พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้ คือ อินเดีย พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิรูป ศาสนา อเทวนิยม
ความเป็นมา ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่ม ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือ เถรวาทและมหายาน
ศาสดา พระโคตมพุทธเจ้า ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ
พระนางสิริมหามายา ประสูติพระโอรส
อสิตดาบสได้ทำนายว่า “ถ้าพระกุมารอยู่ครองฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก”
เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกสมรสพระนางยโสธราพิมพา
เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะสู่แม่น้ำอโนมา
เจ้าชายสิทธัตถะมอบหมายเครื่องประดับและม้ากัณฐกะให้นายฉันนะนำกลับไปยังกรุงกบิลพัสดุ์
บำเพ็ญทุกรกิริยา
นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาสถวาย
แสดงปฐมเทศนาต่อหาปัญจวัคคีย์ แสดงปฐมเทศนาต่อหาปัญจวัคคีย์
พระองค์ทรงส่งสาวก 60 องค์ ออกไปประกาศศาสนา
ทรงปรินิพาน
คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 3 ปิฎก ด้วยกันคือ 1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของ ภิกษุและภิกษุณี 2. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาโดยทั่วไป มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ 3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วน ไม่มีประวัติ และท้องเรื่องประกอบ
หลักคำสอนสำคัญบางประการของพระพุทธศาสนา พระธรรม คือ คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าเป็นสัจธรรมอำนวยผลประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างแท้จริง มีหลักสำคัญอยู่ 3 เรื่อง 1. อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์ สมุทัย หมายถึง เหตุแห่งการเกิดทุกข์ นิโรธ หมายถึง การดับทุกข์ มรรค คือ หนทางถึงความดับทุกข์ 2. ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึง กฎแห่งธรรมชาติที่ตายตัว อนิจตา คือ ความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งปวง ทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์ อนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน
3. ขันธ์5 หมายถึง กายกับใจ แบ่งออกเป็น 3. ขันธ์5 หมายถึง กายกับใจ แบ่งออกเป็น 1.รูปขันธ์ คือ ร่างกาย 2.เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึกที่ 3.สัญญาขันธ์ คือ ความจำได้หมายรู้ 4.สังขารขันธ์ คือ ความคิด 5.วิญญาณขันธ์ คือ ความรู้อารมณ์
พระสงฆ์ พระสาวกผู้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จนได้รับผลแห่งการปฏิบัติ แล้วนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเผยแพร่ยังพุทธศาสนิกชน ถือเป็นผู้สืบทอดพระศาสนา
ศาสนพิธี พิธีกรรมทางศาสนาพุทธหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศาสนพิธีด้วยกัน เช่น พิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีรักษาศีลอุโบสถ ฯลฯ จำแนกเป็น 2 ประเภท 1. พิธีกรรมที่เป็นพุทธบัญญัติ เป็นพิธีการเกี่ยวกับวินัยสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ จะต้องปฏิบัติพิธีกรรมนั้น ๆให้ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ 2. พิธีกรรมที่พัฒนาขึ้นในท้องถิ่น คือ พิธีกรรมที่พุทธศาสนิกชนในท้องถิ่นต่าง ๆ กำหนดขึ้น โดยมีการผสมผสานขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นให้เข้ากับกิจกรรมทางพุทธศาสนา และได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นประเพณี
พิธีบรรพชา พิธีอุปสมบท
พิธีทอดกฐิน ความเป็นมา กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง หรือไม้แบบตัดเย็บจีวร เป็นผ้าที่นำมาถวาย พระภิกษุสงฆ์ในพิธีทอดกฐิน เริ่มนับตั้งแต่ออกพรรษา คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงกลาง เดือน 12
นิกายสำคัญของพระพุทธศาสนา ศาสนาพุทธมีนิกายที่สำคัญอยู่ ๒ นิกาย อันเกิดจากการสังคายนาครั้งที่ ๒ เป็นเหตุให้มีการถือพระวินัยแตกต่างกัน คือ 1. นิกายเถรวาท 2. นิกายอาจริยวาท
สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา ธรรมจักร ธงฉัพพรรณรังสี
จุดหมายปลายทางสูงสุดของพระพุทธศาสนา ศาสนาพุทธมีจุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิตอันเป็นความสงบสุขอย่างนิรันดรและ อย่างแท้จริงคือ พระนิพพาน ซึ่งได้แก่ ความดับอย่างสนิทซึ่งความทุกข์ ความเดือดร้อนโดยดับกิเลส อันเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ความเดือดร้อน วิธีที่จะบรรลุจุดหมายสูงสุดของชีวิตได้นั้น ชาวพุทธจะต้องปฏิบัติตามอริยมรรค มีองค์ ๘ โดยเคร่งครัดและถูกต้อง.