ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตาม พ. ร. บ
แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ในระบบใหม่ (1 ตุลาคม 2553)
2
วงจรการบริหารผลการปฏิบัติงาน
วางแผน (Plan) ให้รางวัล (Reward) ติดตาม (Monitor) ระบบการบริหารผลการปฏิบัติราชการ ประเมิน (Appraise) พัฒนา (Develop)
3
ทำความเข้าใจกับการบริหารผลการปฏิบัติงาน
1. ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน เป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงาน ผลักดันผลการปฏิบัติงาน และให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การประเมินจะต้องพิจารณาจากอย่างน้อย 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) ผลสัมฤทธิ์ของงานและ (2) สมรรถนะ โดยให้น้ำหนักผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างน้อยร้อยละ 70 การประเมินองค์ประกอบสมรรถนะ จะประกอบด้วยการประเมินสมรรถนะหลักที่สำนักงาน ก.พ. ประกาศ จำนวน 5 ตัว การเลื่อนเงินเดือน ให้พิจารณาจากผลการประเมิน โดยผู้รับการเลื่อนเงินเดือนต้องมีคะแนนการประเมินไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน ฯลฯ
4
การบริหารผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ.
2. แบบฟอร์มฯที่ใช้ จะบังคับเฉพาะ แบบฟอร์มสรุปผลการปฏิบัติราชการ จำนวน 3 แผ่น (ดังแสดงข้างล่าง) โดยแบบฟอร์มการประเมินผลสัมฤทธิ์ และการประเมินสมรรถนะเป็นเอกสารแนบที่ส่วนราชการปรับเปลี่ยนได้ หน้าที่ ๑ หน้าที่ ๒ หน้าที่ ๓
5
การบริหารผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ.
3. วิธีการประเมินมีด้วยกันหลายวิธี ซึ่งผู้ประเมินสามารถเลือกใช้ได้ ตามความเหมาะสม และอาจใช้วิธีอื่นนอกเหนือจากนี้ได้ การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานด้วยตัวชี้วัดจากการ ถ่ายทอดตัวชี้วัดผลสำเร็จของงานจากบนลงล่าง (Goal Cascading Method) การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานด้วยตัวชี้วัดจาการสอบถาม ความคาดหวังของผู้รับบริการ (Customer-Focused Method) การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานด้วยตัวชี้วัดจากการไล่เรียง ตามผังการเคลื่อนของงาน (Work Flow Charting Method) การประเมินสมรรถนะด้วยแนวทาง 360 องศา การประเมินสมรรถนะด้วยวิธีการสังเกตจากพฤติกรรมการแสดงออกที่เห็นเด่นชัด (Critical Incident Technique) เป็นต้น
6
4. การกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย เพื่อการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานอาจปรับเปลี่ยนได้ เมื่องานที่ได้รับมอบหมายเปลี่ยนแปลงไปจากต้นรอบการประเมิน ทั้งนี้ผู้ประเมิน และผู้ถูกประเมิน ควรพิจารณาคัดกรองตัวชี้วัด เพื่อให้ได้จำนวนตัวชี้วัดที่เหมาะสม การสอบถามความคาดหวังของผู้รับบริการ (Customer-Focused Method) การถ่ายทอดตัวชี้วัดผลสำเร็จของงานจากบนลงล่าง (Goal Cascading Method) การไล่เรียงตามผังการเคลื่อนของงาน (Work Flow Charting Method) คัดกรอง ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของผู้รับการประเมิน ณ ต้นรอบการประเมิน เปลี่ยนแปลงได้ ในช่วงระหว่างรอบ การประเมิน ตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ณ ปลายรอบการประเมิน
7
5. รอบการประเมินกำหนดให้ปีละ 2 ครั้ง
- ครั้งที่ 1 (1 ตุลาคม – 31 มีนาคมของปีถัดไป) - ครั้งที่ 2 (1 เมษายน – 30 กันยายนของปีถัดไป) 6. การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติราชการ ให้พิจารณาจากสมรรถนะหลัก 5 ตัวของสำนักงาน ก.พ. ดังนี้ 1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) บริการที่ดี 3) การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 4) จริยธรรม 5) ความร่วมแรงร่วมใจ และสมรรถนะอื่นๆ เพิ่มเติมที่ส่วนราชการกำหนด และสามารถกำหนดมาตรวัดในการประเมินได้ด้วยตนเอง
8
7. ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงเป้าหมายผลการปฏิบัติราชการร่วมกัน(ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย) ตั้งแต่ต้นรอบการประเมิน ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนระหว่างรอบการประเมินได้ หากงานที่ได้รับมอบหมายเปลี่ยนแปลงไป 8. ในระหว่างรอบการประเมิน ผู้บังคับบัญชาต้องติดตามผลการปฏิบัติราชการเป็นระยะ พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในประเด็นต่างๆ เช่น การแก้ปัญหาที่พบในการทำงาน การปรับปรุงตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น 9. ผู้บังคับบัญชา(ผู้ประเมิน) ต้องแจ้งผลการประเมินด้วยตนเอง พร้อมทั้งร่วมกันวางแผนการปฏิบัติราชการในรอบการประเมินถัดไป
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.