SOPA / PIPA aket
SOPA / PIPA คืออะไร SOPA เป็นกฏหมายที่ปราบปรามการละเมิด ลิขสิทธิ์ออนไลน์ ( ฉบับใหม่ของอเมริกา ) ป้องกันการซื้อขาย การเผยแพร่ภาพยนตร์ เพลงและสินค้า ฯลฯ โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก เจ้าของ ทั้งยังบังคับให้เว็บไซค์ที่ได้รับ อนุญาตตามกฎหมายปิดกั้น เว็บไซต์ที่มีเนื้อหา ละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น ไม่ให้มีลิงค์ของเว็บผิด กฎหมายปรากฏบนหน้าเว็บ PIPA คือ พ. ร. บ. คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นเหมือนกับลูกพี่ลูกน้องของ SOPA พ. ร. บ. นี้แรงเอาการเพราะมีเนื้อหาที่บอกว่าให้ ผู้ให้บริการนั้นดำเนินการลบหรือระงับการ เข้าถึงเว็บไซต์ที่ละเมิด พ. ร. บ.
ความแตกต่างของ SOPA กับ PIPA ในขณะที่ PIPA นั้นจะมีเป้าหมายไปที่ตัวผู้ ให้บริการ DNS, พวกบริษัทไฟแนนซ์ และ พวกเครือข่ายโฆษณาต่างๆ ไม่ได้เกี่ยวกับผู้ ให้บริการอินเทอร์เน็ต แต่ว่า SOPA นั้นกินวง กว้างกว่า โดยให้อัยการสหรัฐสามารถขอให้ศา ลังคับคดี เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) บล็อกไม่ให้เข้าถึงเว็บไซต์นั้นๆ ได้ แถมต้อง ทำโดยไวด้วย แบบว่าเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือภายใน 5 วันหลังได้คำสั่งศาล หรือภายใน เวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งตรงนี้ระบุไว้ในมาตราที่ 102
SOPA และ PIPA จะมีผลกับ เว็บไซต์อะไร ? ด้วยตัวกฏหมายที่ร่างขึ้นเพื่อปราบปรามการ ละเมิดลิขสิทธิ์และปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้เว็บไซต์ที่ จะได้รับผลโดยตรงคือเว็บไซต์ที่มีเนื้อคอนเทนต์ ไม่ว่าจะในรูปแบบตัวหนังสือ ( ในกรณีก๊อปปี้ เนื้อหาหนังสือมาเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาติ ) เสียง ( เพลง ) ภาพ ( รายการทีวี ภาพถ่าย ฯลฯ ) จะถูกทำการบล็อค เซ็นเซอร์หรือควบคุมการ เข้าถึงจากในอเมริกาทันทีโดยไม่มีการกล่าว เตือนหรือแจ้งให้ทราบ นอกจากนี้แล้ว เว็บไซต์ที่มีการโพสต์ลิงค์เพื่อ นำไปสู่คอนเทนต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวก็มี สิทธิ์จะเข้าข่ายกรณีดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ผลกระทบจาก SOPA PIPA ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมีหลายองค์กรเช่น Google, AOL, eBay, Wikipedia, Facebook, Mozilla, PayPal, Tunblr, Twitter, Yahoo!, และอื่นๆ อีกมากมาย ตัวอย่าง เช่น ถ้าคุณโพสต์ Blog ที่มีการเล่น เพลงเป็น Background Music โดยไม่ได้ รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์คุณมีสิทธิ์ถูกจับ ได้ทันทีหากมีผู้ฟ้องร้อง และเว็บไซต์ผู้ ให้บริการ Blog จะถูกปิดตามอำนาจของ เจ้าหน้าที่รัฐด้วยเช่นกัน
ทำไมถึงต้องประท้วง เพราะว่าเนื้อหาภายในร่างกฏหมายที่สหรัฐฯได้ ร่างไว้นั้น มีเจตจำนงค์ที่จะจัดการเนื้อหาบน เว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยจะทำการตัดสิทธิ์ หรือปราบปรามเว็บไซต์ที่มีการเผยแพร่เนื้อหา หรือ คอนเท็นต์ ที่ถูกนำไปใช้บนเว็บไซต์ที่อยู่ นอกเหนืออำนาจของการบังคับคดีของสหรัฐฯ อเมริกา หรือการเผยแพร่คอนเท็นต์ที่ผิดลิขสิทธิ์ นั่นเอง ประเด็นดังกล่าวแต่แรกกลุ่มที่ไม่ยอมรับ นั้นคือ Google ที่มีอาการไม่เห็นด้วยกับ กฏหมาย SOPA / PIPA มาตั้งแต่แรก ซึ่งใน ภายหลังก็ได้คาดแถบข้อความสีดำ ประท้วงไม่ เห็นด้วยกับ SOPA / PIPA แต่กลายเป็นว่า Wikipedia เปิดประเด็นที่เห็นก่อนรายอื่น โดย ตามมาติดๆ คือเว็บไซต์อื่นๆ มากมาย ทั้ง Microsoft, Wordpress ก็เช่นกัน
คนไทยจะได้รับผลอะไรจาก SOPA และ PIPA? ผลกระทบโดยตรงจากกฏหมายคงไม่ส่งผลกับ เว็บไซต์ของคนไทย หรือการใช้งานของคน ไทย เพราะเป็นกฏหมายของอเมริกา หาใช่ กฏหมายสากลที่ไทยต้องปฏิบัติ แต่ผลกระทบ ที่เราอาจจะได้รับคือผลทางอ้อมหากกฏหมาย นี้บังคับใช้ การพัฒนาเว็บหรือการสร้างคอน เทนต์ใหม่ๆ ในตลาดอเมริกาย่อมอาจจะโดน ผลกระทบให้ชะลอตัวหรือลดลง ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเว็บไซต์หลายแห่งในอเมริกาอาจจะเข้า ข่ายผิดกฏหมายและทำให้ต้องปิดตัวลง ( ส่วน หนึ่งเพราะกฏหมายมีผลในกับบังคับตัดการ สนับสนุนทางด้านการเงินให้กับเว็บไซต์ที่ผิด กฏหมายฉบับนี้ด้วย )
สมาชิกในกลุ่ม Mr.Sophin Taing BC นางสาว อมรฉวี จำปาแดง BC นางสาว สุกัญญา เข็มเพชร BC Mr. Vanndeth Ouk NU นางสาว นรีเมธ บุตรโคตร NSM Sec 31 ( บ่าย น. RN 209)