การวิจัยการสื่อสารการตลาด (AMC2202) อ.สิริพร มีนะนันทน์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
การวิจัย ประเภทของการวิจัย ประเภทการวิจัยตามลักษณะของข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research)
การวิจัย กระบวนการวิจัย ขั้นที่ 1 การริเริ่มงานวิจัย ขั้นที่ 2 การวางแผนการวิจัย ขั้นที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นที่ 5 การสรุปผลการวิจัยและการประยุกต์ใช้
กระบวนการวิจัย การริเริ่มงานวิจัย การกำหนดประเด็น (หัวเรื่อง) ในการวิจัย ข้อสงสัย คำถาม โจทย์ ที่แหล่งทุนหรือองค์กรที่ต้องการทำการสื่อสารการตลาดมี ความสนใจ และต้องการแสวงหาข้อมูลในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การทบทวนวรรณกรรม ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวจากตำรา ทฤษฎี งานวิจัย เอกสารที่ เกี่ยวข้อง เป็น “รากฐาน” ที่สำคัญมากสำหรับการเริ่มต้นงานวิจัย การกำหนดแนวคิด ตัวแปร และการระบุคำนิยามศัพท์ การกำหนดโจทย์การวิจัย
กระบวนการวิจัย การวางแผนการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การกำหนดระเบียบวิธีวิจัย สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ลักษณะของโจทย์หรือคำถามนำในการวิจัย การกำหนดเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย และแนวทางการ ประมวลผลการวิจัย สอดคล้องกับระเบียบวิธีวิจัยที่เลือกไว้ การตรวจสอบความเที่ยง และความตรงของการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
กระบวนการวิจัย การสรุปผลการวิจัยและการประยุกต์ใช้ การนำเสนอข้อสรุปที่ได้รับจากการวิจัย การอภิปรายเกี่ยวกับจุดเด่นที่ค้นพบ และข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการวิจัย การประยุกต์ใช้ผลการวิจัย ในเชิงปฏิบัติ ในเชิงการเป็นพื้นฐานสำหรับงานวิจัยชิ้นต่อไป
การสื่อสารการตลาด หลักของนักการสื่อสารการตลาด คือ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและสร้างความสัมพันธ์ ในระยะยาวระหว่างตราสินค้าและลูกค้า ขยายความให้ชัดเจนคือเมื่อมีการสื่อสารการตลาดจะมีคำว่าการสร้างตราสินค้า (Branding) เข้ามาเกี่ยวข้อง หัวใจของนักสื่อสารการตลาดคือการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง ถูกช่องทาง ถูกเวลา และถูกกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้การสื่อสารที่ถูกส่งออกไปนั้นมีประสิทธิผลที่สุด ยอดขายและกำไรจะตามมาเมื่อการสื่อสารนั้นมีประสิทธิภาพ
การสื่อสารการตลาด เป็นหน้าที่ของนักสื่อสารการตลาดที่ต้องวางแผนและประยุกต์เครื่องมือสื่อต่างๆให้ส่งสารถึงลูกค้าได้อย่างถูกต้องโดยที่เครื่องมือต่างๆ ในการสื่อสารเพื่อนำเสนอข้อมูลและชักจูงลูกค้าให้รู้จักสินค้านั้นจะเป็นช่องทางคล้ายกับที่นักสื่อสารมวลชนใช้ ซึ่งเครื่องมือหลักที่นักสื่อสารการตลาดใช้มีทั้งหมด 6 ช่องทาง คือ 1 การโฆษณา (Advertising) 2 การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) 3 การสื่อสารการตลาดทางตรง (Direct Marketing Communication) 4 การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการตลาด (Sales Promotion Communication) 5 สื่อสารแบบส่วนตัว (Personal Communication) 6 การสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด (Sponsorship and Event)
ตัวอย่างหัวข้องานวิจัยการสื่อสารการตลาด กลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อิทธิพลของการสื่อสารการตลาด ที่มีต่อทัศนคติ และการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลยุทธ์การสร้างตราสินค้าเว็บไซต์จีบันดอทคอมผ่านการสื่อสารการตลาดออนไลน์
การวิจัย vs การสื่อสารการตลาด ทำไมเราต้องเรียนการวิจัยการสื่อสารการตลาด? ประโยชน์ของการวิจัยการสื่อสารการตลาด?
assignment ให้นักศึกษาค้นคว้างานวิจัยด้านการสื่อสารการตลาดที่นักศึกษาสนใจ ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมาคนละ 1 เรื่อง แล้วศึกษาในประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้ ชื่องานวิจัย / ที่มาและความสำคัญ การเก็บข้อมูล / การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา วิเคราะห์ว่างานวิจัยชิ้นนั้นมีประโยชน์อย่างไรต่อการสื่อสารการตลาดของ องค์กรหรือของกรณีศึกษาในงานวิจัยชิ้นนั้น นำเสนอหน้าชั้นเรียน ในวันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557