ระบบสารสนเทศและการพัฒนาระบบ Information Systems and System Development บทที่ 4 ระบบสารสนเทศและการพัฒนาระบบ Information Systems and System Development
เนื้อหา ความหมายของระบบสารสนเทศ ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ ผู้ใช้งานในระบบสารสนเทศ ประเภทของระบบสารสนเทศ วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ
ความหมายของระบบสารสนเทศ ข้อมูล ระบบ สารสนเทศ ระบบสารสนเทศ
ความหมายของระบบสารสนเทศ (ต่อ) ข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ข่าวสาร ข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวล ยังไม่มีความหมาย ในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
ความหมายของระบบสารสนเทศ (ต่อ) หมายถึงกลุ่มขององค์ประกอบและกระบวนการที่ สัมพันธ์กัน โดยที่แต่ละองค์ประกอบจะทำงานร่วมกัน เพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน สารสนเทศ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับผู้ใช้
ความหมายของระบบสารสนเทศ (ต่อ) หมายถึงองค์ประกอบ 5 ส่วน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร ข้อมูล กระบวนการ ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนมีความสัมพันธ์กัน ทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างเป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ใช้ภายในองค์กร
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ ช่วยทำให้เกิดความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และปริมาณมาก ๆ และทำให้การเข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น ทำให้การติดต่อสื่อสารดำเนินไปด้วยความสะดวก ง่ายดาย คล่องตัว ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน
ผู้ใช้ในระบบสารสนเทศ
ประเภทของระบบสารสนเทศ & ผู้ใช้ในระบบสารสนเทศ ประเภทของระบบสารสนเทศ & ผู้ใช้ในระบบสารสนเทศ
ประเภทของระบบสารสนเทศ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation) e-Office e-Mail e-Meeting ระบบการนัดหมาย โปรแกรมสำนักงาน
ระบบ e-Office
ระบบการจองห้องประชุม & e-Meeting
ประเภทของระบบสารสนเทศ (ต่อ) ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems) ระบบการสั่งซื้อ (Order-Entry Systems) ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบเงินเดือน ระบบบัญชี ระบบการเงิน ระบบการขายสินค้า
ระบบจัดซื้อ/จ้าง
ประเภทของระบบสารสนเทศ (ต่อ) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริหารเพื่อช่วยในการตัดสินใจ ข้อมูลที่ผู้บริหารต้องการได้มาจากระบบประมวลผลรายการจากข้อมูลประจำวัน ตัวอย่าง เช่น รายงานยอดขายประจำสัปดาห์ รายงานการวิเคราะห์การขายแยกตามพื้นที่ รายงานการวิเคราะห์ต้นทุน รายงานงบประมาณประจำปี เป็นต้น
กราฟแสดงการเปรียบเทียบยอดขาย ในแต่ละประเทศ
ประเภทของระบบสารสนเทศ (ต่อ) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นระบบสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ทำการตัดสินใจใช้ประกอบการตัดสินใจ เป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียกใช้งานและการโต้ตอบ เป็นระบบที่มีการผสมผสานสารสนเทศที่มีอยู่ หรือเรียกใช้จากระบบสารสนเทศอื่น ๆ นำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ คาดการณ์ โดยนำเสนอในรูปของกราฟิก แผนงาน
Decision Support System & Performance Dashboard
ประเภทของระบบสารสนเทศ (ต่อ) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นระบบสารสนเทศที่สร้างและวิเคราะห์ข้อมูลสัณฐานของวัตถุทุกอย่างบนพื้นผิวโลก (Spatial) เกี่ยวกับระบบแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศและแผนผังต่างๆ ของลักษณะภูมิประเทศทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เพื่อใช้ในการจัดการ และบริหารการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านพื้นที่ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยายร่วมกับข้อมูลเชิงพื้นที่ จะทำให้ระบบสารสนเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานที่กว้างขวางมากขึ้น การประยุกต์ใช้สารสนเทศภูมิศาสตร์ สามารถแบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตร ป่าไม้ ธรณีวิทยา อุทกศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ ผังเมือง และอื่น ๆ
GIS & รายได้การเกษตร
GIS & การประเมินราคาที่ดินรายแปลง
ระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงการทำงานทั้งองค์การ (Enterprise Wide Systems) ระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานทั้งหมดภายในองค์การ ระบบลูกค้า ระบบการผลิตสินค้า ระบบการขาย ระบบบัญชี และอื่น ๆ
ระบบ Enterprise-Wide System
ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบสารสนเทศที่พยายามจะรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ (Knowledge) ให้กับผู้ใช้ระบบ การแทนค่าความรู้ในรูปแบบของกฏเกณฑ์การตัดสินใจ เป็นการอธิบายวิธีการคิดที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆที่ต้องการหาคำตอบเพื่อต้องการแก้ปัญหาในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ มีลักษณะการโต้ตอบแบบทันทีกับผู้ใช้
ระบบผู้เชี่ยวชาญ
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ การสำรวจเบื้องต้น ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย งบประมาณ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ ความคุ้มค่าในการลงทุนและประโยชน์ ศึกษาเป้าหมายและความต้องการของผู้ใช้
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (ต่อ) การวิเคราะห์ระบบ ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบปัจจุบัน ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบปัจจุบัน เก็บรวบรวมข้อมูลและความต้องการของผู้ใช้ ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ได้แก่ DFD, E-R Diagram, Use Case Diagram , …
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (ต่อ) การออกแบบระบบ เป็นการสร้างพิมพ์เขียวของระบบใหม่ตามความต้องการในเอกสารความต้องการระบบ กิจกรรมในขั้นตอนการออกแบบระบบ การออกแบบหน้าจอ การออกแบบฐานข้อมูล การออกแบบข้อมูลนำเข้าและรายงาน การออกแบบระบบควบคุมความปลอดภัยข้อมูล …
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (ต่อ) เป็นขั้นตอนของการเขียนโปรแกรม การทดสอบการใช้งานของโปรแกรม การจัดทำคู่มือสำหรับการใช้งานระบบ การฝึกอบรมผู้ใช้งาน
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (ต่อ) การติดตั้งระบบ การเตรียมข้อมูลนำเข้าสู่ระบบ การเตรียมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และเครือข่าย การติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการ การติดตั้งระบบสารสนเทศ
วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (ต่อ) การบำรุงรักษาระบบ เป็นขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขหลังจากที่มีการติดตั้งใช้งานแล้ว พัฒนาโปรแกรมเพิ่มเติม ในส่วนที่ผู้ใช้ต้องการ บำรุงรักษาระบบทั้งทางฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา
คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ มีความรู้ทางด้านธุรกิจขององค์การ มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีสามารถในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน มีความรู้ในการเขียนโปรแกรม ติดตามความก้าวหน้าเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ มีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์ระบบ