ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ชื่อกลุ่ม เติมใจให้กัน........
ชื่อกลุ่ม เติมใจให้กัน หน่วยงาน...... โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2
สร้างงานที่มีคุณภาพตามความต้องการของแผนกที่เกี่ยวข้อง
ชื่อโครงการที่พัฒนา สร้างงานที่มีคุณภาพตามความต้องการของแผนกที่เกี่ยวข้อง
3
หน้าที่หลักของแผนกพิมพ์
พิมพ์งานให้ผู้รับบริการได้ทั้งระบบออฟเซ็ท และระบบดิจิทัล สามารถพิมพ์งาน 4 สี และงาน 1 สีได้ ตามความต้องการของผู้รับบริการ เช่นงานหนังสือเล่ม, งานโปสเตอร์ , แผ่นพับ, ใบเสร็จที่มีตัวเลข สามารถพิมพ์งานที่ใช้หมึกจากถั่วเหลืองและกระดาษ Recycle เยื่อเวียนใหม่ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมได้ดี
4
ที่มา/มูลเหตุจูงใจของโครงการ
ในปัจจุบันการพิมพ์งานที่มีคุณภาพ และถูกต้องตามความต้องการของผู้รับบริการและแผนกที่เกี่ยวข้อง เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำงาน ซึ่งปัญหาที่ผ่านมาคือ แผนกพิมพ์ พิมพ์งานไม่ได้คุณภาพตามที่ผู้รับบริการต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานพิมพ์ปก 4 สี เช่น งานพิมพ์สีไม่สม่ำเสมอ มีภาพซ้อน มีหน้าขาว มีหมึกซับหลัง หรือจำนวนไม่ครบถ้วน แผนกพิมพ์จึงแก้ปัญหาโดยการเผื่อเสียจำนวนมาก เพื่อที่จะเผื่อคัดของดี ขั้นสุดท้ายแล้วจะได้งานพิมพ์ที่ครบจำนวน ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการทำงานของแผนกที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพื่อให้งานที่ออกมาจากแผนกพิมพ์มีคุณภาพและลดต้นทุนกระดาษและเวลาที่เสียไป ทางกลุ่มจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยเฉพาะงานปกพิมพ์ 4 สี เพื่อพัฒนางานสร้างงานให้มีคุณภาพ เป็นที่พึงพอใจแก่ผู้รับบริการในอนาคต
5
เป้าหมายและตัวชี้วัด
เนื่องจากลักษณะงานพิมพ์ปก 4 สี มีจำนวนหลากหลาย เริ่มตั้งแต่ 100 ปก ขึ้นไป เพราะฉะนั้นการพิมพ์งานดังกล่าวจึงมีการเผื่อเสียเปอร์เซ็นต์ต่างกันตามปริมาณงานพิมพ์ งานพิมพ์จำนวนน้อยจะมีเปอร์เซ็นต์การเผื่อเสียสูงกว่างานพิมพ์จำนวนมาก เช่น จำนวน 500 แผ่น เผื่อเสีย 200 แผ่น เท่ากับ 40 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 3,000 แผ่น เผื่อเสีย 300 แผ่น เท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เพื่อให้ปริมาณงานการเผื่อเสียกระดาษในงานพิมพ์ปก 4 สีเป็นไปอย่างเหมาะสม ไม่ให้มีงานพิมพ์ที่มีคุณภาพมากเกินความจำเป็นและเพื่อลดต้นทุนกระดาษที่เผื่อเสีย จึงได้ตั้งเป้าหมายและกำหนดตัวชี้วัด ดังนี้
6
เป้าหมายและตัวชี้วัด
เป้าหมาย คือ จะลดเปอร์เซ็นต์กระดาษที่เผื่อเสียลงไม่ให้เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ สำหรับงานพิมพ์ปก 4 สี ตัวชี้วัด คือ เปอร์เซ็นต์จำนวนกระดาษที่เผื่อเสีย
7
การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (แผนภูมิก้างปลา)
8
สรุปผลการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
1. บุคลากร ขาดความรับผิดชอบและทำงานจากประสบการณ์ ไม่ได้เรียนจบโดยตรง 2. เอกสารข้อมูล ใบสั่งงาน ระบุข้อมูลไม่ครบถ้วน + ไม่ถูกต้อง 3. วิธีการ/ขบวนการ การสื่อสารและการประสานงานไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 4. วัสดุ + อุปกรณ์การพิมพ์ กระดาษ หมึกพิมพ์ น้ำยา แม่พิมพ์ ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร
9
สรุปการแก้ไขปรับปรุงที่ได้ดำเนินการ
1. นัดประชุมชี้แจงช่างพิมพ์งาน 4 สี ให้ทราบถึงมาตรการปรับลดจำนวนกระดาษเผื่อเสีย 2. เพิ่มการสุ่มตรวจสอบระหว่างพิมพ์ จากทุก 20 แผ่น เป็นทุก ๆ 10 แผ่น 3. หัวหน้างานสลับกันติดตามการตรวจสอบคุณภาพการพิมพ์
10
ผลลัพธ์ก่อนปรับปรุง ข้อมูลย้อนหลัง 3 เดือน (เมษายน – มิถุนายน 2554)
สูตรในการคำนวณ = จำนวนเผื่อเสีย จำนวนกระดาษที่ลงแท่นพิมพ์ = 35,450 174,026 = % X 100 X 100
11
ผลลัพธ์หลังปรับปรุง ข้อมูลหลังการปรับปรุง 3 เดือน (กรกฎาคม – กันยายน 2554) สูตรในการคำนวณ = จำนวนเผื่อเสีย จำนวนกระดาษที่ลงแท่นพิมพ์ = 26,360 156,656 = % X 100 X 100
12
ผลลัพธ์การดำเนินการ จำนวนกระดาษ เดือน
13
ผลลัพธ์การดำเนินการ เดือน ปริมาณงานที่สั่งพิมพ์ 51,400 109,003 127,220
177,770 166,410 35,490 จำนวนงานทั้งหมด 36 33 54 35 44
14
ผลสรุป สามารถลดจำนวนเผื่อเสียได้น้อยลง คือ จากเดิม 20.37% เหลือ 16.83% เท่ากับ ลดลง 3.54% เนื่องจากมีงานที่พิมพ์ในปริมาณน้อยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเดือนกันยายน จึงมีผลทำให้ไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมาย คือ 10% ได้
15
Q & A
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.