งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ก้าวใหม่ที่ท้าทาย หรือ ความฝันที่ไกลเกินจริง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ก้าวใหม่ที่ท้าทาย หรือ ความฝันที่ไกลเกินจริง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ก้าวใหม่ที่ท้าทาย หรือ ความฝันที่ไกลเกินจริง
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ก้าวใหม่ที่ท้าทาย หรือ ความฝันที่ไกลเกินจริง นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์

2 Association of Southeast Asian Nations (ASEAN)
Celebrating ASEAN’s 40th Anniversary “8 August 2007” การจัดตั้งอาเซียน อาเซียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อ สร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น ครบรอบ 40 ปีอาเซียน ปัจจุบันอาเซียนจะครบรอบการดำเนินงาน 40 ปี ในวันที่ 8 สิงหาคม ศกนี้แล้ว ด้วยคำขวัญครบรอบ 40 ปี ที่ว่า “One ASEAN at the Heart of Dynamic Asia” เพื่อแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียนและความเป็นศูนย์กลางของเอเชียซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีพลวัตร

3 การค้าและการลงทุนในอาเซียน
การค้าในอาเซียนขยายตัวอย่างต่อเนื่องภายหลังจากจัดตั้ง AFTA ในปี 1993 มูลค่าการค้าของไทยกับอาเซียนในปี 2006 มีมูลค่า 50,420 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากเดิมในปี 1993 ซึ่งมีมูลค่า 12,525ล้านหรียญสหรัฐฯ FDI ระหว่างอาเซียนมีสัดส่วนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับ FDI ที่มาจากภายนอกภูมิภาค แหล่งที่มาที่สำคัญของ FDI ในอาเซียน ได้แก่ EU US ญี่ปุ่น และไต้หวัน อาฟตา อาเซียนเริ่มจากการรวมกลุ่มแบบหลวมๆ และลดภาษีให้กันแบบ PTA ซึ่งเป็นโครงการเริ่มแรก เพื่อให้สิทธิพิเศษทางการค้าในอาเซียน อย่างไรก็ดี การดำเนินงานไม่สำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากการลดภาษี หรือเปิดตลาดทำในสาขาหรือสินค้าที่ไม่ได้มีการซื้อขายกันจริงๆ จนในปี 2535 เริ่มเกิดแนวคิดของการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งทำการกำหนดรูปแบบและวิธีการลดภาษีระหว่างประเทศสมาชิกอย่างชัดเจน โดยมุ่งหมายสู่การค้าเสรีในภูมิภาค แม้จะมีบางรายการสินค้าที่ยังไม่เปิดตลาด แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อย จากสถิติการค้าในภูมิภาคที่ผ่านมา ภายหลังจากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้นในปี 2536 การค้าในอาเซียนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยมูลค่าการค้าในปี 2536 ที่มีมูลค่าเพียง 82,444 ล้านเหรียญสหรัฐ จนในปี 2547 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 221,865 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในส่วนของไทย การค้ากับอาเซียนได้เพิ่มขึ้นจาก 12,525 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2536 เป็น 50,420 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ความคืบหน้า การดำเนินงาน AFTA มีความคืบหน้าไปมาก อัตราภาษีสินค้าส่วนใหญ่ของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมได้ลดมาอยู่ที่ร้อยละ 0-5 แล้ว และมีเป้าหมายที่จะลดภาษีลงเหลือ 0 ภายในปีค.ศ หรืออีกไม่ถึง 3 ปี ข้างหน้านี้แล้ว การลงทุน การลงทุนระหว่างอาเซียน หรือ intra-ASEAN investment ยังมีสัดส่วนที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับ FDI ที่มาจากภายนอกอาเซียน และด้วยเหตุที่การลงทุนจากภายนอกมีความสำคัญกับอาเซียนมาก อาเซียนจึงจำเป็นต้องเร่งสร้างความน่าดึงดูด/ความน่าสนใจในการเข้ามาลงทุนเพื่อแข่งกับจีนและอินเดีย ประเทศที่เป็นแหล่งที่มาของ FDI ในอาเซียน ได้แก่ EU US ญี่ปุ่น และไต้หวัน

4 ASEAN Economic Community
AEC Single Market and Production base characteristic objective To create a stable, prosperous and highly competitive ASEAN economic region as outlined in Bali Concord II Free flow of goods services, investment, and skilled labour ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปัจจุบัน อาเซียนได้ให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ภายในปีค.ศ โดยมีเป้าหมายให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี ตามเจตนารมณ์ของผู้นำอาเซียนที่ได้ประกาศไว้ภายใต้แถลงการณ์บาหลี ฉบับที่ 2 (Bali Concord II) เมื่อปี 2546 ความจำเป็นที่อาเซียนต้องเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในก็เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอาเซียนเอง และเพื่อสร้างให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางภายในภูมิภาค คานอำนาจของประเทศอื่นๆ ภายในภูมิภาคที่มีบทบาทโดดเด่นอย่างเช่น จีน และอินเดีย แนวคิดที่ว่าอาเซียนจะกลายเป็นเขตการผลิตเดียว ตลาดเดียว หรือ Single market and production base นั่นหมายถึง จะต้องมีการเคลื่อนย้ายปัจจับการผลิตได้อย่างเสรี สามารถดำเนินกระบวนการผลิตที่ไหนก็ได้ โดยสามารถใช้ทรัพยากรจากแต่ละประเทศทั้งวัตถุดิบและแรงงานมาร่วมในการผลิต มีมาตรฐานสินค้า กฎเกณฑ์ กฎระเบียบเดียวกัน Freer flow of capital

5 พิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint)
อาเซียนอยู่ระหว่างจัดทำ Blueprint หรือพิมพ์เขียวเพื่อเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้เป็นรูปธรรมในปีค.ศ โดยพิมพ์เขียวนี้จะเป็นแผนงานในภาพรวม ระบุกิจกรรมด้านเศรษฐกิจที่ครอบคลุมการดำเนินงานในด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุนที่เสรีมากขึ้น โดยจะเสนอพิมพ์เขียวดังกล่าวให้ผู้นำอาเซียนพิจารณาในช่วงการประชุม 13th ASEAN Summit ในเดือนพฤศจิกายน 2550 ที่สิงคโปร์ ในการดำเนินงานตามพิมพ์เขียวสามารถกำหนดให้มีความยืดหยุ่นในแต่ละเรื่องไว้ล่วงหน้าได้ (pre-agreed flexibilities) ตามปล่องไฟของบ้านที่เห็น แต่เมื่อตกลงกันได้แล้ว ประเทศสมาชิกจะต้องยึดถือและปฏิบัติตามพันธกรณีที่ได้ตกลงกันอย่างเคร่งครัดด้วย นัยของ AEC Blueprint การจัดทำ AEC Blueprint จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานและอาจมีความจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายภายในเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ตกลงกัน ในส่วนของไทย กระทรวงพาณิชย์ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการไปสู่ AEC โดยการจัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 40 หน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ภายใต้ AEC Blueprint ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถจัดประชุมคณะอนุกรรมการนัดแรกได้ภายในเดือนกรกฎาคม ศกนี้

6 การจัดทำแผนงานเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(AEC Blueprint) ทำไมต้องจัดทำ AEC Blueprint ? เพื่อกำหนดทิศทาง/แผนงานในด้านเศรษฐกิจที่จะต้องดำเนินงานให้ชัดเจนตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด จนบรรลุเป้าหมาย AEC ในปี ค.ศ. 2015 สร้างพันธสัญญาระหว่างประเทศสมาชิกที่จะดำเนินการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวร่วมกัน แผนงานสำคัญภายใต้ AEC Blueprint เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ใน 4 ด้าน Single Market and production base High competitive economic region Equitable economic development Fully Integrated into global economy แผนงานสำคัญภายใต้ AEC Blueprint แผนงานภายใต้ AEC Blueprint จะมุ่งดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ 1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม 2) การสร้างขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ 3) สร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และ 4) สร้างการรวมตัวเข้ากับประชาคมโลก นอกจากนี้ ยังจะต้องสร้างกลไกเพื่อการประสานงานระหว่าง ASEAN Bodies/Committee ให้มีประสิทธิภาพ โดยการจัดตั้งเวทีประชุมหารือระหว่างรัฐมนตรีอาเซียนในทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคเอกชน เพื่อ monitor และติดตามการดำเนินงานในภาพรวมให้เป็นไปตามเป้าหมาย แผนงานที่จะส่งเสริมการ เคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงาน และ เงินทุนที่เสรี โดยลด อุปสรรคในด้านต่างๆ แผนงานที่จะส่งขีดความ สามารถในด้านต่างๆ อาทิ นโยบายการแข่งขัน ทรัพย์สินทางปัญญา e-commerce ฯลฯ แผนงานที่จะส่งเสริมการ รวมกลุ่มของประเทศสมาชิก และลดช่องว่าง/ความ แตกต่างของระดับการพัฒนา ระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่ แผนงานที่จะส่งเสริมการ รวมกลุ่มเข้ากับประชาคมโลก โดยการปรับประสานนโยบาย ในระดับภูมิภาคและสร้าง เครือข่ายการผลิต/จำหน่าย

7 การยกร่างกฎบัตรอาเซียน
(ASEAN Charter) ทำไมต้องจัดทำ ASEAN Charter ? เพื่อสร้างอาเซียนให้มีฐานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ (International Organization) และมีสถานะทางกฎหมายอย่างสมบูรณ์ เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ได้อย่างเป็นรูปธรรม ประเด็นพิจารณาสำคัญ เป้าหมายของอาเซียน ในระยะยาว กลไกด้านสถาบัน/ กลไกการดำเนินงาน กระบวนการ ยุติข้อพิพาท ความสำคัญของกฎบัตรอาเซียน การรวมตัวกันของอาเซียนต้องมีข้อผูกพันทางกฎหมาย ไม่ใช่ตกลงกันแล้วไม่ทำในลักษณะ ASEAN Way แบบที่ผ่านๆ มา ซึ่งไม่เหมือนกับภูมิภาคอื่นที่มีระบบ Dispute Settlement ที่เข้มแข็ง ในประเด็นนี้ อาเซียนจำเป็นต้องเร่งแก้ไข ด้วยเหตุนี้ ผู้นำจึงได้มีดำริให้จัดทำ “ASEAN Charter” ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญการปกครองของอาเซียน และการจัดทำ ASEAN Charter นี้จะมีส่วนทำให้เศรษฐกิจ/สังคมของไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก และอาจจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมาย/กฎเกณฑ์ภายในประเทศให้สอดคล้องด้วย ASEAN Charter จะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ความั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) “รวม 10 ประเทศมาอยู่ในชุมชนเดียวกัน” นัยของกฎบัตรอาเซียน อาเซียนจะเปลี่ยนจาก “สมาคม” เป็นองค์กรระหว่างประเทศ “inter governmental organization” มีข้อผูกพันระหว่างรัฐบาลของสมาชิก ซึ่งจะมีความแนบแน่นกันมากขึ้น และเลขาธิการอาเซียนก็จะได้รับการปรับให้มีบทบาทที่สามารถพูดแทนอาเซียนได้ในระดับหนึ่งมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน - โครงสร้างองค์กร รูปแบบ/กระบวนการตัดสินใจ - การลดช่องว่างระหว่าง ประเทศสมาชิก - ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม - กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิก บทลงโทษ กระบวนการชดเชย

8 โอกาสของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
สร้างตลาดขนาดใหญ่ ส่งเสริมแหล่งวัตถุดิบ เพิ่มอำนาจการต่อรอง - ประชากรกว่า 550 ล้านคน - ใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ในภูมิภาค - สร้างความได้เปรียบในการ แข่งขัน - ส่งเสริม competitive advantage - การสร้างท่าทีร่วมในระดับ ภูมิภาค - สร้างความน่าสนใจและ ดึงดูดการค้า/การลงทุน - สร้างพันธมิตรร่วมในด้าน เศรษฐกิจทั้งในระดับภูมิภาค และอนุภูมิภาค การค้าของไทยกับอาเซียน ปี 2549 - ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลาง ของอาเซียน A S E N กลุ่มที่มีความถนัดด้าน เทคโนโลยี Exp. ตลาดส่งออกอันดับ 1 มูลค่า 27,040 mil. US$ โอกาสของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวในด้านการค้าและการลงทุนอันเนื่องมาจากการลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด ทั้งด้านมาตรการภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน นอกจากนี้ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจจะทำให้เกิดตลาดในภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรี โดยการใช้ competitive advantage ของแต่ละประเทศ และที่สำคัญจะช่วยสร้างอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีต่างๆ ให้มากขึ้น ดังนั้น จึงนับเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะต้องเร่งปรับตัวและใช้โอกาสจากการลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนต่างๆ ลง ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีความพร้อมและมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง อย่างเช่น สาขาผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสาขาบริการ อาทิ สาขาการท่องเที่ยว การบริการสาขาสุขภาพ และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสาขาต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นสาขาที่อาเซียนจะเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจให้เห็นผลเป็นรูปธรรมภายในปีค.ศ. 2010 A S E N WTO กลุ่มที่มีฐานการผลิต Regional Coop. Imp. แหล่งนำเข้าลำดับสอง รองจากญี่ปุ่น มูลค่า 23,379 mil. US$ กลุ่มที่มีวัตถุดิบและ แรงงาน FTA partners

9 AEC ความฝัน หรือ ความจริง
ปัจจัยสำคัญ : 1. การยึดมั่นในพันธกรณีของแต่ละประเทศ 2. การสร้างสังคมกฎระเบียบ (Rule base society) 3. การคำนึงถึงประโยชน์ระดับภูมิภาคร่วมกัน (Regional interest) 4. การเข้ามามีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน AEC ความฝัน หรือ ความจริง จากที่กล่าวมาทั้งหมด และด้วยความพยายามต่างๆ ของอาเซียน การไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคงไม่ใช่ความฝันที่ไกลเกินจริง แต่ประเด็นสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถมุ่งไปสู่ความฝันนั้นได้ ก็คือ 1. การยึดมั่นในพันธกรณีของแต่ละประเทศ ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ อย่างเคร่งครัดและจริงจังไม่มีการเบี้ยวหรือชะลอการดำเนินงานจากที่ได้ตกลงกันไว้ 2. การสร้างสังคมกฎระเบียบให้เกิดขึ้นในอาเซียน (Rule base society) ยึดกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ เป็นกลไกการดำเนินงาน โดยการสร้างกลไกการระงับข้อพิพาท (dispute settlement) ที่เข้มแข็ง แทนที่จะใช้วิธีการแบบ ASEAN Way แบบที่ผ่านๆ มา ซึ่งนับเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือในประชาคมโลก 3. การคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมระดับภูมิภาค เพื่อให้การรวมกลุ่มของอาเซียนเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จำเป็นที่แต่ละประเทศจะต้องยอมสละผลประโยชน์บางส่วนของตน เพื่อประโยชน์ในกรอบใหญ่ร่วมกัน เช่น ถ้าไทยเจรจาแล้ว ผลประโยชน์ของเราไปขัดขวางอีก 9 ประเทศ เราก็ต้องยอมเสียสละผลประโยชน์ของเรา เพื่อให้กรอบใหญ่สามารถดำเนินการต่อไปได้ 4. การเข้ามามีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ภาคประชาชน นักวิชาการ ฯลฯ จำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมและสร้างจิตสำนึกความเป็นหนึ่งเดียวกันในระดับภูมิภาคให้เกิดขึ้น ซึ่งประเด็นนี้ จำเป็นต้องใช้เวลาและการปลูกฝังเพื่อให้เกิดค่านิยมที่ดีร่วมกัน อันจะส่งผล ให้การรวมกลุ่มเป็นไปยั่งยืนและมั่นคง

10 ความท้าทาย/แนวทางการปรับตัวจากการรวมกลุ่ม ทางเศรษฐกิจ
ภาคเอกชน ภาครัฐ เร่งศึกษากฎเกณฑ์/ข้อตกลง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ - ใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลง ต่างๆ อย่างเต็มที่ - สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ - ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ ให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง - เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน กับภาครัฐอย่างใกล้ชิด กำหนดทิศทางนโยบายด้าน เศรษฐกิจที่ชัดเจน เผยแพร่ความรู้/ความคืบหน้าการ ดำเนินงานให้ภาคเอกชนรับทราบ - ส่งเสริมมาตรการป้องกันฉุกเฉินและ มีระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มี ประสิทธิภาพ - จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับ ผลกระทบ ความสำคัญของการปรับตัว ท้ายที่สุดทุกท่านคงจะต้องก้าวไปสู่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งมากขึ้น ภาคเอกชนคงต้องเร่งศึกษากฎเกณฑ์/ข้อตกลงต่างๆ ให้เข้าใจเพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ รวมถึงการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ (business partner) ภาครัฐเองก็จำเป็นต้องกำหนดทิศทางนโยบายด้านเศรษฐกิจที่ชัดเจน และเตรียมมาตรการรองรับที่เหมาะสม เพื่อให้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นประโยชน์และเกิดผลกระทบต่อไทยน้อยที่สุด

11 Thank you

12 การค้าภายในมิภาคของอาเซียน

13 การค้าของไทยกับอาเซียน

14 สถิติการลงทุนภายในของอาเซียน

15

16


ดาวน์โหลด ppt ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ก้าวใหม่ที่ท้าทาย หรือ ความฝันที่ไกลเกินจริง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google