ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปลอง ของหมอน้ำโรงสีขาวที่ใช้แกลบเปนเชื้อเพลิงพ.ศ. 2549 ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 ธันวาคม 2549
สรุปสาระสำคัญ 1. ในประกาศนี้ "หม้อน้ำ (Boiler)" หมายความว่า หม้อน้ำที่เป็นต้นกำเนิดพลังงานกลหรือพลังงานความร้อนที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง "โรงสีข้าว" หมายความว่า โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการสี ฝัด หรือขัดข้าวทุกขนาด "ค่าความทึบแสงของเขม่าควัน" หมายความว่า จำนวนร้อยละของแสงที่ไม่สามารถส่องผ่านเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่อง 2. บังคับใช้ตั้งแต่ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ 1. อากาศที่ระบายออกจากปล่องต้องมีเขม่าควันเจือปนอยู่ในปริมาณที่ทำให้เกิดค่าความทึบแสง เมื่อตรวจวัดด้วยแผนภูมิเขม่าควันของริงเกิลมานน์ ไม่เกินต่าที่กำหนดดังต่อไปนี้ - ร้อยละ 20 เมื่อตรวจวัดก่อนวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2550 - ร้อยละ 10 เมื่อตรวจวัดตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2550 2. ให้ตรวจวัดค่าความทึบแสงในขณะที่ประกอบกิจการโรงงานและหม้อน้ำมีการทำงานปกติ
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ 3. วิธีการตรวจวัด การคำนวณ การเปรียบเทียบและสรุปผลการตรวจวัดค่าความทึบแสง ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ (1) วิธีการตรวจวัดค่าความทึบแสงของเขม่าควัน ก. ให้ต้องมีผู้ตรวจวัด 2 คน ตรวจวัดพร้อมกัน ข. ให้ผู้ตรวจวัดสังเกตสีท้องฟ้าบริเวณที่จะตรวจวัด และพิจารณาว่าแสงสว่างเพียงพอหรือไม่ โดยสังเกตจากสีกลุ่มควันที่เกิดขึ้นและสีของฉากหลังที่มีความเข้มแตกต่างกันโดยชัดเจน ค. ให้ผู้ตรวจยืนห่างจากปล่องระบายอากาศ ไม่น้อยกว่า 3 เท่าของความสูงจากระดับตำแหน่งที่ผู้ตรวจยีนอยู่จนถึงระดับปากปล่อง แต่ไม่เกิน 400 เมตร และอยู่ในทิศที่ตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของกลุ่มควัน โดยให้ดวงอาทิตย์อยู่ด้านหลังของผู้ตรวจให้ได้มากที่สุด ง. ให้ใช้แผนภูมิของริงเกิลมานน์ที่จัดทำ โดยกรมควบคุมมลพิษ หรือที่มีมาตรฐานเทียบเท่า จ. ให้ผู้ตรวจวัด ถือแผนภูมิในระดับสายตา และมองเขม่าควันผ่านช่องตรงกลางของแผนภูมิ และสังเกตกลุ่มควันบริเวณที่มีความหนาแน่นที่สุดและไม่มีการควบแน่นของไอน้ำ เปรียบเทียบเพื่อหาค่าความทึบแสงที่ใกล้เคียงกับความทึบแสงของกลุ่มเขม่าควันที่เกิดขึ้นจริง และบันทึกผลการตรวจวัดทุกๆ 15 วินาที จนครบ 15 นาที ลงในแบบ ขค. 01-49 ท้ายประกาศนี้
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ (2) การคำนวณและเปรียบเทียบค่าความทึบแสง ก. ให้หาค่าเฉลี่ยความทึบแสงของเขม่าควัน ตาม (1) (จ) ข. ให้นำค่าเฉลี่ยการตรวจวัดแสง ตาม (2) (ก) มาเปรียบเทียบกัน ถ้าแตกต่างกันเกิน 3 ให้ตรวจวัดใหม่ แต่หากไม่เกิน 3 ให้นำค่าเฉลี่ยการตรวจวัดแสงของผู้ตรวจวัด 2 คน มาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้ง และใช้ผลที่ได้นั้น (3) การสรุปผลการตรวจวัดในแบบ ขค. 02-49 ท้ายประกาศนี้
จบการนำเสนอ