งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เรื่อง หน้าที่พลเมือง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เรื่อง หน้าที่พลเมือง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เรื่อง หน้าที่พลเมือง
เกม4ตัวเลือก เรื่อง หน้าที่พลเมือง

2 เกม4ตัวเลือก เนื้อหา วิธีการเล่นเกม เล่นเกม

3 วิธีการเล่นเกม 1.ให้ผู้เล่นเริ่มอ่านเนื้อหาให้เข้าใจก่อน
2.เมื่ออ่านเนื้อหาเสร็จแล้วผู้เล่นเริ่มเล่นเกมได้ 3.เมื่อผู้เล่นตอบผิดให้กลับไปทำใหม่ กลับสู่เมนูหลัก

4 ความหมายของพลเมืองดี
พลเมือง หมายถึง พละกำลังของประเทศ ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของประเทศนั่นเอง ต่างจากชาวต่างด้าวเข้าเมือง ชาวต่างประเทศนี้เข้ามาอยู่ชั่วคราว พลเมืองมีความหมายต่างจากบุคคล ซึ่งหมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

5 พลเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้น บุคคลต่างสัญชาติที่เข้าไปอยู่อาศัยในสังคมซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมือง และมีหน้าที่แตกต่างออกไป เช่น อาจมีหน้าที่เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศบัญญัติไว้ สิทธิและหน้าที่เป็นสิ่งคู่กัน เมื่อมีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ พลเมืองของทุกประเทศมีทั้งสิทธิและหน้าที่ แต่จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ และแน่นอนว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิมากกว่าการปกครองในระบอบอื่น เพราะมีสิทธิที่สำคัญที่สุด คือ สิทธิในการปกครองตนเอง

6 การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามหลักธรรม
การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามหลักธรรม การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามหลักธรรม เป็นหน้าที่ของพลเมืองดีพึงปฏิบัติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ จริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม เป็นคำที่มักใช้ปะปนกัน หากจะพิจารณาความหมายของคำศัพท์ที่นำมาประกอบกันเป็นคำเหล่านี้ พอจะแยกได้ ดังนี้ จริย    กริยาที่ควรประพฤติ คุณ    ดี มีประโยชน์ ศีล     การประพฤติปฏิบัติดีตามปกติวิสัย

7 การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามหลักธรรม
สรุป จริยธรรม  หมายถึง  หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย คุณธรรม  หมายถึง  หลักในการประพฤติปฏิบัติที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น ศีลธรรม  หมายถึง  หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย พร้อมกันนั้นก็สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย

8 หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญ
     หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญ  ได้แก่ 1)หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนหมายถึงประชาชนเป็นเจ้าของ  อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ 2)หลักความเสมอภาคหมายถึงความเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตยถือว่าทุกคนที่เกิดมาจะมีความเท่าเทียมกันในฐานะการเป็นประชากรของรัฐได้แก่มีสิทธิเสรีภาพมีหน้าที่เสมอภาคกันไม่มีการแบ่งชนชั้นหรือการเลือกปฏิบัติควรดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติไม่ข่มเหงรังแกคนที่อ่อนแอหรือยากจนกว่า 3)หลักนิติธรรมหมายถึงการใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน เพื่อความสงบสุขของสังคม

9 หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญ
4)หลักเหตุผลหมายถึงการใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินหรือยุติปัญหาในสังคม 5)หลักการถือเสียงข้างมากหมายถึงการลงมติโดยยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในสังคมประชาธิปไตยครอบครัว ประชาธิปไตยจึงใช้หลักการถือเสียงข้างมากเพื่อลงมติในประเด็นต่างๆได้อย่างสันติวิธี 6)หลักประนีประนอมหมายถึงการลดความขัดแย้งโดยการผ่อนหนักผ่อนเบาให้กันร่วมมือกันเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ

10 แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย
 แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย   พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยควรมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้ คือ   ด้านสังคม  ได้แก่ (1)การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล (2)การรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น (3)การยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า (4)การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ (5)การเคารพระเบียบของสังคม

11 แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย
 ด้านเศรษฐกิจ  ได้แก่ (1) การประหยัดและอดออมในครอบครัว (2) การซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ (3) การพัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า  ด้านการเมืองการปกครอง  ได้แก่ (1) การเคารพกฎหมาย (2) การรับฟังข้อคิดเห็นของทุกคนโดยอดทนต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น (3) การยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า (4) การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

12 ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม มีความสำคัญต่อประเทศ เช่น 1. ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง 2. ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย 3. ทำให้เกิดความรักและความสามัคคีในหมู่คณะ 4. สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข กลับสู่เมนูหลัก

13 ยินดีต้อนรับเข้าสู่เกม

14 จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1.ข้อใดกล่าวถึงความหมายของพลเมืองได้ถูกต้องที่สุด 1 พละกำลังของประเทศ 2 บุคคลธรรมดา 4 ผู้ที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน 3 ผู้ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย

15 ถูกต้อง ทำข้อต่อไป

16 ตอบผิด ลองอีกครั้งนะค่ะ

17 2.ประชาชนมีสิทธิมากกว่าการปกครองระบอบอื่นเพราะมีสิทธิที่สำคัญที่สุดคืออะไร
1 การปกครองประเทศ 2 การปกครองสังคม 3 การปกครองตนเอง 4 ไม่มีข้อใดถูก

18 ถูกต้อง ทำข้อต่อไป

19 ตอบผิด ลองอีกครั้งนะค่ะ

20 3.หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญมีอะไรบ้าง
หลักอำนาจอธิปไตยของประชาชน 2 ความเสมอภาค 1 ถูกทุกข้อ 3 หลักนิติธรรม 4

21 ถูกต้อง ทำข้อต่อไป

22 ตอบผิด ลองอีกครั้งนะค่ะ

23 4.บทบาทหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของประเทศ
ด้านการเมือง การปกครอง 1 ด้านสังคม  2 3 4 ถูกทุกข้อ ด้านเศรษฐกิจ

24 ถูกต้อง ทำข้อต่อไป

25 ตอบผิด ลองอีกครั้งนะค่ะ

26 5.หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หมายถึงอะไร
5.หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน  หมายถึงอะไร เท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตยถือว่าทุกคนที่เกิดมาจะมีความ การใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินหรือยุติปัญหาในสังคม 1 2 การใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันเพื่อความสงบสุขของสังคม ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ 3 4

27 ถูกต้อง ทำข้อต่อไป

28 ตอบผิด ลองอีกครั้งนะค่ะ

29 การยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า การสร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่
 6.แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีด้านสังคมมีอะไรบ้าง 1 การยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า 2 การสร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ 3 การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม การเคารพระเบียบของสังคม 4

30 ถูกต้อง เก่งมากค่ะ

31 ตอบผิด เสียใจด้วยค่ะ ลองอีกครั้งนะค่ะ

32 เกมเติมคำ เรื่อง พลเมืองดี ในสังคมประชาธิปไตย

33 เกมเติมคำ เนื้อหา วิธีการเล่นเกม คำชี้แจง เล่นเกม ผู้จัดทำ

34 วิธีการเล่นเกม 1.ให้ผู้เล่นอ่านเนื้อหาให้เข้าใจก่อน
2.ผู้เล่นนำตัวเลือกที่กำหนดให้3ข้อมาตอบ 3.ถ้าหากผู้เล่นตอบผิดผู้สอนก็จะเป็นคนเฉลย กลับสู่หน้าหลัก

35 พลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเสมอภาคกันและมีหน้าที่ปฏิบัติที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนี้การปฏิบัติตนตามบทบาท หน้าที่ของตนให้เหมาะสมและอยู่บนพื้นฐานที่กฎหมายกำหนดไว้พลเมืองในสังคมจึงต้องศึกษาทำความเข้าใจถ่องแท้และไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นเพื่อจะได้ปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ

36 พลเมืองดี 1.การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว
1.1 มีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานให้เกิดผลดีและพร้อมที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 1.2 รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันอย่างมีเหตุผล 1.3 การถือเสียงส่วนใหญ่และการประนีประนอมเป็นสำคัญ 1.4 การช่วยกันคิดแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล 1.5 การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 1.6 การนำหลักคุณธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต

37 พลเมืองดี (ต่อ) 2.การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียนและชุมชน
2.1 ปฏิบัติตามระเบียบ กฎข้อบังคับของโรงเรียน การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของโรงเรียนจัดเป็นการปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่ฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย 2.2 มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน หน้าที่สำคัญของนักเรียนคือ การเรียนหนังสือเพื่อหาความรู้ให้กับตนเอง 2.3 เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เช่น พัฒนาด้านอาคารสถานที่ เราจะต้องรู้จักเสียสละกำลังกาย กำลังทรัพย์ ตามความสามารถเท่าที่จะทำได้เพื่อช่วยเหลือโรงเรียน 2.4 การเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน เป็นกิจกรรมที่เสริมการเรียนรู้หรือกิจกรรมเพื่อสังคม

38 พลเมืองดี (ต่อ) 3.การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและประเทศชาติ
3.1 ช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คือการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัดและให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เมื่อทุกคนปฏิบัติได้เช่นนี้จะเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติใช้ได้ยาวนาน 3.2 การพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญก้าวหน้า สมาชิกในชุมชนทุกคนจะต้องร่วมมือกันพัฒนาชุมชนของตนให้มีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆเช่น ทางด้านการศึกษา สังคม การสื่อสารและเทคโนโลยี และการพัฒนาการด้านเศรษฐกิจ 3.3 การมีส่วนร่วมในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การสืบทอดประเพณีสงกรานต์

39 ลักษณะของพลเมืองดี 1.พลเมืองดีจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด กฎหมายเป็นกฎข้อบังคับในการอยู่ร่วมกันในสังคมมีมาตรฐานเดียวกัน ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ 2.พลเมืองดีจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม เช่น การเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความมีระเบียบวินัย ความสามัคคี และความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม 3.อนุรักษ์และสืบสานประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่ดีงามของไทย เป็นแบบแผนความประพฤติที่ได้รับการยอมรับจากสมาชิกในสังคมซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงความดี ความเป็นชาติไทยของเรา

40 ลักษณะของพลเมืองดี(ต่อ)
4.เป็นคนขยันใฝ่หาความรู้อยู่เสมอเพื่อที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า เยาวชนไทยควรตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและหาความรู้ใส่ตัวอยู่เสมอไม่เฉพาะในตำราเรียนเท่านั้นแต่ต้องมีความรู้ในเรื่องรอบตัวต่างๆให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของประเทศและโลกเพื่อจะได้นำความรู้ต่างๆเหล่านั้นมาพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป 5.พลเมืองดีรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 แต่จะต้องอยู่ในขอบเขตหลักเกณฑ์ที่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้

41 บทบาทหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของประเทศ
บทบาทหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของประเทศ ในฐานะที่เราทุกคนมีบทบาทเป็นสมาชิกของสังคมและเป็นพลเมืองของประเทศ เราจึงต้องมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติในฐานะพลเมืองของประเทศ  ในการอยู่ร่วมกันในสังคม สมาชิกที่ดีจะต้องตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนเองในด้านต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น 1. ด้านการเมือง การปกครอง -รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย -ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย -ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนด  -รักษาความสามัคคีภายในประเทศ

42 บทบาทหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของประเทศ(ต่อ)
2. ด้านสังคม  -ร่วมมือกันรักษาวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตที่ดีงามของชาวไทย -อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม -ช่วยเหลือคนพิการและคนทุพพลภาพให้ดำเนินชีวิตในสังคมได้ 3. ด้านเศรษฐกิจ -ประกอบอาชีพสุจริต -ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค -พัฒนาสังคมให้น่าอยู่ เพื่อจูงใจให้ต่างชาติมาเที่ยวชมและมาลงทุน

43 การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรม คือ แบบแผนการกระทำ หรือผลการกระทำที่พัฒนาจากสภาพเดิมตามธรรมชาติให้ดีงามยั่งยืนจนเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ตัวอย่างแบบแผนการกระทำ เช่น กิริยา มารยาท การพูด การแต่งกาย การรับประทานอาหาร เป็นต้น ส่วนผลจากการกระทำเช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เป็นต้น

44 หน้าที่พลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญ
1.การรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 1.1 การรักษาชาติ 1.2 การรักศาสนา 1.3 การรักษาพระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. การปฏิบัติตามกฎหมาย บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ระบุไว้กว้างๆแต่มีความหมายครอบคลุมกฎหมายทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกฎหมายเอกชน มหาชน หรือกฎหมายระหว่างประเทศรวมทั้งกฎหมายระดับต่างๆเช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น

45 หน้าที่พลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญ(ต่อ)
3.การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การใช้สิทธิเลือกตั้งมีทั้งในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย คือ ระบอบการ ปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ที่ถือเสียงข้างมากเป็นสำคัญแต่ก็เคารพสิทธิเสรีภาพของเสียงข้างน้อย ในระบอบประชาธิปไตยจึงมีการเลือกตั้งผู้แทนไปปฏิบัติหน้าที่แทนประชาชน

46 หน้าที่พลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญ(ต่อ)
4.การพัฒนาประเทศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ระบุถึงหน้าที่ของปวงชนชาวไทยในการป้องกันประเทศ ซึ่งสามารถแยกออกได้ 7 ประการ ดังนี้ 4.1 การป้องกันประเทศ 4.2 การรับราชการทหาร 4.3 การเสียภาษีอากร 4.4 การช่วยเหลือราชการ 4.5 การศึกษาอบรม 4.6 การพิทักษ์ปกป้องและสืบสานศิลปะ วัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น 4.7 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

47 ลักษณะของจริยธรรม คุณธรรม
คุณธรรมและจริยธรรม คือ สิ่งที่เป็นความดีควรประพฤติปฏิบัติ เพราะจะนาความสุข ความเจริญ ความมั่นคงมาสู่ประเทศชาติ สังคม และบุคคล คุณธรรมจริยธรรมที่สำคัญ ๆ มีดังต่อไปนี้ 1. ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประเทศชาติ นับว่ามีพระคุณอย่างมหาศาล เพราะเป็นสถานที่ ที่เราทุกคนอยู่อาศัยอย่างผาสุกตั้งแต่เกิดจนตาย ให้เราได้ประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิต ให้เราได้ภาคภูมิใจในเกียรติและศักดิ์ศรีที่มีชาติเป็นของตนเอง ไม่เป็นทาสใคร เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อชาติ รักและหวงแหน ยอมสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อให้ชาติเป็นเอกสารสืบไป

48 ลักษณะของจริยธรรม คุณธรรม(ต่อ)
2. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ หมายถึง การปฏิบัติกิจการงานของตนเอง และที่ได้รับมอบหมายด้วยความมานะพยายาม อุทิศกาลังกาย กาลังใจอย่างเต็มความสามารถ ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยจนงานประสบความสาเร็จตรงตามเวลา บังเกิดผลดีต่อตนเองและส่วนรวม 3. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การเป็นผู้รู้และปฏิบัติตามแบบแผนที่ตนเอง ครอบครัว และสังคมกาหนดไว้ โดยที่จะปฏิเสธไม่รับรู้กฎเกณฑ์หรือกติกา ต่าง ๆ ของสังคมไม่ได้

49 ลักษณะของจริยธรรม คุณธรรม(ต่อ)
4. ความซื่อสัตย์ หมายถึง การปฏิบัติตน ทางกาย วาจา จิตใจ ที่ตรงไปตรงมา ไม่แสดงความคดโกงไม่หลอกลวง ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ลั่นวาจาว่าจะทางานสิ่งใดก็ต้องทาให้สาเร็จเป็นอย่างดี ไม่กลับกลอก มีความจริงใจต่อทุกคน จนเป็นที่ไว้วางใจของคนทุกคน 5. ความเสียสละ หมายถึง การปฏิบัติตนโดยอุทิศกาลังกาย กาลังทรัพย์ กาลังปัญญา เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมด้วยความตั้งใจจริง มีเจตนาที่บริสุทธิ์ คุณธรรมด้านนี้เป็นการสะสมบารมีให้แก่ตนเอง ทาให้มีคนรักใคร่ไว้วางใจ เป็นที่ยกย่องของสังคม ผู้คนเคารพนับถือ

50 ลักษณะของจริยธรรม คุณธรรม(ต่อ)
6. ความอดทน หมายถึง ความเป็นผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคใด ๆ มุ่งมั่นที่จะทางานให้บังเกิดผลดีโดยไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อน 7. การไม่ทาบาป หมายถึง การงดเว้นพฤติกรรมที่ชั่วร้าย สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นเพราะเป็นเรื่องเศร้าหมองของจิตใจ 8. ความสามัคคี หมายถึง การที่ทุกคนมีความพร้อมกาย พร้อมใจ และพร้อมความคิดเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิบัติงานให้ประสบความสาเร็จ

51 คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี
1.การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่ 3. รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก 4.ความซื่อสัตย์สุจริต 5. ความสามัคคี 6. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว 7. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง 8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอานาจ

52 จริยธรรมของการเป็นพลเมืองดี
จริยธรรม หมายถึง ความดีที่ควรประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คุณธรรม จริยธรรมที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ได้แก่ 1. ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง การตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติไทย การยึดมั่นในหลักศีลธรรมของศาสนา และการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์

53 จริยธรรมของการเป็นพลเมืองดี(ต่อ)
2.ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การยึดมั่นในการอยู่ร่วมกันโดยยึดระเบียบวินัย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม 3.ความกล้าทางจริยธรรม หมายถึง ความกล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร 4.ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทาของตน 5.การเสียสละ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่นหรือสังคม 6.การตรงต่อเวลา หมายถึง การทางานตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย กลับสู่หน้าหลัก

54 ยินดีต้อนรับเข้าสู่เกม

55 คำชี้แจง มีช่องว่างให้เติมคำจำนวน15ข้อ จะมีอยู่5ข้อที่มีตัวเลือกให้นำมาใส่ลงในช่องว่าง ส่วนอีก10ข้อให้อ่านเนื้อหาแล้วหาคำตอบมาใส่ลงในช่องว่างให้ถูกต้อง กลับสู่หน้าหลัก

56 จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องโดยจะมีตัวเลือกให้3ข้อ แล้วนำมาใส่ลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
2. ด้านสังคม 1.ด้านการเมืองการปกครอง 3. ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม 1……………………….อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านการเมืองการปกครอง 2…………………………………………………….ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย ด้านเศรษฐกิจ 3.……………………………ประกอบอาชีพสุจริต ด้านเศรษฐกิจ 4……………………………………พัฒนาสังคมให้น่าอยู่ เพื่อจูงใจให้ต่างชาติมาเที่ยวชมและมาลงทุน ด้านการเมืองการปกครอง 5……………………………………………………รักษาความสามัคคีภายในประเทศ

57 อ่านเนื้อหาแล้วหาคำตอบมาใส่ลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
ประชาชนทุกคน 6……………………………….มีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน ประเทศไทย 7……………………….เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนเอง 8.สมาชิกที่ดีจะต้อง…………………………………………………………….. 9.ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและมีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ………………….. พ.ศ.2540 ปฏิบัติตามระเบียบ 10…………………………………..กฎข้อบังคับของโรงเรียน สมาชิกในสังคม พลเมืองของประเทศ 11.ในฐานะที่เราทุกคนมีบทบาทเป็น……………………………และเป็น………………………………………. 12.การพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญก้าวหน้าสมาชิกในชุมชนทุกคนจะต้อง…………………………………………………. ร่วมกันพัฒนาชุมชนของตน

58 อ่านเนื้อหาแล้วหาคำตอบมาใส่ลงในช่องว่างให้ถูกต้อง (ต่อ)
การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัด 13.ช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คือ…………………………………………………………………… เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม 14……………………………………………………….การพัฒนาด้านอาคารสถานที่ 15.อนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่ดีงามของไทยเป็นแบบแผนความประพฤติที่ได้รับการยอมรับจาก……………………………เป็นเครื่องแสดงถึง………………………………………………………………. สมาชิกในสังคม ความดี ความเป็นชาติไทยของเรา

59 นางสาว ภักจิรา ไชยาวุฒิ รหัสนักศึกษา 53181100228
ผู้จัดทำ นางสาว ภักจิรา ไชยาวุฒิ รหัสนักศึกษา สาขาวิชา สังคมศึกษา กลุ่ม2


ดาวน์โหลด ppt เรื่อง หน้าที่พลเมือง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google