อ. สิริพร มีนะนันทน์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
บทนำ มักประกอบด้วยประเด็นย่อยๆ จำนวน 6 ประเด็น ได้แก่ ที่มาและความสำคัญของปัญหา หรือความเป็นมา หรือ หลักการและเหตุผล มักเป็นส่วนแรกของบทนำ โดยมี เป้าหมายเพื่อสะท้อนความเป็นมา หรือพัฒนาการของ ประเด็นปัญหาในการวิจัย การอธิบายหลักการและเหตุผล ที่นำไปสู่ประเด็นปัญหาในการวิจัย หรือกล่าวง่ายๆ ว่า เป็นการให้เหตุผลว่า “ ทำไมจึงต้องทำงานวิจัยเรื่องนี้ ” ตลอดจนการตอกย้ำ “ ความสำคัญ ” ของงานวิจัยเรื่อง ดังกล่าว วัตถุประสงค์ในการวิจัย ผู้วิจัยเขียนขึ้นเพื่อระบุถึง เจตนารมณ์ในการทำวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการระบุ ว่าต้องการจะ “ ศึกษาเรื่องอะไร กับกลุ่มเป้าหมายใด ” โจทย์การวิจัย หรือปัญหานำการวิจัย โดยผู้เขียนระบุ โจทย์หลัก หรือประเด็นคำถามหลัก ซึ่งต้องการ ดำเนินการศึกษาค้นคว้า 2
ขอบเขตในการวิจัย เป็นการแจ้งให้ผู้อ่านทราบว่า งานวิจัยครอบคลุมถึงบริบทใดบ้าง กลุ่มเป้าหมายใดบ้าง มีขอบเขตในเชิงพื้นที่ขนาดใด มีขอบเขตในเชิงกรอบ ทฤษฎีอย่างไร ตลอดจนมีข้อจำกัดในการประยุกต์ใช้ ผลการวิจัยแค่ไหน คำนิยามศัพท์ต่างๆ ที่ใช้ในการวิจัย เป็นการอธิบาย ความหมายของคำหลักต่างๆ (key word) หรือประเด็น ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ที่หัวเรื่องการวิจัย ปัญหานำการวิจัย และวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อให้เห็นแนวทางในการ “ สังเกต ” คำหลัก หรือประเด็นดังกล่าว ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย เป็นการระบุให้ เห็นถึงความคาดหวังของผู้วิจัยที่มีต่อผลการวิจัย โดยเฉพาะระบุให้ชัดเจนว่า ผลงานวิจัยนั้นจะมีประโยชน์ ต่อการปฏิบัติงาน หรือวงการวิชาการ มากน้อยเพียงใด 3
การทบทวนวรรณกรรม คือ การดำเนินการศึกษา ทฤษฎีและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ปัญหาที่ต้องการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สรุปข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นระบบ เกี่ยวกับประเด็น ที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางในสังคม และประเด็นที่ ยังไม่มีใครรู้หรือหาคำตอบยังไม่ได้ ตลอดจนยัง เป็นที่สงสัยกันอยู่ 4
ในการทบทวนวรรณกรรม นักวิจัยจำเป็นต้อง อ่านหนังสือ บทความ ตำรา หรืองานวิจัยต่างๆ อย่างมีเป้าหมาย โดยเฉพาะเพื่อหาข้อสรุป เกี่ยวกับประเด็นที่ตนสนใจให้ได้ โดยนักวิจัย อาจอ่านเอกสารดังกล่าวไปพร้อมๆ กับการค้นหา คำตอบต่างๆ ดังต่อไปนี้ ปัจจุบันนี้ การศึกษาค้นคว้าประเด็นปัญหาที่ นักวิจัยสนใจ อยู่ใน “ สถานภาพ ” ใด ( เราได้ เรียนรู้ข้อมูลอะไรบ้าง เราได้ข้อมูลลึกซึ่ง เพียงใด ) ทฤษฎีหรือแนวคิดอะไรบ้าง ที่น่าจะเกี่ยวข้อง โดยตรงกับประเด็นปัญหาดังกล่าว 5
ทฤษฎีหรือแนวคิดดังกล่าวเกี่ยวข้องกับอะไร อธิบายเรื่องอะไร ในบริบทใด สามารถนำมาใช้ เป็นกรอบในการศึกษาวิจัยเรื่องที่นักวิจัยสนใจ ได้หรือไม่ ทำไม ทฤษฎีหรือแนวคิดดังกล่าวมีจุดเด่น - จุดอ่อน ตรงไหน บุคคลอื่นมีเกณฑ์อะไรสำหรับประเมินหรือวัด ประเด็นปัญหาที่นักวิจัยสนใจ ในกรณีที่ทบทวนวรรณกรรมแล้วค้นพบเกณฑ์ใน การประเมินเกณฑ์ดังกล่าวมีจุดเด่นและจุดอ่อน อย่างไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยได้ หรือไม่ 6
ใครเคยทำวิจัยเกี่ยวกับประเด็นปัญหาดังกล่าว มาก่อนหรือไม่ ? กรณีที่มีผู้เคยทำวิจัยเกี่ยวกับประเด็นปัญหาดังกล่าว - บุคคลที่เคยศึกษาก่อนหน้า ได้ตั้งปัญหานำอย่างไร - เขาใช้ทฤษฎีอะไรเป็นกรอบในการวิจัย - เขาใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบใด มีขั้นตอนในการดำเนินการ อย่างไร - เขาค้นพบอะไร - ข้อมูลน่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะอะไร - มีประเด็นปัญหาอะไร ที่มีคุณค่า แต่เขายังตอบไม่ได้ หรือเสนอแนะให้มีการวิจัยเพิ่มเติม 7
กรณีที่ประเด็นปัญหาดังกล่าวยังไม่เคยมีการศึกษามา ก่อนหน้า - มีใครเคยศึกษาประเด็นใกล้เคียงกันบ้างหรือไม่ - เขาศึกษาประเด็นอะไร - ประเด็นดังกล่าวเชื่อมโยงหรือใกล้เคียงกับสิ่งที่นักวิจัย สนใจเพียงใด - เขาใช้ทฤษฎีอะไรเป็นกรอบในการวิจัย - เขามีการดำเนินการอย่างไร - เขาค้นพบอะไร - ข้อมูลน่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะอะไร ผลการวิจัยต่างๆ ช่วยทำให้ประเด็นในการวิจัย ของนักวิจัยชัดเจนขึ้นหรือไม่ เพียงใด หรือทำ ให้นักวิจัยเกิดคำถามที่สงสัยเพิ่มเติม และอยาก หาคำตอบหรือไม่ 8