งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ภาษาไทย เพื่อการเรียนการสอน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ภาษาไทย เพื่อการเรียนการสอน."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ภาษาไทย เพื่อการเรียนการสอน

2 หลักสูตรและหนังสือเรียนภาษาไทย
สื่อการสอนที่พัฒนาคุณภาพ การเรียนรู้ภาษาไทย หลักการจัดทำหนังสือเรียนภาษาไทย

3 หลักสูตร และหนังสือเรียนภาษาไทย
สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ตอนต้น รัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๔ – รัชกาลที่ ๕ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงปัจจุบัน - การเรียนการสอน พ.ศ.๒๔๗๕ – ๒๕๐๓ - หลักสูตร พุทธศักราช ๒๕๒๑ - หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ - หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

4 สมัยสุโขทัย - พ.ศ. ๑๘๒๖ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทย เรียกว่า ลายสือไทย - หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ ศิลาจารึกหลักต่าง ๆ แสดงประวัติศาสตร์และวรรณคดี - รัฐและวัดเป็นศูนย์กลางการศึกษา - วิชาที่ศึกษา คือ ภาษาบาลี ภาษาไทย และวิชาสามัญชั้นต้น - ผู้สอนคือ พระผู้ทรงคุณวุฒิเชี่ยวชาญภาษาบาลี - สถานศึกษา * วัด สำหรับบุตรหลานขุนนางและราษฎรทั่วไป * สำนักราชบัณฑิต สำหรับเจ้านายและบุตรหลานข้าราชการชั้นสูง

5 อยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สถานศึกษาอยู่ที่วัดและวัง มีพระภิกษุเป็นครู แบบเรียนเล่มแรก คือ จินดามณี แต่งโดย พระโหราธิบดี จินดามณี เป็นศาสตร์ชั้นสูง สอนอ่านเขียนคำศัพท์ ผันเสียง เมื่ออ่านเขียนได้ จึงแต่งคำประพันธ์ คัดลอกต่อ ๆ กันมา มีหลายฉบับ เช่น * ฉบับความแปลก * ฉบับความพ้อง (สันนิษฐานว่าใช้เป็นแบบเรียน) * ฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท(เลียนแบบฉบับ ของพระโหราธิบดี) * ฉบับหมอบรัดเลย์

6 รัตนโกสินทร์ตอนต้น สถานศึกษา วัดและวัง
การเรียนการสอนแล้วแต่พระอาจารย์และภูมิปัญญาของศิษย์ แบบเรียน คือ ประถม ก กา สุบินทกุมาร ประถมมาลา จินดามณี เล่ม ๑ และจินดามณี เล่ม ๒ (กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ) ประถม ก กา ไม่ทราบนามผู้แต่ง แต่งเป็นกลอนและกาพย์ แม่ ก กา จนถึงแม่เกย เป็นการเล่าเรียนคำสอน กิจวัตรของศิษย์วัด(นักเรียน) มีหลายสำนวน ที่แพร่หลายคือ ประถม ก กา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ สุบินทกุมาร ไม่ทราบนามผู้แต่ง แต่งเป็นคำกาพย์ เนื้อหาให้เห็นความสำคัญ ของการบวชและเรียนรู้หนังสือไปด้วย ประถมมาลา ผู้แต่งคือ พระเทพโมลี (ผึ้งหรือพึ่ง) สมัย ร. ๓ แต่ง เป็นกาพย์ แม่ ก กา กง กน กม เกย กก กด กบ และการแต่งโคลง ใช้อย่างกว้างขวาง

7 รัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ปลาย ร.๔ – ร.๕
ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรก พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นอาจารย์ใหญ่ มีฆราวาสเป็นครู ใช้แบบเรียนหลวง ๖ เล่ม ได้แก่ มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ และพิศาลการันต์ มูลบทบรรพกิจ สอนวัยเริ่มเรียน จากง่ายไปหายาก วาหนิติ์นิกร ผันอักษรนำ อักษรสูงนำอักษรต่ำ และอักษรกลาง นำอักษรต่ำ อักษรประโยค ผันอักษรควบกล้ำ ผันเสียงวรรณยุกต์ สังโยคพิธาน ตัวสะกดในแม่ต่าง ๆ โดยเฉพาะจากภาษาบาลี ไวพจน์พิจารณ์ คำพ้องเสียง พ้องรูป พิศาลการันต์ อักษรท้ายคำไม่ออกเสียง ไม่เป็นตัวสะกด คำที่มีตัวการันต์

8 กรมศึกษาธิการ (พ.ศ. ๒๔๓๐) กรมพระยางดำรงราชานุภาพเป็นผู้บัญชาการกรม
โอนโรงเรียนที่มีอยู่ในสมัยนั้นมาขึ้นอยู่กับกรมศึกษาธิการ ใช้แบบเรียนเร็ว (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้แต่ง) แทนแบบเรียนหลวง แบบเรียนเร็ว ใช้แก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ท่องจำเฉพาะตอนที่จำเป็น เรียนเครื่องหมายต่าง ๆ เมื่ออ่านเขียนได้ จึงสอนไวยากรณ์ เล่ม ๑ รู้จักพยัญชนะ การประสมสระ อ่านคำง่าย ๆ เล่ม ๒ สอนอ่าน เขียน และการใช้คำ คำที่ใช้ไม้ม้วน ไม้มลาย การันต์ และคำพ้อง เล่ม ๓ ชนิดของคำ แต่งประโยค และวิธีเก็บใจความสำคัญ

9 กระทรวงธรรมการ (พ.ศ.๒๔๓๕ – ๒๔๕๓) ตั้งโรงเรียน และขยายชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น ประกาศใช้หลักสูตรประโยคต่าง ๆ เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งชั้นการศึกษา เช่น ปี ๒๔๓๘ * โรงเรียนมูลศึกษาสามัญชั้นต่ำ * โรงเรียนมูลศึกษาชั้นสูง ปี ๒๔๔๑ * การเล่าเรียนเบื้องแรก(มูลศึกษา) * การเล่าเรียนเบื้องต้น(ประถมศึกษา) * การเล่าเรียนเบื้องกลาง(มัธยมศึกษา) * การเล่าเรียนเบื้องสูง(อุดมศึกษา) ปี ๒๔๔๕ * มูลศึกษา * ประถมศึกษา * มัธยมศึกษา * มัธยมสูง ใช้แบบเรียนเร็ว และแบบสอนอ่าน ตามลำดับประโยคและชั้น มีแบบเรียนมากขึ้น แยกไปตามเนื้อหาวิชา

10 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงปัจจุบัน
กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. ๒๔๘๔) แผนการศึกษาชาติ ปี ๒๔๗๕ ปี ๒๔๗๙ และปี ๒๔๙๔ ใช้แบบเรียนใหม่ ของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี แบบเรียนเร็วใหม่ ของหลวงดรุณกิจวิฑูรและนายฉันท์ ขำวิไล แบบเรียนชุดบันไดก้าวหน้า ของนายกี่ กีรติวิทโยฬาร แบบเรียนใหม่ (เช่น ป้ากะปู่ กู้อีจู้) แก้ไขจากแบบเรียนเร็ว เพื่อแก้ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ มีการทดลองในโรงเรียนก่อนจัดพิมพ์ ใช้ในโรงเรียนทั่วไป ลักษณะ คือ แม่ กา มาตราตัวสะกด และคำตาย แบ่งกลุ่มพยัญชนะตามรูปตัวอักษรที่คล้ายกัน เช่น บ ป / ก ถ ภ / พ ฟ ฝ เป็นต้น

11 แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๙๔ และปี ๒๕๐๓
แบ่งระดับการศึกษา ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๔ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ – ๗ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ - ๕ ฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย สอดแทรกคุณธรรมวัฒนธรรมไทย รวมทั้งปลูกฝัง การรักชาติ หนังสือเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา เช่น * เรณู ปัญญา ของหลวงกีรติวิทโยฬาร * สุดา คาวี ของนายอภัย จันทวิมล * หนังสือเรียนภาษาไทย ของกระทรวงศึกษาธิการ (มานะ มานี) หนังสือเรียนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็น วรรณคดี และหลักภาษา ในชั้น ม. ปลาย มีหนังสือนอกเวลา และเลือกเรียนเพิ่มเติมในสายศิลปะ เช่น การเขียน ประวัติวรรณคดี เป็นต้น

12 หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๕๒๑
หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช ๒๕๒๑ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๒๔ แบ่งการศึกษา ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ ปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับความ เปลี่ยนแปลงของสังคม เรียนรู้ภาษาประสานสัมพันธ์กันทั้งการอ่านออกเสียง อ่านในใจ ฟัง พูด และเขียนแบบต่าง ๆขยายความนึกคิดและจินตนาการ หนังสือเรียนภาษาไทย ของกระทรวงศึกษาธิการ * ประถมศึกษา ชั้น ป. ๑ – ๖ ใช้ชุด มานะ มานี * มัธยมศึกษาตอนต้น (ม. ๑ – ๓) วรรณคดี ใช้ชุดทักษะสัมพันธ์ และหลักภาษาไทย * มัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้น ม. ๔ – ๕ วรรณคดี ใช้ชุดวรรณวิจักษ์ หลักภาษาไทย ใช้ชุดทักษะพัฒนา ชั้น ม. ๖ วรรณคดี และหลักภาษาไทย ใช้ชุด ภาษาพิจารณ์

13 ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓
หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๓๓) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช ๒๕๒๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๓๓) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๒๔ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๓๓) ปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับความ เปลี่ยนแปลงของสังคม เรียนอย่างมีความหมายเกิดทักษะการคิด แม่นยำ ในทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และสำนึกความไทย แบ่งการศึกษา ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ หนังสือเรียนภาษาไทย ของกระทรวงศึกษาธิการ * ประถมศึกษา ชุด พื้นฐานภาษา ป. ๑ – ๖ (รถไฟ) * มัธยมศึกษาตอนต้น (ม. ๑ – ๓) วรรณคดี ใช้ชุดทักษสัมพันธ์ และหลักภาษาไทย * มัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้น ม. ๔ – ๕ วรรณคดีและหลักภาษา ใช้ชุดวรรณสารวิจักษ์ ชั้น ม. ๖ วรรณคดีและหลักภาษา ใช้ชุดวรรณลักษณ์วิจารณ์

14 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔
การศึกษามุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การเรียนภาษาไทยเพื่อการฝึกฝนให้ชำนาญ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเรียนรู้ สาระอื่น การศึกษาต่อ และการใช้ในชีวิต ประจำวัน แบ่งการศึกษาเป็นช่วงชั้น ช่วงชั้นที่ ๑ (ชั้น ป. ๑ – ๓) ช่วงชั้นที่ ๒ (ชั้น ป.๔ – ๖) ช่วงชั้นที่ ๓(ชั้น ม.๑ – ๓) ช่วงชั้นที่ ๔(ชั้น ม.๔ – ๖) หนังสือเรียนภาษาไทย ของกระทรวงศึกษาธิการ * ชั้น ป. ๑ ใช้ชุด พื้นฐานภาษา (รถไฟ) * ชั้น ป. ๒ – ๖ ใช้ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที(หลักและการใช้ ภาษาไทย และวรรณคดีลำนำ (วรรณคดี) และหนังสือวรรณกรรมปฏิสัมพันธ์ ช่วงชั้นที่ ๒ (สำหรับเด็กเก่ง) * มัธยมศึกษาตอนต้น (ม. ๑ – ๓) วรรณคดี ใช้ชุด วรรณคดีวิจักษ์ และหลักภาษาไทย ใช้ชุด วิวิธภาษา * ชั้น ม. ๔ – ๖ วรรณคดี ใช้ชุด วรรณคดีวิจักษ์ และหลักและการใช้ ภาษาไทย มีชื่อเรียกแตกต่างกัน คือ ม.๔ ใช้ชุด ภาษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ม. ๕ ใช้ชุด ภาษาเพื่อพัฒนาการสื่อสาร ม. ๖ ใช้ชุด ภาษาเพื่อพัฒนาการคิด

15 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
การศึกษาพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้มีคุณภาพด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ใฝ่รู้ ใฝ่ดี อยู่อย่างพอเพียง และมุ่งมั่น การเรียนภาษาไทยเพื่อฝึกฝนให้ชำนาญ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งการศึกษาเป็นระดับชั้น ชั้น ป. ๑ – ๓ ชั้น ป. ๔ – ๖ ชั้น ม.๑ – ๓ ชั้น ม.๔ – ๖ หนังสือเรียนภาษาไทย ของกระทรวงศึกษาธิการ * ชั้น ป. ๑ ใช้ชุด ภาษาเพื่อชีวิต (ใบบัวใบโบก) * ชั้น ป. ๒ – ๖ ใช้ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที (หลักและการใช้ภาษาไทย และวรรณคดีลำนำ (วรรณคดี) * ชั้น ม. ๑ – ๓ วรรณคดี ใช้ชุด วรรณคดีวิจักษ์ และหลักภาษาไทย ใช้ชุด วิวิธภาษา * ชั้น ม. ๔ – ๖ วรรณคดี ใช้ชุด วรรณคดีวิจักษ์ และหลักและการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

16 เรียนรู้อะไรในภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางฯ
๑. การอ่าน ออกเสียงคำ อ่านในใจ อ่านประโยค และข้อความ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ๒. การเขียน สะกดคำ เขียนสื่อสาร เรียงความ ย่อความ รายงาน เขียนจินตนาการ วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ ๓. การฟัง การดู และการพูด อย่างมีวิจารณญาณ ลำดับเรื่อง มีเหตุผล พูดเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ๔. หลักการใช้ภาษาไทย กฎเกณฑ์ทางภาษา ความถูกต้องเหมาะสม การแต่งบทประพันธ์ และอิทธิพลภาษาต่างประเทศ ๕. วรรณคดีและวรรณกรรม แนวคิด คุณค่า สุนทรียทางวรรณกรรม

17 หนังสือเรียนภาษาไทย ในอดีต

18

19

20

21

22

23

24

25 ของกระทรวงศึกษาธิการ
หนังสือเรียนภาษาไทย ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ใช้ในโรงเรียน ในปัจจุบัน

26 ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

27 ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

28 ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

29 ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

30 ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

31 ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

32 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

33 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

34 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

35 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

36 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

37 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖


ดาวน์โหลด ppt ภาษาไทย เพื่อการเรียนการสอน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google