งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาส เลื่อนไปตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาส เลื่อนไปตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาส เลื่อนไปตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง

2 การเข้าพรรษา คือการที่ภิกษุตั้งใจว่า จะอยู่ประจำเสนาสนะ วัดใดวัดหนึ่งตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ภายในฤดูฝน ตั้งแต่ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ไม่ไปพักค้างแรมให้ล่วงราตรีในที่แห่งอื่น เว้นแต่มีเหตุจำเป็นตามที่พระวินัยอนุญาตไว้

3 ประวัติวันเข้าพรรษา สมัยพุทธกาลเมื่อพระสงฆ์มากขึ้น
บางรูปไม่หยุดค้างในฤดูฝน เที่ยวจาริกไปในที่ต่าง ๆ เหยียบย่ำ ข้าวกล้าของชาวนาเสียหาย เหยียบสัตว์เล็ก ๆ ตาย และอาจเป็นอันตรายแก่ตนเอง ชาวบ้านจึงตำหนิติเตียน แม้ผู้นับถือศาสนาอื่นยังหยุดพักตลอดฤดูฝน เป็นเหตุให้ พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติ พระวินัยให้พระทุกรูปอยู่ จำพรรษาในฤดูฝนเป็นเวลา ๓ เดือน

4 กิจของสงฆ์ในการเข้าพรรษา การสวดมนต์ทำวัตรเช้า วัตรเย็น
กิจของสงฆ์ในการเข้าพรรษา การสวดมนต์ทำวัตรเช้า วัตรเย็น ในช่วงจำพรรษา พระสงฆ์ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย

5 กิจของพุทธศาสนิกชน การถวายผ้าอาบน้ำฝนในวันก่อนเข้าพรรษาหรือวันเข้าพรรษา
การทำบุญตักบาตรในระยะเวลาเข้าพรรษา รักษาศีล ฟังธรรม งดเว้นอบายมุขอย่างเคร่งครัด เช่น งดเหล้าเข้าพรรษา รักษาศีลอุโบสถทุกวันพระ เป็นต้น

6 นักเรียนทำแบบฝึกหัด ๗ ข้อ นะคะ ๑
นักเรียนทำแบบฝึกหัด ๗ ข้อ นะคะ ๑. ข้อใดคือระยะเวลาในการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ ก. ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ – ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ข. แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ – ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ค. ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ – ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ง. แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘- ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

7 ๒. ข้อใด คือ ความหมาย การเข้าพรรษา ก
๒. ข้อใด คือ ความหมาย การเข้าพรรษา ก. การที่ภิกษุตั้งใจว่า จะอยู่ประจำเสนาสนะ วัดใดวัดหนึ่งตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ภายในฤดูร้อน ข. การที่ภิกษุตั้งใจว่า จะอยู่ประจำเสนาสนะ วัดใดวัดหนึ่งตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ภายในฤดูฝน ค. การที่ภิกษุตั้งใจว่า จะอยู่ประจำเสนาสนะ วัดใดวัดหนึ่งตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ภายในฤดูหนาว

8 ๓. พระพุทธเจ้ากำหนดให้มีเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อให้เป็นกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่ใครต้องปฏิบัติ ก. พุทธศาสนิกชน ข. พุทธบริษัท ค. อุบาสก อุบาสิกา ง. ภิกษุ

9 ๔. ข้อใด ไม่ใช่ สาเหตุที่พระพุทธเจ้ากำหนดให้มี การเข้าพรรษา ก
๔. ข้อใด ไม่ใช่ สาเหตุที่พระพุทธเจ้ากำหนดให้มี การเข้าพรรษา ก. ภิกษุเหยียบย่ำข้าวในนาของประชาชนเสียหาย ข. ภิกษุเหยียบสัตว์เล็ก สัตว์น้อยในนาเป็นอันตราย ค. ชาวบ้านตำหนิติเตียน ง. ภิกษุทูลขอให้มีการเข้าพรรษา

10 ๕. หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา ที่พระพุทธเจ้ากำหนด คือข้อใด ก. สามีจิกรรม ข. ปวารณา ค. กรานกฐิน ง. ศึกษา-ปฏิบัติตามพระวินัย

11 ๖. ข้อใด คือประเพณีของพุทธศาสนิกชน ในเทศกาล เข้าพรรษา ก
๖. ข้อใด คือประเพณีของพุทธศาสนิกชน ในเทศกาล เข้าพรรษา ก. อุปสมบท ถวายผ้าอาบน้ำฝน แห่เทียน ทอดกฐิน ข. อุปสมบท ถวายผ้าอาบน้ำฝน แห่เทียน ทอดผ้าป่า ค. อุปสมบท ถวายผ้าอาบน้ำฝน แห่เทียน ตักบาตร เทโวโรหนะ ง. อุปสมบท ถวายผ้าอาบน้ำฝน แห่เทียน รักษาศีล อุโบสถ

12 ๗.ข้อใด ไม่ใช่ การรักษาศีลเป็นพิเศษในเทศกาลเข้าพรรษาของพุทธศาสนิกชน
ก. ศึกษา ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ข. งดเหล้าเข้าพรรษา ค. รักษาศีลอุโบสถ ง. งดเว้นอบายมุข


ดาวน์โหลด ppt วันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาส เลื่อนไปตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google