งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ความหมายของประชาธิปไตย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ความหมายของประชาธิปไตย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ความหมายของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย หมายถึง ระบอบการปกครองที่อำนาจมาจากประชาชน การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น คือ การปกครองที่อำนาจสูงสุดในประเทศ หรือ ที่มักเรียกกันว่า “อำนาจอธิปไตย” มาจากราษฎร ราษฎรทุกคนเป็นผู้ใช้อำนาจนี้ การใช้อำนาจอธิปไตยของราษฎรตามระบอบประชาธิปไตย แบ่งออกได้เป็น 3 แบบด้วยกัน คือ ราษฎรใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรง โดยทางผู้แทน ราษฏรใช้อำนาจอธิปไตยกึ่งโดยตรง ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

2 เมื่อเราพูดถึงคำว่า “ประชาธิปไตย” นั้นไม่ได้หมายถึง การเมืองอย่างเดียว แต่ต้องเป็นประชาธิปไตย ไปทั้งหมด ทั้งการเมืองเศรษฐกิจ และสังคม ต้องไม่มองเฉพาะด้านอุดมการณ์แต่ต้องมองในด้านให้มาเป็นวิถีชีวิตเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ประชาธิปไตยย่อมเรียนรู้ได้ด้วยการกระทำ

3 ปัจจุบัน ระบอบการเมืองการปกครองของไทย กลายเป็นระบอบการเมือง ของกลุ่มผลประโยชน์ โดยกลุ่มผลประโยชน์ทุกอย่าง ในระบอบการเมืองล้วนแต่ใช้เงิน ทำให้เกิดการเมือง ในระบอบธนาธิปไตย

4 ธนาธิปไตย ธนาธิปไตย คือ ระบบการเมืองการปกครองที่อำนาจรัฐตกอยู่ในกำมือของกลุ่มคนมีเงิน และกลุ่มก็ใช้เงินเป็นปัจจัยในการเข้าสู่อำนาจรัฐและใช้อำนาจนั้นในการหาผลประโยชน์ การเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยแต่เพียงรูปแบบแต่เนื้อแท้ก็คือ ธนาธิปไตย ซึ่งเป็นการเมืองเพื่ออำนาจ ผลประโยชน์ และอภิสิทธิ์ของกลุ่มคนที่มีอำนาจการเมือง

5 เหตุที่ธนาธิปไตยเข้ามาในการเมืองไทยได้เพราะโครงสร้างประชาธิปไตยไม่เข้มแข็ง การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นมีส่วนประกอบสำคัญ คือ จะต้องมีโครงสร้างหลักซึ่งได้แก่ 1. รัฐธรรมนูญ 2. รัฐสภา 3. พรรคการเมือง 4. รัฐบาล

6 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วจำนวน 18 ฉบับ ฉบับปัจจุบันที่ใช้อยู่ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มี 309 มาตรา แบ่งออกเป็นทั้งหมด 15 หมวด และบทเฉพาะกาล รัฐธรรมนูญเป็นเพียงเอกสาร ถึงแม้จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญกันไปกี่ครั้งก็ตาม แต่ถ้าพฤติกรรมของนักการเมืองยังเหมือนเดิม การแก้รัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถช่วยพัฒนาการเมืองไทยได้ รัฐธรรมนูญ

7 ผังการบริหารราชการแผ่นดินของไทยแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น 3 อำนาจหลัก คือ
1. อำนาจนิติบัญญัติ (ใช้อำนาจผ่านรัฐสภามีหน้าที่บัญญัติกฏหมายมีสมาชิกจำนวน 650 คน)( คน) 2. อำนาจบริหาร (ใช้อำนาจผ่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี จำนวน 36 คน) 3. อำนาจตุลาการ (ดำเนินการผ่านทางศาลภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์)

8 ในส่วนของอำนาจบริหารยังแบ่งออกเป็น
1. อำนาจบริหารส่วนกลาง ( กระทรวง กรม และหน่วยงานต่างๆ ) 2. อำนาจบริหารส่วนภูมิภาค (จังหวัด อำเภอ) 3. อำนาจบริหารส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล อบต. กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา)

9 รัฐสภา รัฐสภาของไทยประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) มีสมาชิกจำนวน 500 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และ สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) มีสมาชิกจำนวน 150 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี หน้าที่หลักของ ส.ส. และ ส.ว. คือ การทำหน้าที่นิติบัญญัติ (บัญญัติกฎหมาย) และการลงพื้นที่เพื่อดูแลความทุกข์สุขของประชาชน และหาแนวทางแก้ไขเมื่อพบปัญหา

10 พรรคการเมือง พรรคการเมือง คือ กลุ่มของคนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองในเรื่องใหญ่ๆ คล้ายคลึงกัน รวมกันขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อต้องการนำอุดมการณ์และนโยบายนั้นไปบริหารประเทศเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมือง ในปัจจุบันมีพรรคการเมืองที่จดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จำนวน 49 พรรคการเมือง(ณ วันที่ 18/3/54)

11 พรรคการเมือง ถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญต่อการเลือกตั้งและต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ทั้งนี้หากพรรคการเมืองได้แสดงบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างสมบูรณ์จะส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในการปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

12 หลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง จะมีการเรียกประชุมรัฐสภา เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นายกรัฐมนตรี ต้องเป็น ส.ส. ซึ่งได้รับการเลือกตั้ง พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรี อื่นอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปี มิได้

13 ถ้าคณะรัฐบาลทุจริต หรือกระทำผิดด้วยเหตุใดๆก็ตามก็ จะต้องแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการทางรัฐสภาเท่านั้น คือ การลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีทางเลือก 2 ทาง คือ ลาออกและหานายกใหม่ในสภา หรือ ยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันยุบสภา ไม่ควรใช้วิธีการเป็น MOBโดยชุมนุมอย่างไม่สงบและทำความเสียหายให้กับประเทศชาติ

14 สิ่งที่ทุกคนต้องระมัดระวัง คือ เราจะต้องไม่ทำให้ประเทศไทยของเรากลายเป็น รัฐที่ล้มเหลว (Failed State) ตามความหมายขององค์การสหประชาชาติ รัฐที่ล้มเหลว หมายถึง รัฐ หรือ ประเทศที่แม้จะมีรัฐบาลแต่ไม่สามารถบริหารหรือปกครองประเทศได้ อาจเป็นเพราะเกิดความแตกแยก หรือ ขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคม บางประเทศถึงกับมีการสู้รบกลายเป็นสงครามกลางเมือง

15 เราต้องร่วมมือร่วมใจกันเพื่อธำรงไว้ ซึ่งการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้ยั่งยืนสถาพรตลอดไป


ดาวน์โหลด ppt การเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ความหมายของประชาธิปไตย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google