ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่๑ กำเนิดพระพุทธศาสนา
บทที่๑ กำเนิดพระพุทธศาสนา
2
๑.๑ พุทธประวัติ
3
พระพุทธเจ้าคือใคร? พระพุทธเจ้า คือ บุคคลในประวัติศาสตร์
พระพุทธเจ้า คือ บุคคลในประวัติศาสตร์ พระพุทธเจ้า คือ บุคคลผู้สั่งสมความดีมา เป็นเวลายาวนานจนกระทั่ง ถึงจุดสมบูรณ์พร้อมทั้งด้าน ศีล สมาธิ ปัญญา จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
4
ระหว่างการสั่งสมความดี เรียกว่า พระโพธิสัตว์ การสั่งสมความดีของพระโพธิสัตว์ เรียกว่า บำเพ็ญบารมี
บารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ หรือสั่งสมมาเป็นเวลายาวนาคือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
5
พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่?
พระพุทธเจ้ามีอภินิหาร จริงหรือเปล่า? การพิสูจน์ว่าพระพุทธเจ้ามีจริงทำอย่างไร?
6
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อย่างไร?
การตรัสรู้ หมายถึง การรู้ หรือการเห็น หรือการพบความจริงอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ที่เรียกว่ารู้ตามเป็นจริง การรู้/เห็น/พบ ดังกล่าวหมายถึง รู้เห็นด้วยปัญญา ที่เรียกว่า ญาณ อันเป็นผลจากการพัฒนา/อบรมจิต ด้วยกระบวนการที่เรียกว่าสมาธิภาวนา จนจิตบริสุทธิ์สะอาด แล้วเกิดพลังรู้ที่เรียกว่า ญาณ (การหยั่งรู้)
7
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาของพระองค์
จริงหรือไม่?
8
การรู้ด้วยญาณ เป็นการรู้จริงหรือรู้ตามเป็นจริง จึงทำให้กิเลส (สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง) ซึ่งเกิดจากการรู้ผิด หรือรู้ไม่จริงหมดไป การรู้จริง หรือความรู้จริงที่สำคัญที่ทำให้กิเลสหมดไปจากจิต คือ รู้จริงในอริยสัจสี่ ซึ่งเป็นการรู้ความจริงของชีวิต หรือรู้ชีวิตตามเป็นจริง เพราะฉะนั้น จึงเรียกกว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจสี่
9
ทำไมพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญทุกรกิริยา?
10
พุทธลีลาในการประดิษฐานพระพุทธศาสนา?
พระพุทธเจ้านิพพานแล้วไปไหน?
11
๑.๒ วิธีการของพระพุทธเจ้า
12
เริ่มจากพัฒนา หรืออบรมจิตด้วยกระบวนการของสมาธิภาวนา จนจิตสงบนิ่งถึงขั้นที่เรียกว่า ฌาน
เมื่อจิตถึงภาวะที่เรียกว่า ฌาน คือ สงบแนวแน่เป็นเวลาต่อเนื่อง จิตก็บริสุทธิ์ใสสะอาด เกิดพลังรู้ที่เรียกว่า ญาณ (ความสามารถรู้เห็น)
13
ทรงใช้ญาณนั้นมองหรือพิจารณาขันธ์ 5 หรือสังขารร่างนี้ จนเห็นความจริงหรือธรรมชาติของสังขารอย่างแจ่มแจ้งตามเป็นจริง เป็นเหตุให้กิเลส ที่เกิดจากความหลงผิดหรือไม่รู้จริงหมดไป เรียกว่า ตรัสรู้ คือความรู้แจ้งที่ทำให้หมดกิเลส
14
ผู้ที่ตรัสรู้หรือหมดกิเลส เรียกว่า ผู้ถึงนิพพานหรือบรรลุนิพพาน และผู้บรรลุนิพพาน เรียกว่า พุทธะ หรือ อรหันต์ โดยมี 3 ลักษณะ หรือ 3 ประเภท คือ รู้ด้วยตนเองไม่ต้องอาศัยใคร และสั่งสอนผู้อื่นให้รู้ตามเรียกว่า สัมมาสัมพุทธะ รู้ด้วยตนเองไม่ต้องอาศัยใคร แต่ไม่สอนผู้อื่นอย่างเป็นกิจจะลักษณะเรียกว่า ปัจเจกพุทธะ รู้ตามที่ผื่นสอน เรียกว่า สาวกพุทธะ หรือ อนุพุทธะ ลักษณะร่วมของพุทธะทุกประเภทคือเป็นพระอรหันต์ คือ หมดกิเลสเหมือนกัน
15
พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูหรือไม่?
ใครเป็นศาสดาแทนพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานไปแล้ว? ตำแหน่งพระพุทธเจ้าผูกขาดหรือไม่? หนทางสู่ความเป็นพระพุทธเจ้าต้องปฏิบัติอย่างไร?
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.