรงๆ และกลับลาก ขึ้นไปเหนือตัวอักษร เมื่อพบ ในหนังสือกฎหมายตราสามดวงซึ่งมีลักษณะคลี่คลายเป็นเลข ๒ ในปัจจุบัน

5 เลข ๓ ในจารึกวัดป่ามะม่วงพบว่ามีลักษณะเป็นรอยหยักด้านข้าง กระทั่งมาพบในอยุธยา โดยรอยหยักจากด้านข้างเลื่อนมาอยู่ด้านบนแทน และมีหัวอักษรเพิ่มขึ้นด้วยโดยลักษณะอักษรนี้ได้คลี่คลายมาเป็นอักษรในปัจจุบันนั่นเอง เลข ๔ ในจารึกพ่อขุนรามคำแหง พบว่าเลข ๔ มีลักษณะอย่างในปัจจุบัน เพียงแต่จะมีหางอักษรสั้นและลักษณะนี้ยังคงมีต่อมาเรื่อยๆ โดยที่อักษรดูสวยงามขึ้น ซึ่งลักษณะนี้ได้คลี่คลายให้หางอักษรยาวขึ้นเป็น ๔ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั่นเอง

6 เลข ๕ วิวัฒนาการของอักษรนี้ใกล้เคียงกับอักษรเลขสี่ โดยในจารึกหลักที่ ๑ พบว่าเลขห้า จะมีเส้นประกอบเพิ่มขึ้นจากเลขสี่ โดยเส้นประกอบนี้ได้นำมาลากรวมกันเมื่อพบในจารึกปู่ขุนจิดขุนจอด โดยมีลักษณะเหมือนกับในปัจจุบัน เพียงแต่จะมีลักษณะไม่สวยนัก เลข ๖ เคยได้รับการจารึกวัดป่ามะม่วงในสมัยสุโขทัย ต่อมาพบในหนังสือออกพระวิสุทธิสุนทร ตัวอักษรมีหัวเล็กลงและกลมขึ้น ส่วนหางมีมุมที่ชัดเจนขึ้น จนในกฎหมายตราสามดวงพบเป็น ๖ ซึ่งเป็นลักษณะที่คลี่คลายอักษรในปัจจุบัน

7 เลข ๗. พบครั้งแรกในศิลาจารึกหลักที่ ๑ มีลักษณะเป็นรอยหยักหงายคล้าย ผ
เลข ๗ พบครั้งแรกในศิลาจารึกหลักที่ ๑ มีลักษณะเป็นรอยหยักหงายคล้าย ผ.ผึ้ง โดยไม่พบว่าจารึกในหลักอื่นๆ จะใช้อักษรในลักษณะนี้ เพราะเมื่อพบเลข ๗ในจารึกปู่ขุนจิดขุนจอด จะกลายเป็นตัวอักษรที่มีลักษณะคล้ายเลข ๓ ซึ่งเหมือนเขียนกลับหัวจากจารึกหลักที่ ๑ และต่อมามีคนเขียนหางให้ยาวลงมาข้างล่าง ซึ่งถือว่าเป็นแบบอยุธยาโดยแท้ เพราะไม่พบรูปเลขเจ็ดนี้ในสมัยสุโขทัยและ หางนี้ถูกลากให้ยาวออกไปด้านบนใน สมัยรัตนโกสินทร์ คือ ๗

8 เลข ๘ วิวัฒนการของตัวอักษรนี้น้อย แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ กล่าวคือ มีการพบในจารึกวัดป่ามะม่วง ในหนังสือออกพระวิสุทธิสุนทร และพบในกฎหมายตราสามดวง ตามลำดับ ซึ่งมีลักษณะ ๘ เหมือนกันไม่มีการเปลี่ยนแปลง เลข ๙ พบครั้งแรกในจารึกวัดป่ามะม่วง ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆกับเลข ๙ แป็นรอยหยักๆ ไม่แน่นอนและไม่มีหัว และต่อมาได้เขียนให้มีหัวอักษร พร้อมวงแรกลากยาวลงมาในระดับเดียวกับหัวอักษร และหยักที่หาง เมื่อพบในรัตนโกสินทร์ คือ ๙ ซึ่งคลี่คลายเป็นอักษรปัจจุบันนั่นเอง

9 เลข o มีสัณฐานเป็นวงกลม O คือตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยปัจจุบัน
ปัญหาในการใช้เลขไทยในปัจจุบัน คือ เลขไทยไม่ได้รับการสนับสนุน ให้มีการใช้อย่างแพร่หลาย ที่ยังพบว่ามีการใช้อยู่เสมอ คือ หนังสือราชการ การบอกวัน เดือน ปี ทางจันทรคติ การเขียนบอกมาตราเงินไทย เป็นต้น


ดาวน์โหลด ppt ตัวเลขไทย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google