ผู้วิจัย สิริภิญญ์ อินทรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ ปีการศึกษา 2556 อิทธิพลของสื่อที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชน ในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัย สิริภิญญ์ อินทรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ ปีการศึกษา 2556
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของสื่อ ปัจจัยส่วนบุคคลของเด็กและเยาวชน และปัจจัยแวดล้อมด้านสื่อของเด็กและเยาวชนที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร
ผลจากปัจจัยส่วนบุคคล ของเด็กและเยาวชน
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 210 คน ด้านอายุ แบ่งออกเป็น 3 ช่วงอายุในสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ อายุ 10-12 ปี อายุ 13-15 ปี และอายุ 16-18 ปี ด้านพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือสิ่งเสพติด พบว่า กลุ่มตัวอย่างไม่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับอบายมุขและสิ่งเสพติด แต่มีบางส่วนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับอบายมุขและสิ่งเสพติด โดยพฤติกรรมเริ่มแรก คือ ดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม ของแอลกอฮอล์ รองลงมา คือ สูบบุหรี่ และเล่นการพนัน
ผลที่เกิดจากอิทธิพลของสื่อ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ความรุนแรงของเด็กและเยาวชน
ด้านพฤติกรรมการเข้าชมสื่อแต่ละประเภทของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกคนเข้าถึงประโยชน์อันดับแรก คือ โทรทัศน์ รองลงมา คือ อินเทอร์เน็ตและภาพยนตร์ ด้านเวลาที่เข้าชมสื่อแต่ละประเภทในหนึ่งวัน พบว่า สื่อที่เข้าชมมาก ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ เกมส์คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนที่มีการชมน้อยที่สุด คือ วิทยุและหนังสือพิมพ์ ความรุนแรงที่อยู่ในสื่อ ด้านภาพที่รุนแรง พบว่า มีภาพความรุนแรงที่ทำให้เกิดความตกใจ สะเทือนอารมณ์ รองลงมา คือ โทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต สื่อดังกล่าวอาจมีเนื้อหาที่รุนแรงส่งผลต่อความรู้สึกโกรธ เกลียด แค้น หรือเศร้าเสียใจ สื่อที่รุนแรงอันดับแรก คือ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และหนังสือพิมพ์
ผลที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมด้านสื่อ ของเด็กและเยาวชน
สื่อบุคคลภายในครอบครัว พบว่า บางกลุ่มตัวอย่างที่มีการใช้ ความรุนแรงในลักษณะการใช้ภาษาที่รุนแรง เช่นการใช้ถ่อยคำที่รุนแรง การบังคับขู่เข็ญ รองลงมา คือ ตนเองถูกทำร้ายโดยบุคคลในครอบครัว เช่น ทุบตี ตบ เตะ และมีบุคคลในครอบครัวล่วงละเมิดทางเพศ สื่อบุคคลภายนอกครอบครัว พบว่า พฤติกรรมของกลุ่มเพื่อนฝูง ที่มีพฤติกรรมความรุนแรงทางวาจา เช่น พูดจาเยาะเย้ย ดูหมิ่น และพฤติกรรมความรุนแรงทางกาย เช่นต่อย ตบ ตี และยกพวกตีกัน สถานการณ์ในชุมชน เช่น ยาเสพติด รองลงมา คือ ปัญหาอาชญากรรม เช่นการลักเล็กขโมยน้อย และคนในชุมชนไม่สัมพันธ์กัน
พฤติกรรมความรุนแรงของเด็ก และเยาวชน
พฤติกรรมความรุนแรงที่แสดงออกทางวาจา พบว่า มากที่สุด คือ การพูดจาเยาะเย้ย ดูหมิ่น ถากถางผู้อื่น รองลงมา คือ การใช้คำพูดลักษณะมุ่งร้ายทำให้ผู้อื่นบอบช้ำทางด้านจิตใจ พฤติกรรมความรุนแรงที่แสดงออกทางกาย พบว่า มากที่สุด คือ การเตะ ถีบผู้อื่น รองลงมา คือ ตบ ตี หรือการแข่งรถในที่สาธารณะ แนวโน้มที่เกิดจากความรุนแรงในอนาคต พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่แสดงพฤติกรรมความรุนแรงแม้ว่าจะมีคนพูดไม่ดีถึงตน รวมทั้งกรณีที่กลุ่มตัวอย่างบางส่วนไม่แสดงพฤติกรรมความรุนแรงแม้ว่าไม่พอใจและโดนผู้อื่นทำร้าย
ข้อเสนอแนะในการวิจัย
1. ควรมีการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบ เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนจากอิทธิพลความรุนแรง รวมทั้งการแก้ปัญหาพฤติกรรม ความรุนแรงของเด็กและเยาวชนเชิงบูรณาการระหว่างภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง 2. ควรมีการศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีและจริยธรรมของสื่อ ในการผลิตรายการและมาตรฐานการนำเสนอเนื้อหาที่รับผิดชอบต่อผู้ชมและสังคม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน 3. ควรมีการรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลสื่อปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชนในแต่ละช่วงอายุ เพื่อเป็นทางเลือกรับชมสื่อแก่เด็กและเยาวชน
ขอบคุณคะ