การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model นางสาวปัทมา นิยมรักษ์ รหัส 531120311 คณะครุศาสตร์ โปรแกรมวิทยาศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model การออกแบบการสอนเป็นกระบวนการแก้ปัญหาการสอน โดยวิธีการวิเคราะห์เงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ในการดำเนินการเช่นนี้จะต้องตัดสินใจทำความสัมพันธ์ในขั้นตอนต่างๆแต่ละขั้นในกระบวนการออกแบบการสอน โดยพื้นฐานของการออกแบบการสอนขึ้นอยู่กับ จิตวิทยาการสอน วิธีการระบบ และการสื่อสาร
การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model โดย ADDIE MODEL เป็นการออกแบบระบบการเรียนการสอน กล่าวคือกระบวนการพัฒนาโปรแกรมการสอน จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด มีแบบจำลองจำนวนมากมายที่นักออกแบบการสอนใช้ และสำหรับตามความประสงค์ทางการสอนต่างๆ กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแบบ ADDIEสามารถสรุปเป็นขั้นตอนทั่วไปได้เป็น 5 ขั้น ประกอบไปด้วย 1. Analysis (การวิเคราะห์) 2. Design (การออกแบบ) 3. Development (การพัฒนา) 4. Implementation (การนำไปใช้) 5. Evaluation (การประเมินผล)
การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model Analysis (การวิเคราะห์) ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหา, ระบุแหล่งของปัญหา และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้ ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 1. การกำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป 2. การวิเคราะห์ผู้เรียน 3. การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 4. การวิเคราะห์เนื้อหา
การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model Design (การออกแบบ) 1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) 2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง(Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่) 3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design)
การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model Design (การออกแบบ) 1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน(Pretest) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model Design (การออกแบบ) 2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่) 3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้
การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model Design (การออกแบบ) ( ต่อจากหน้าที่ 7 ) 1. การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution) 2. การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ 3. การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 4. การกำหนดสี ได้แก่ สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background) ,สีของส่วนอื่นๆ 5. การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน
การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model Development (การพัฒนา) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 1. การเตรียมการ การเตรียมการ เกี่ยวกับองค์ประกอบดังนี้ 1.1 การเตรียมข้อความ 1.2 การเตรียมภาพ 1.3 การเตรียมเสียง 1.4 การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน
การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model Development (การพัฒนา) 2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนอื่น เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ เพื่อเปลี่ยนสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน * หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จสิ้นแล้ว ในขั้นต่อไปเป็นการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน
การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model Implementation (การนำไปใช้) การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ
การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model Evaluation (การประเมินผล) การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียน
การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model Evaluation (การประเมินผล) ในขั้นตอนของการประเมินนี้ คำถามที่ต้องตอบให้ได้คือ - เราได้แก้ปัญหาได้แล้วใช่ไหม - ผลที่ได้คืออะไร - สิ่งจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงคืออะไร การประเมินหลังการสอน (Summative evaluation) เมื่อผู้เรียนได้เรียนด้วยสื่อที่สามารถแก้ปัญหาการเรียนที่เกิดขึ้น ผลที่ได้หลังจากการเรียนแล้วเป็นอย่างไร โดยทดสอบกับแบบทดสอบหลังเรียน เป็นต้น
จบการนำเสนอ ( สวัสดีค่ะ )