บรรยายสรุปจังหวัดขอนแก่น
ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ มีพื้นที่รวม 6.8 ล้านไร่ หรือประมาณ 10,885.99 ตร.กม. พื้นที่ป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ 803,754.33 ไร่ ตั้งอยู่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีอาณาเขตติดต่อกับ 9 จังหวัด แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 26 อำเภอ 198 ตำบล 2,331 หมู่บ้าน 389 ชุมชน
ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ (ต่อ) การปกครองส่วนท้องถิ่น 1 อบจ. 47 เทศบาล (เป็นเทศบาลนคร 1 แห่ง ,เทศบาลเมือง 3 แห่ง และเทศบาลตำบล 43 แห่ง) 177 อบต. ส่วนราชการที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ 29 ส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาค 208 ส่วนราชการบริหารส่วนกลาง ประชากร 1,752,414 คน (ชาย 869,386 คน/หญิง 883,028 คน)
ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ ทางเศรษฐกิจ มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) ปี 2550 คือ 126,791 ล้านบาทเป็นอันดับที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองจากจังหวัดนครราชสีมา รายได้ต่อหัวประชากรคือ 67,943 บาท/คน/ปี เป็นอันดับที่ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาขาการผลิตที่สร้างรายได้อันดับ 1 ให้กับจังหวัดในปี 2550 คือ นอกภาคเกษตรคิดเป็นมูลค่า 111,029 ล้านบาท (ร้อยละ 87.56 ของ GPP) อันดับ 2 คือ ภาคการเกษตรคิดเป็นมูลค่า 15,762 ล้านบาท (ร้อยละ 12.42 ของ GPP)
ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ ทางเศรษฐกิจ (ต่อ) ประชากรอยู่ในวัยแรงงาน 887,601 คน มีงานทำ 864,164 คน ทำงานในภาคการเกษตร 348,364 คน ทำงานในภาคนอกการเกษตร 515,800 คน พื้นที่การเกษตรรวมทั้งสิ้น 4,971,961 ไร่ มีระบบชลประทานเพื่อการเกษตร 553,461 ไร่ (ร้อยละ 11.13 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด) ระดับการศึกษาของแรงงาน ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า 537,174 คน ระดับมัธยมศึกษาและสูงกว่า 327,174 คน
ศักยภาพทางการพัฒนาที่สำคัญ ตั้งอยู่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางบกของภาค มีโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นศักยภาพทางการพัฒนาที่สำคัญ สนามบิน มีโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมทางบกที่ค่อนข้างสมบูรณ์ สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา/อาชีวศึกษา สถานบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขขนาดใหญ่ แหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ระบบการให้บริการด้านธุรกิจการเงินและการธนาคาร
ศักยภาพทางการพัฒนาที่สำคัญ (ต่อ) ศักยภาพทางการพัฒนาที่สำคัญ (ต่อ) เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายการพัฒนา ของรัฐบาลตามแนวเส้นทางเศรษฐกิจ East-West Economic Corridor มีปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่สามารถพัฒนาเป็น ฐานการผลิตทางด้านอาหาร ฐานการผลิตด้านพลังงานทดแทน มีความพร้อมด้านระบบบริหารการพัฒนาแบบบูรณาการโดยภาครัฐ และระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน มีหน่วยงานที่พร้อมจะเป็นหุ้นส่วนทางการพัฒนา (Partnership)
แนวคิดการพัฒนาของจังหวัดขอนแก่น วิสัยทัศน์ : ขอนแก่นเมืองน่าอยู่ เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเครือข่าย การค้า การลงทุน การบริการ และการคมนาคมขนส่งในภูมิภาคสู่สากล
ผลการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นที่ผ่านมา ด้านเศรษฐกิจ : เศรษฐกิจดี แต่ไม่สมดุลและมีความเปราะบาง ต่อการเผชิญความผันผวนทางเศรษฐกิจ ด้านสังคม : สังคมมีปัญหา วัฒนธรรมและค่านิยมของคนในสังคม เสื่อมลง ด้านทรัพยากรธรรมชาติ : ทรัพยากรธรรมชาติและสภาวะแวดล้อม เสื่อมโทรม ด้านความยั่งยืนของการพัฒนา : การพัฒนาไม่ยั่งยืน
ทำไมจึงเป็นเช่นนี้..?
เหตุผล 1. ยังไม่สามารถพัฒนาภาคเศรษฐกิจในแต่ละสาขาของจังหวัดให้เข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจแบบ Khowledge –Base Economic 2. ระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการเกษตรยังเป็นแบบ More For Less 3. ระบบบริหารการพัฒนาเชิงบูรณาการในระดับพื้นที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การขับเคลื่อนการพัฒนาไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 4. นโยบายการพัฒนาของรัฐบาล ที่มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่มีความล่าช้าและ ขาดประสิทธิภาพ 5. ความเห็นพ้องต้องกัน (Consensus) ทางการพัฒนาของกลุ่มคนในพื้นที่ ยังไม่เป็นไปในทางเดียวกัน
แนวทางแก้ไข 1. วางตำแหน่ง (Positioning) ของจังหวัดให้ชัดเจนและอยู่บนพื้นฐาน ของความเห็นพ้องต้องกัน (Consensus) ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารจัดการ
แนวทางแก้ไข (ต่อ) 2. ออกแบบระบบการบริหารการพัฒนาในแต่ละตำแหน่งให้ถูกต้อง (Strategic Architecture) 3. ออกแบบระบบขับเคลื่อนการบริหารการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ (High Performance Operation Model) 4. พัฒนาหุ้นส่วนทางการพัฒนา (Partnership) ให้มีขีด ความสามารถขั้นสูง (The Best and Brightest)
จบการนำเสนอ