งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พ.ศ. ๒๕๕๑ โดย นายนพดล เพชรสว่าง ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ๔ สำนักงาน ป.ป.ท.

2 สาระสำคัญของกฎหมาย ป.ป.ท. กระทำการทุจริตในภาครัฐ
๑. องค์กรดำเนินการ ๒. ขอบเขตอำนาจ คณะกรรมการ ป.ป.ท. เจ้าหน้าที่ของรัฐ สำนักงาน ป.ป.ท. กระทำการทุจริตในภาครัฐ ๓. การไต่สวนข้อเท็จจริง ๔. มาตรการคุ้มครองและสนับสนุนฯ การรับเรื่องไว้ไต่สวนข้อเท็จจริง การคุ้มครองพยาน กระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริง การให้รางวัลหรือประโยชน์อื่นใด การเลื่อนขั้นเงินเดือนและระดับ ตำแหน่งเป็นกรณีพิเศษ การคุ้มครองข้าราชการที่ถูกกลั่นแกล้ง หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม การกันผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการกระทำผิดไว้เป็นพยาน

3 เปรียบเทียบระหว่าง คณะกรรมการป.ป.ช. กับ คณะกรรมการป.ป.ท.
ประเด็นเปรียบเทียบ องค์กร คณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการ ป.ป.ท. ๑.ที่มา รธน. ๒๕๔๐ มาตรา ๓๐๑ (๓) พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. พ.ศ. ๒๕๔๒ พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒.สถานะ องค์กรอิสระ ทำงานอย่างอิสระ ไม่ได้เป็นเครื่องมือ / กลไกฝ่ายบริหาร ๓.ขอบเขต จนท.ของรัฐตั้งแต่ ผู้บริหาร ระดับสูง หรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ผอ.กอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป จนท.ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่ง ต่ำกว่า ผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่ง ต่ำกว่า ผอ.กองลงมา

4 เปรียบเทียบระหว่าง คณะกรรมการป.ป.ช. กับ คณะกรรมการป.ป.ท.
ประเด็นเปรียบเทียบ องค์กร คณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการป.ป.ท. ๔. อำนาจหน้าที่ ตามมาตรา ๒๕๐ ของ รธน. ๒๕๕๐ (๑) ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเกี่ยวกับการถอดถอนออกจากตำแหน่งเสนอต่อวุฒิสภา ตามมาตรา ๒๗๒ และมาตรา ๒๗๙ วรรคสาม (๒) ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามมาตรา ๒๗๕ (๓) ไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม รวมทั้งดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าที่ร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวหรือกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือที่กระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการด้วย ทั้งนี้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (๔) ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงรวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา ๒๕๙ และมาตรา ๒๖๔ (๕) กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามมาตรา ๑๗ ของ กฎหมาย ป.ป.ท. (๔) ไต่สวนและชี้มูลเกี่ยวกับการกระทำการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ (๕) ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งความเห็นส่งพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ

5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๐ (๓) ได้กำหนดกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปกรณีร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม รวมทั้งดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับ ต่ำกว่าที่ร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว หรือกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือที่กระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเห็นสมควรดำเนินการด้วย ทั้งนี้ ตามพระราชพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

6 เหตุผลในการประกาศใช้ พรบ
เหตุผลในการประกาศใช้ พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ คือ โดยที่ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสำคัญและเร่งด่วนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่ยังไม่มีส่วนราชการในส่วนของฝ่ายบริหารที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยตรง ทำให้รัฐบาลไม่สามารถกำกับดูแลและผลักดันเพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์กรอิสระที่มีอำนาจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐมีภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบจำนวนมาก สมควรที่จะมีส่วนราชการในฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบในการดำเนินการด้านนโยบายดังกล่าว และเป็นศูนย์กลางประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในฝ่ายบริหารสามารถดำเนินการในลักษณะบูรณาการและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตรา พรบ. นี้

7 ผู้บริหารระดับสูง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๔
๑. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ๒. ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ๓. กรรมการในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ๔. กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ๕. ผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ๖. หน่วยงานที่ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง และให้หมายความรวมถึงบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลหน่วยงานดังกล่าว ๗. และเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

8 ผู้อำนวยการกอง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๔
หมายความว่า ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไป ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด โดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา

9 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง กำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไป ตาม พ.ร.บ.บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๔ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้แก่ (ก) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ (ข) หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม ซึ่งมีการแบ่งส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ค) หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด (ง) หัวหน้าสำนักงานจังหวัด

10 (จ) หัวหน้าส่วนราชการที่ประจำในต่างประเทศ ที่ปรากฏในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกำหนดให้มีฐานะเป็นกอง หรือเทียบเท่า หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการโครงสร้างบุคลากรของไทยที่ประจำการในต่างประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศในระดับชาติ (ฉ) นายอำเภอ (ช) ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนด ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี (ฝ่ายข้าราชการประจำ) และตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ ตำแหน่งผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ ผู้ปกครองสถานแรกรับเด็ก ผู้ปกครองสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ผู้อำนวยการศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี และผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาสังคมในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

11 (ซ) ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างในกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฌ) ผู้อำนวยการแขวงการทางในกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม (ญ) หัวหน้าสำนักงานที่ดิน (สาขา) ในกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย (ฎ) ผู้อำนวยการวิทยาลัยการสาธารณสุข ตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

12 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง กำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไป ตาม พ.ร.บ.บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๕ ตำแหน่งข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และเมืองพัทยา ได้แก่ (ก) ตำแหน่งประเภทบริหารที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการ ที่เป็นผู้อำนวยการกอง (ข) ผู้อำนวยการสำนัก (ค) หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะตั้งแต่ระดับกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป (ง) ผู้อำนวยการสถานศึกษา

13 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง กำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไป ตาม พ.ร.บ.บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๙ ตำแหน่งข้าราชการตำรวจ ตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติและตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการกำหนดชื่อตำแหน่งข้าราชการตำรวจที่เรียกชื่ออย่างอื่นและการเทียบตำแหน่งข้าราชการตำรวจที่เรียกชื่ออย่างอื่นกับตำแหน่งข้าราชการตำรวจ ได้แก่ (ก) ผู้กำกับการหรือพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นไป (ข) ตำแหน่งข้าราชการตำรวจที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่เทียบกับตำแหน่งที่กำหนดไว้ใน (ก)

14 ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง กำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไป ตาม พ.ร.บ.บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๑๐ ตำแหน่งข้าราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร ประกอบพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการทหาร ได้แก่ ข้าราชการทหารที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทบริหารระดับกลาง ตามกฎหมายว่าด้วยการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการทหารในชั้นยศ พันเอก นาวาเอก หรือนาวาอากาศเอก ที่มีฐานะและหน้าที่ในการบริหาร ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดทหารบก กรม กองพัน กอง หมวดเรือ กองบิน ศูนย์ สำนักงาน สำนัก สถานี ป้อม สถาบัน สถานศึกษา สถานพยาบาล โรงงาน หรือเทียบเท่า

15 ดังนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. จึงได้แก่
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ที่ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูง และ “ข้าราชการ” ที่ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าผู้อำนวยการหรือเทียบเท่าลงมา โดยไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐดังต่อไปนี้ (๑) ผู้บริหารระดับสูง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

16 (๒) ผู้พิพากษาและตุลาการ
(๓) พนักงานอัยการ (๔) ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วย ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกท้องถิ่นขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (๕) เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของศาล รัฐสภา องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระจากการ ควบคุมหรือกำกับของฝ่ายบริหารที่จัดตั้งขึ้นตาม รัฐธรรมนูญ

17 (๖) เจ้าหน้าที่ของรัฐในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(๗) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำความผิดในลักษณะที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด (๘) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งร่วมกระทำความผิดกับบุคคลตาม(๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗)

18 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ท. (มาตรา ๑๗)
(๑) เสนอนโยบาย มาตรการ และแผนพัฒนาการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐต่อ ครม. (๒) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ ครม. เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (๓) เสนอแนะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการกำหนดตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

19 (๔) ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลเกี่ยวกับการกระทำทุจริตภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(๕) ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งความเห็นส่งพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ (๖) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีต่อ ครม. เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบด้วย (๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มอบหมาย (๘) ปฏิบัติการอื่นตาม พ.ร.บ.นี้ หรือการอื่นใดเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ตามที่ ครม. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย

20 ภารกิจด้านการเป็นกลไกของฝ่ายบริหาร ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
สำนักงาน ป.ป.ท. ภารกิจตามกฎหมาย ป.ป.ท. (มาตรา ๕๑) ภารกิจด้านการเป็นกลไกของฝ่ายบริหาร ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน การทุจริตหรือประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้อง - ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในภาครัฐ - งานธุรการของคณะกรรมการ ป.ป.ท. - รวบรวมเผยแพร่ข้อมูลการทุจริต - จัดให้มีหรือให้ความร่วมมือกับองค์กรอื่นในการศึกษาอบรม และพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุจริต - ประสานงาน - ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตกับหน่วยงานอื่นของรัฐ - ความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

21 กรอบในการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น ตามมติของคณะกรรมการ ป. ป
กรอบในการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น ตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ๑. ขอทราบรายละเอียดตามคำกล่าวหาเพิ่มเติม โดยสามารถบันทึกปากคำผู้กล่าวหา หรือบุคคลที่ผู้กล่าวหาอ้างเป็นพยานประกอบคำกล่าวหาได้ ๒. ขอเอกสารที่เกี่ยวข้องจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลใดๆ มาประกอบคำกล่าวหา ๓. ขอทราบข้อเท็จจริงจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ๔. ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นในสถานที่หรือท้องที่ที่เกิดเหตุ หรือที่เกี่ยวข้องกับประเด็นตามคำกล่าวหา โดยไม่บันทึกปากคำพยานบุคคลใดๆ ประกอบสำนวน แต่ให้จัดทำบันทึกการตรวจสอบข้อเท็จจริงไว้เป็นบันทึกฝ่ายเดียว

22 ลักษณะของพฤติการณ์หรือการกระทำ อันเป็นการทุจริตในภาครัฐ
ลักษณะของพฤติการณ์หรือการกระทำ อันเป็นการทุจริตในภาครัฐ พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓ กำหนดไว้ว่า “ทุจริตในภาครัฐ” หมายความว่า ทุจริตต่อหน้าที่ หรือประพฤติมิชอบในภาครัฐ

23 เปรียบเทียบความหมายทุจริตในภาครัฐกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ พรบ. มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑ “โดยทุจริต” หมายความว่าเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น มาตรา ๔ “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น มาตรา ๓ “ทุจริตในภาครัฐ” หมายความว่า ทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติมิชอบในภาครัฐ “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทำการอันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น “ประพฤติมิชอบ” หมายความว่า ใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่มุ่งหมายจะควบคุมดูแลการรับ การเก็บรักษาหรือการใช้เงินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน

24 “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า
มาตรา ๓ “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทำการอันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น

25 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ กำหนดไว้ว่า
ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

26 พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ. ศ. ๒๕๕๑
พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๘๔ การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๑) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต มาตรา ๙๗ ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

27 มาตรา ๓ “ประพฤติมิชอบ” หมายความว่า ใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่มุ่งหมายจะควบคุมดูแลการรับ การเก็บรักษา หรือการใช้เงินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน

28 พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ. ศ. ๒๕๕๑
พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๘๒ ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๒) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติของคณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ มาตรา ๘๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา ๘๑ และมาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย มาตรา ๘๕ การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (๗) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๘๓ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง

29 ตัวอย่าง การกระทำ”ประพฤติมิชอบ”
๑. กรณี เรื่องการทำรายงานเสนอก่อนดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งต้องประกอบด้วย เหตุผล ความจำเป็น รายละเอียดของพัสดุ ราคามาตรฐานหรือราคากลาง วงเงินที่จะจัดหา วิธีการจัดหา และเหตุผลที่ต้องจัดหาด้วยวิธีการนั้นๆ ๒. กรณี เรื่องการเผยแพร่ข่าวการสอบราคา/ ประกวดราคา

30 ๓. กรณี เรื่องการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง เพื่อ
หลีกเลี่ยงวิธีการตามที่ระเบียบฯกำหนด ๔. กรณี เรื่องคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา และผู้มีอำนาจอนุมัติไม่พิจารณาทำสัญญากับผู้เสนอราคาต่ำสุด ๕. กรณี เรื่องตรวจรับพัสดุโดยยังไม่ส่งมอบของและตรวจรับโดยพัสดุนั้นผิดคุณลักษณะที่กำหนดตามสัญญา

31 ๖. กรณี เรื่องการก่อหนี้ผูกพันล่วงหน้าโดยที่ยังไม่ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดหรือการลงนามโดยปราศจากอำนาจ ๗. กรณี เรื่องผู้ควบคุมงานไม่ทำหน้าที่หรือทำหน้าที่บกพร่อง ๘. กรณี เรื่องการสมยอมกันในการเสนอราคา

32 การไต่สวนข้อเท็จจริง
มาตรา ๓ “การไต่สวนข้อเท็จจริง” หมายความว่า แสวงหา รวบรวม และดำเนินการอื่นใดเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการที่จะทราบรายละเอียดและพิสูจน์เกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

33 การรับเรื่องไว้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง
(มาตรา ๒๓) มีการกล่าวหา ตามมาตรา ๒๔ (มาตรา ๒๓(๑)) มีเหตุสงสัย (มาตรา ๒๓(๒)) รับจาก พนักงานสอบสวน ตามมาตรา ๓๐ (มาตรา (๒๓)) รับจาก ป.ป.ช. (มาตรา ๒๓(๔)) - เจ้าหน้าที่บันทึกคำกล่าวหา - ผู้กล่าวหาลงลายมือชื่อ - ไม่เปิดเผยตน ห้ามเจ้าหน้าที่เปิดเผย ด้วยวาจา - ผู้กล่าวหาลงชื่อและที่อยู่ หากไม่ลงชื่อต้องระบุพฤติการณ์และพยานหลักฐาน เบื้องต้น เป็นหนังสือ

34 มาตรา ๒๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการไต่สวนโดยเร็ว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการป.ป.ท. กำหนด (๑) เมื่อได้รับการกล่าวหาตามมาตรา ๒๔ (๒) เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำการทุจริตในภาครัฐ

35 (๓) เมื่อได้รับเรื่องจากพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๓๐
(๔) เมื่อได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง บทบัญญัติตามวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลอื่นเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วย

36 มาตรา ๒๔ การกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ว่ากระทำการหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตในภาครัฐ จะทำด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้ ในกรณีที่กล่าวหาด้วยวาจา ให้พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. บันทึกคำกล่าวหาและจัดให้ลงลายมือชื่อผู้กล่าวหาในบันทึกการกล่าวหานั้นไว้ และในกรณีที่ผู้กล่าวหาไม่ประสงค์จะเปิดเผยตน ห้ามมิให้พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.เปิดเผยชื่อหรือที่อยู่ รวมทั้งหลักฐานอื่นใดที่เป็นการสำแดงตัวของผู้กล่าวหา

37 ในกรณีที่กล่าวหาเป็นหนังสือ ผู้กล่าวหาจะต้องลงชื่อและที่อยู่ของตน แต่หากผู้กล่าวหาจะไม่ลงชื่อและที่อยู่ของตนต้องระบุพฤติการณ์แห่งการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งถูกกล่าวหาและพยานหลักฐานเบื้องต้นไว้ให้เพียงพอที่จะดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้

38 มาตรา ๓๐ ในกรณีที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ อันเนื่องมาจากการกระทำการทุจริตในภาครัฐ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป ในการนี้คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเสียก่อนและส่งสำนวนการสอบสวนให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยคณะกรรมการ ป.ป.ท. จะถือว่าสำนวนการสอบสวนดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ก็ได้

39 มาตรา ๒๕ ให้คณะกรรมการ ป. ป. ท
มาตรา ๒๕ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ส่งเรื่องกล่าวหาที่รับไว้ดังต่อไปนี้ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไป (๑) เรื่องกล่าวหาบุคคลซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (๒) เรื่องกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่ากระทำความผิดร่วมกับบุคคลซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. (๓) เรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งให้ส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณา

40 ในกรณีเรื่องกล่าวหาตาม (๓) ถ้าคณะกรรมการ ป. ป. ท
ในกรณีเรื่องกล่าวหาตาม (๓) ถ้าคณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงไว้แล้ว ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท.ส่งสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะถือสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือจะดำเนินการ ไต่สวนข้อเท็จจริงใหม่ก็ได้

41 มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้คณะกรรมการ ป.ป.ท.
รับหรือพิจารณาเรื่องดังต่อไป (๑) เรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับไว้พิจารณาหรือได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้ว (๒) เรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้ว และไม่มีพยานหลักฐานใหม่ซึ่งเป็นสาระสำคัญของคดี (๓) เรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในประเด็นเดียวกันและศาลประทับฟ้องหรือพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้วโดยไม่มีการถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง หรือเป็นกรณีที่ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดี (๔) เรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนถูกกล่าวหาเกินกว่าห้าปี

42 กระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริง
๑. บุคคลที่ทำหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริง ๒. อำนาจที่ใช้ในการไต่สวนข้อเท็จจริง ๓. ขั้นตอนและวิธีการไต่สวนข้อเท็จจริง

43 บุคคลที่ทำหน้าที่ ไต่สวนข้อเท็จจริง (มาตรา ๓๒)
มอบหมาย พนง.ปปท. / จนท.ปปท. แสวงหาข้อมูล และรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือ มูลความผิด (ก็ได้) คณะกรรมการ ป.ป.ท. ไต่สวนเอง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ไต่สวนแทน โดยคำนึงถึงความเหมาะสม /ระดับ / ตำแหน่ง ของผู้ถูกกล่าวหาด้วย ผู้แทนภาคประชาชน (มาตรา ๓๓) ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญ (มาตรา ๓๔)

44 อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๖๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ อนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ในการดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ อนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท. เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ โดยให้มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนด้วย เว้นแต่อำนาจในการจับและคุมขัง ให้แจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ดำเนินการ

45 อำนาจตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551
๑. มีหนังสือสอบถาม หรือเรียกให้สถาบันการเงิน ส่วนราชการ องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ส่งเจ้าหน้าที่มาชี้แจง หรือส่งเอกสาร รวมทั้งเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจง หรือเอกสารเพื่อประกอบการไต่สวนหรือพิจารณาได้ (ม.๑๘(๑) (๒))

46 ๒. มีอำนาจขอให้ศาลออกหมายค้น (ม.๑๘ (๓))
๓. ขอให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนหรือเข้าร่วมปฏิบัติงาน (ม.๑๘(๔)) ๔. แจ้งให้หน่วยงานใดจัดให้กรรมการหรืออนุกรรมการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับผู้กล่าวหาหรือบุคคลอื่น ที่มีเหตุเกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาได้ เพื่อประโยชน์ในการไต่สวนและการพิจารณา (ม.๑๙)

47 บทกำหนดโทษ มาตรา ๖๒ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐาน หรือไม่ดำเนินการใดๆ ตามมาตรา ๑๘ (๑) และ (๒) โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

48 ขั้นตอนที่สำคัญในการไต่สวนข้อเท็จจริง
๙. การชี้มูลความผิด(มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๔๙) ๑. การแต่งตั้งและแจ้งคำสั่ง ตั้งคณะกรรมการ/ อนุกรรมการฯ ไต่สวนฯ ๘. การมีมติให้หน่วยงานสั่งพักราชการ พักงานหรือให้พ้นจากตำแหน่งไว้ก่อน (มาตรา ๓๗) โปร่งใส รวดเร็ว และเป็นธรรม ๒.การคัดค้านคณะกรรมการ และอนุกรรมการฯ (มาตรา ๒๐ และมาตรา ๓๕) ๗. การจัดทำสำนวนการ ไต่สวนข้อเท็จจริง (มาตรา ๓๙) ๓. การแสวงหา รวบรวม และ การดำเนินการอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และพยานหลักฐาน ๖. การตรวจสอบทรัพย์สิน และหนี้สิน(มาตรา ๔๘) ๕. การแจ้งข้อกล่าวหา (มาตรา ๓๖) ๔. ห้ามล่อลวง ขู่เข็ญ ให้สัญญาเพื่อจูงใจให้ ถ้อยคำ (มาตรา ๓๘)

49 มาตรา ๒๐ ในกรณีที่กรรมการ อนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท.หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.ผู้ใดมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในเรื่องใด คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจมีมติมิให้ผู้นั้นเข้าร่วมดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง พิจารณาหรือวินิจฉัยเรื่องนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ท.กำหนด

50 มาตรา ๓๕ ห้ามมิให้แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีเหตุดังต่อไปนี้เป็นอนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ในการไต่สวนข้อเท็จจริง (๑) รู้เห็นเหตุการณ์หรือเคยสอบสวนหรือพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหา เว้นแต่ในฐานะอื่นที่มิใช่ในฐานะพนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.มาก่อน

51 (๒) มีส่วนได้เสียในเรื่องที่กล่าวหา
(๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหา (๔) เป็นผู้กล่าวหา หรือผู้ถูกกล่าวหา หรือเป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดานหรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดาหรือมารดากับผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหา (๕) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในฐานะญาติหรือเป็นหุ้นส่วนหรือมีผลประโยชน์ร่วมกันหรือขัดแย้งกันทางธุรกิจกับผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหา

52 ผู้มีส่วนได้เสียจะคัดค้านอนุกรรมการ พนักงาน ป. ป. ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป
ผู้มีส่วนได้เสียจะคัดค้านอนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ซึ่งมีเหตุตามวรรคหนึ่งก็ได้ โดยยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. และให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. วินิจฉัยโดยพลัน ในระหว่างที่รอการวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้อนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ซึ่งถูกคัดค้านระงับการปฏิบัติหน้าที่ไว้พลางก่อน

53 มาตรา ๓๘ ห้ามมิให้กรรมการ อนุกรรมการ พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. กระทำการใดๆ อันเป็นการล่อลวงหรือขู่เข็ญ หรือให้สัญญากับผู้ถูกกล่าวหาหรือพยาน เพื่อจูงใจให้ผู้นั้นให้ถ้อยคำใดๆ ในเรื่องที่ไต่สวนข้อเท็จจริง ถ้อยคำใดที่ได้มาโดนฝ่าฝืนวรรคหนึ่งไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

54 ให้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
มาตรา ๓๖ ในการไต่สวนข้อเท็จจริง ให้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และกำหนดระยะเวลาให้มาชี้แจงข้อกล่าวหาพร้อมแสดงพยานหลักฐาน หรือนำพยานบุคคลมาประกอบได้ รวมทั้งมีสิทธินำทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจเข้าฟังได้

55 มาตรา ๔๘ ในการไต่สวนข้อเท็จจริง ถ้าคณะกรรมการ ป. ป. ท
มาตรา ๔๘ ในการไต่สวนข้อเท็จจริง ถ้าคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นควรตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่รัฐผู้ถูกกล่าวหา และเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ขอความร่วมมือจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ส่งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นไว้มาให้ตรวจสอบได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหามิได้เป็นผู้ที่

56 ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้ต่อคณะกรรมการ ป. ป. ช
ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท มีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตามรายการและภายในเวลาที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนดได้ ฯลฯ (มาตรา ๔๘ )

57 มาตรา ๓๙ เมื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเสร็จแล้ว ให้จัดทำสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงเสนอต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด เพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะสั่งให้มีการไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมหรือตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริงใหม่ก็ได้

58 เพื่อพิจารณาวินิจฉัย กรณีที่ผลการไต่สวนฯ ปรากฏว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล
มาตรา ๓๗ ก่อนที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติ ชี้มูล ถ้าเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหายังอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ต่อไปจะเป็นอุปสรรคต่อการไต่สวนฯ สมควรพักราชการ พักงาน หรือให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ ให้คณะกรรมการฯ มีมติส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาของ ผู้กล่าวหาสั่งแล้วแต่กรณี หากผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาไม่เห็นด้วย ให้เสนอเรื่องต่อนายกฯ เพื่อพิจารณาวินิจฉัย กรณีที่ผลการไต่สวนฯ ปรากฏว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้คณะกรรมการฯ แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาฯ ดำเนินการสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการหรือกลับเข้าทำงานตาม กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

59 การชี้มูลความผิดและการดำเนินการอื่น ที่เกี่ยวข้อง
การชี้มูลความผิดและการดำเนินการอื่น ที่เกี่ยวข้อง ๑. กรณีชี้มูลเป็นความผิดทางวินัย ๒. กรณีชี้มูลเป็นความผิดทางอาญา ๓. กรณีเพิกถอนคำสั่งทางการปกครอง ๔. กรณีที่ข้อกล่าวหาไม่มีมูล

60 มาตรา ๔๐ เมื่อคณะกรรมการ ป. ป. ท
มาตรา ๔๐ เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำการทุจริตในภาครัฐ และเป็นกรณีมีมูลทางวินัย ให้ประธานกรรมการส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาผู้นั้น เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ในการพิจารณาโทษทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหา ให้ถือว่ารายงาน

61 เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป. ป. ท
เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นสำนวนการสอบสวนวินัย ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ แล้วแต่กรณี สำหรับผู้ถูกกล่าวหาซึ่งไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับวินัย เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท.มีมติว่า ผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าวได้กระทำผิดในเรื่องที่กล่าวหา ให้ประธานกรรมการ ส่งรายงานและเอกสาร ที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

62 มาตรา ๔๑ เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา ๔๐ ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนพิจารณาลงโทษภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ รับเรื่องและให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนส่งสำเนาคำสั่งลงโทษดังกล่าวไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ออกคำสั่ง

63 มาตรา ๔๒ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ใดละเลยไม่ดำเนินการตามมาตรา ๔๑ ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้นั้นกระทำความผิดวินัยหรือกฎหมายตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ

64 มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูก กล่าวหาไม่ดำเนินการทางวินัยตามมาตรา ๔๑ หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๔๑ ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. เสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควรหรือในกรณีที่จำเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ท. จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วย

65 ระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือคณะกรรมการอื่นซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการ บริหางานบุคคลสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือคณะกรรมการที่ทำหน้าที่บริหารรัฐวิสาหกิจ หรือผู้สั่งแต่งตั้งกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้มีการดำเนินการ ที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไปก็ได้

66 มาตรา ๔๔ ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษตามมาตรา ๔๑ จะใช้สิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษของผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ ก็ได้ ทั้งนี้ ต้องใช้สิทธิดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งดังกล่าว

67 มาตรา ๔๕ ในกรณีที่การกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๔๐ เป็นความผิดทางอาญาด้วย ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ส่งเรื่องพร้อมทั้งสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง รายงาน เอกสารและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีต่อไป โดยให้ถือว่าการดำเนินการและสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นการสอบสวนและสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

68 ในกรณีที่พนักงานอัยการมีความเห็นว่าข้อเท็จจริง รายงาน เอกสาร หรือความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ที่ได้รับยังไม่ สมบูรณ์พอที่จะดำเนินคดีได้ ให้พนักงานอัยการแจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทราบเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติม โดยให้ระบุข้อที่ไม่สมบรูณ์นั้นให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน ในกรณีจำเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ท จะร่วมกับอัยการสูงสุดตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมก็ได้

69 ในกรณีที่พนักงานอัยการเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง
แต่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติยืนยันให้ฟ้อง ให้ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดวินิจฉัย คำวินิจฉัยของอัยการสูงสุดให้เป็นที่สุด บทบัญญัติในมาตรานี้ให้นำมาใช้บังคับในกรณีที่พนักงานอัยการยื่นอุทธรณ์ ฎีกา หรือถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์ ถอนฎีกา โดยอนุโลม

70 มาตรา ๔๖ ในกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องและจำเป็นต้องนำผู้ถูกกล่าวหาไปศาลให้แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหามาพบพนักงานอัยการตามเวลาที่กำหนด และในกรณีมีความจำเป็นต้องจับตัวผู้ถูกกล่าวหา ให้พนักงานอัยการแจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่ผู้ถูกกล่าวหามีภูมิลำเนาหรือที่อยู่เป็นผู้ดำเนินการ

71 และเพื่อการนี้ให้ผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนเจ้าหน้าที่รัฐผู้ถูกกล่าวหา พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดังกล่าว มีอำนาจร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่นั้นให้ออกหมายจับได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติเรื่องการจับ การขังและการปล่อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับ ในกรณีที่มีการจับกุม ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจส่งตัวผู้ถูกจับพร้อมทั้งบันทึกการจับไปยังศาลแล้วแจ้งให้พนักงานอัยการทราบภายใน ๔๘ ชั่วโมง

72 มาตรา ๔๗ กรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นข้าราชการทหาร ในการดำเนินคดีอาญาตามมาตรา ๔๕ ให้พนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องคดี โดยถือเป็นอัยการทหารตามกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลทหารหรือจะมอบหมายให้อัยการทหารเป็นผู้ฟ้องคดีแทนก็ได้

73 มาตรา ๔๙ ในกรณีที่คณะกรรมการ ป. ป. ท
มาตรา ๔๙ ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติว่าข้อกล่าวหาใดมีมูลนอกจากดำเนินการตามมาตรา ๔๐ หรือมาตรา ๔๕ แล้ว หากปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาได้อนุมัติ อนุญาตออกเอกสารสิทธิ ให้สิทธิประโยชน์หรือการสั่งการใดๆ แก่บุคคลใดโดย มิชอบ หรืออาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. แจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการอนุมัติ อนุญาต ออกเอกสารสิทธิ ให้สิทธิประโยชน์ หรือการสั่งการใดๆ นั้น ต่อไปด้วย

74 มาตรา ๕๓ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ สำนักงานอาจจัดให้มีมาตรการคุ้มครองเบื้องต้นสำหรับผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ทำคำร้อง ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ให้ถ้อยคำหรือผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือข้อมูลใดเกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐ หรือข้อมูลอื่นอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด

75 มาตรา ๕๔ ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นว่า
คดีใดสมควรให้จัดให้มีมาตรการคุ้มครองช่วยเหลือแก่บุคคลตามมาตรา ๕๓ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้มีมาตรการในการคุ้มครองบุคคลดังกล่าว โดยให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นพยานที่มีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. เสนอความเห็นด้วยว่าสมควรใช้มาตรการทั่วไป หรือมาตรการพิเศษตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญาสำหรับบุคคลดังกล่าวด้วย

76 ในกรณีเกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย ชื่อเสียง ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือสามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลดังกล่าว เพราะมีการกระทำผิดอาญาโดยเจตนา เนื่องจากการดำเนินการหรือการให้ถ้อยคำ หรือแจ้งเบาะแส หรือข้อมูลต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้บุคคลนั้นมีสิทธิยื่นคำร้องต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อขอรับค่าตอบแทนเท่าที่จำเป็นและสมควรตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญาด้วย

77 มาตรา ๕๕ คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจจัดให้มีรางวัลตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใดแก่บุคคลตามมาตรา๕๓ตามระเบียบที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด

78 มาตรา ๕๖ ในกรณีบุคคลตามมาตรา ๕๓ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นว่าการดำเนินการหรือให้ถ้อยคำ หรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลของบุคคลดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างยิ่ง และสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนโดยทั่วไป คณะกรรมการ ป.ป.ท. อาจเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน และระดับตำแหน่งให้แก่บุคคลนั้นเป็นกรณีพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

79 มาตรา ๕๗ ในกรณีบุคคลตามมาตรา๕๓เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเมื่อบุคคลนั้นร้องขอต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ว่า หากยังคงปฏิบัติหน้าที่ในสังกัดเดิมต่อไป อาจถูกกลั่นแกล้งหรือได้รับการปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม อันเนื่องจากการกล่าวหาหรือการให้ถ้อยคำ หรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลนั้นและคณะกรรมการ ป.ป.ท. พิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าน่าจะมีเหตุดังกล่าว ให้เสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการให้ได้รับความคุ้มครองหรือมีมาตรการอื่นใดตามที่เห็นสมควรต่อไป

80 มาตรา ๕๘ บุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหารายใดซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็น
ผู้ถูกกล่าวหารายอื่น หากได้ให้ถ้อยคำหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญในการที่จะใช้เป็นพยานในการวินิจฉัยชี้มูลการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐรายอื่นนั้น หากคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นสมควรจะกันผู้นั้นไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดีก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด


ดาวน์โหลด ppt พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google