ภาวะผู้นำ (Leadership) จัดเตรียมโดย รองศาสตราจารย์ ดร. วิมลิน สุขถมยา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาวะผู้นำ (Leadership) ภาวะผู้นำหมายถึงความสามารถในการจัดการกิจกรรมของกลุ่มให้เป็นไปตามเป้าหมายเดียวกัน
ความแตกต่างของผู้นำจากบุคคลทั่วไป ความพยายาม (Drive) ความปรารถนาที่จะนำ (Desire to lead) ความซื่อสัตย์และมั่นคง (Honest and integrity) ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence) ความฉลาด (Intelligence) มีความรู้เกี่ยวกับงานนั้นๆ (Job-relevant knowledge) ความพยายาม (Drive) ผู้นำจะมีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จ มีความทะเยอะทะยาน ไม่ย่อท้อที่จะกระทำกิจกรรมต่างที่เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย ความปรารถนาที่จะนำ (Desire to lead) ผู้นำมักมีความต้องการอย่างรุนแรงในการมีอิทธิพลหรือนำผู้อื่น และมีความเต็มใจที่จะรับผิดชอบในงานต่างๆ ความซื่อสัตย์และมั่นคง (Honest and integrity) เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากกลุ่ม ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence) เพื่อให้คนในปกครองมั่นใจที่จะทำตามคำสั่งของผู้นำ ความฉลาด (Intelligence) ผู้นำต้องมีความฉลาดในการมีวิสัยทัศน์ การแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างถูกต้อง มีความรู้เกี่ยวกับงานนั้นๆ (Job-relevant knowledge) ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับบริษัท อุตสาหกรรม หรือเรื่องทางเทคนิคที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นผู้นำพื้นฐานสี่อย่าง ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leader) ผู้นำแบบมีส่วนร่วม (Participative Leader) ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leader) ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez-Faire leader)
สไตล์ความเป็นผู้นำพื้นฐาน ผู้นำแบบเผด็จการ ผู้นำแบบมีส่วนร่วม ผู้นำแบบประชาธิปไตย ผู้นำแบบเสรีนิยม ผู้นำบอกสิ่งที่ต้องการแก่ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา ผู้นำเปิดโอกาสและคาดหวังการมีส่วนร่วมของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ผู้นำแสวงหาหลักการที่เห็นพ้องต้องกันเป็นส่วนใหญ่จากผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ผู้นำปล่อยให้สมาชิกของกลุ่มตัดสินใจทุกอย่าง ทฤษฎี X ของแมคเกรเกอร์ ทฤษฎี Y ของแมคเกรเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ทฤษฎีความเป็นผู้นำ ทฤษฎีเชิงปฏิรูป ทฤษฎีเชิงสถานการณ์ ทฤษฎีเชิงพฤติกรรม ทฤษฎีเชิงคุณลักษณะ 2403 2503 2513 2523 2533
ทฤษฎีเชิงคุณลักษณะ (Trait Theories) คุณลักษณะทางร่างกาย อายุ รูปร่าง ส่วนสูง น้ำหนัก ภูมิหลังทางสังคม การศึกษา สถานภาพทางสังคม ความคล่องตัว สติปัญญา สติปัญญา ความสามารถ ดุลยพินิจ ความรู้ ความเด็ดขาด การพูดคล่องแคล่ว บุคลิกภาพ ความก้าวร้าว ความตื่นตัว การครอบงำ ความกระตือรือร้น ความสนใจภายนอก ความเป็นตัวของตัวเอง ความคิดสร้างสรรค์ ความซื่อสัตย์ ความเชื่อมั่นในตัวเอง คุณลักษณะทางงาน ความต้องการความสำเร็จ ความต้องการความรับผิดชอบ ความคิดริเริ่ม ความพากเพียร ความใจกล้า การมุ่งงาน คุณลักษณะทางสังคม ความนิยมแพร่หลาย ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความดึงดูด ความร่วมมือ ความมีเกียรติ การมีไหวพริบ การชอบสังคม การทูต
ทฤษฎีเชิงพฤติกรรม การศึกษาของโอไฮโอสเตท (Ohio state studies) ระบบการบริหารของไลเคิร์ท (Likert’s system of Management) แบบจำลองกริดของการบริหาร (Management grid model)
การศึกษาของโอไฮโอสเตท (Ohio state studies) เป็นการศึกษาพฤติกรรมแบบสองมิติได้แก่ การมุ่งคน หมายถึงเน้นความใกล้ชิดทางจิตใจระหว่างผู้นำและผู้ตาม การมุ่งงาน หมายถึงการมุ่งการกำกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างกระตือรือร้นเพื่อที่จะทำงานให้สำเร็จ การมุ่งงานต่ำ การมุ่งคนสูง การมุ่งงานสูง การมุ่งคนสูง สูง การมุ่งคน การมุ่งงานต่ำ การมุ่งคนต่ำ การมุ่งงานสูง การมุ่งคนต่ำ ต่ำ ต่ำ การมุ่งงาน สูง
ระบบการบริหารของไลเคิร์ท (Likert’s system of Management) แบ่งระบบการบริหารเป็นสี่ระบบ ระบบที่ 1 เผด็จการเต็มที่ (Exploitative Autocratic) ระบบที่ 2 เผด็จการอย่างเมตตา (Benevolent Autocratic) ระบบที่ 3 ปรึกษาหารือ (Consultative) ระบบที่ 4 มีส่วนร่วม (Participative)
แบบจำลองกริดของการบริหาร (Management grid model) โดยเบลค และมูตั้น (Blake and Mouton) สโมสร หมู่คณะ เกินสายกลาง ทำให้เสื่อมสภาพ ภารกิจ
แบบจำลองกริดของการบริหาร (Management grid model) ตำแหน่งสำคัญในกริดของการบริหาร (1,1) ผู้นำแบบทำให้เสื่อมสภาพ (Impoverished) (9,1) ผู้นำแบบภารกิจ (Task) (1,9) ผู้นำแบบสโมสร (Country-club) (5,5) ผู้นำแบบเดินสายกลาง (Middle-of-the-road) เป็น (9,9) ผู้นำแบบหมู่คณะ (Team) 1,1 ผู้นำแบบทำให้เสื่อมสภาพ (Impoverished) เป็นผู้นำแบบที่ใช้ความพยายามเพียงเล็กน้อยในการทำงาน เป้าหมายของผู้บริหารประเภทนี้คือหลีกเลี่ยงความวุ่นวาย โดยทำเพียงแค่ถ่ายทอดคำสั่งไปยังผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา 9,1 ผู้นำแบบภารกิจ (Task) เป็นผู้นำที่เน้นความมีประสิทธิภาพของงานแต่มีความสนใจเพียงเล็กน้อยต่อการพัฒนาขวัญและกำลังใจของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา 1,9 ผู้นำแบบสโมสร (Country-club) เป็นผู้นำประเภทที่ใส่ใจอย่างมากต่อการสนับสนุนและเอาใจใส่ลูกน้อง สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร แต่ไม่ค่อยสนใจต่อประสิทธิภาพของการทำงาน 5,5 ผู้นำแบบเดินสายกลาง (Middle-of-the-road) เป็นผู้นำที่รักษาประสิทธิภาพงานและขวัญกำลังใจอย่างพอเพียง มุ่งความสมดุลของความต้องการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาและประสิทธิภาพของงานไปพร้อมๆกัน 9,9 ผู้นำแบบหมู่คณะ (Team) เป็นผู้นำที่เน้นทั้งประสิทธิภาพงานและขวัญกำลังใจของพนักงาน
ทฤษฎีเชิงสถานการณ์ ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของฟีดเลอร์ ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์ชี่ย์และแบลนชาร์ด
ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของฟีดเลอร์ ประกอบด้วย การแยกประเภทผู้นำ ใช้มาตราส่วน LPC (Least Preferred Coworker) ซึ่งวัดโดยใช้แบบสอบถาม ผู้มี LCP ต่ำจะเน้นความสำเร็จของงานแม้จะสูญเสียความสัมพันธ์ ผู้มี LPC สูงจะได้รับความพอใจและความสำเร็จจากความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การแยกประเภทสถานการณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำ-สมาชิก (Leader-member relations) โครงสร้างของงาน (Task structure) อำนาจตามตำแหน่ง (Position power) แบบจำลองที่ระบุว่าผู้นำประเภทไหนจะเหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์อะไร
ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของฟีดเลอร์ สถานการณ์เอื้ออำนวยมาก สถานการณ์เอื้ออำนวยปานกลาง สถานการณ์เอื้ออำนวยมาก
ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์ชี่ย์และแบลนชาร์ด แบ่งผู้ตามเป็นสี่กลุ่มตาม วุฒิภาวะ (Maturity) ซึ่งหมายถึงความสามารถ (ability) สมัครใจ (willingness)ในการทำงาน แบบจำลองนี้ถูกเสนอโดย เฮอร์ซี่และแบลงชาร์ด (Hersey and Blanchard) พวกเขาเสนอทฤษฎีที่สนใจที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ภาวะผู้นำที่เหมาะสมนั้นจะต้องมากจากวิธีการนำที่เหมาะสมกับผู้ตามกล่าวคือขึ้นตามสถานการณ์นั่นเอง แบบจำลองนี้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในการอบรบพนักงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา เช่น ในบริษัท ไอบีเอ็ม (IBM), โมบิล (Mobil Oil), ซีร็อกซ์ (Xerox ) ผู้ตามหรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาถูกแบ่งเป็นสี่กลุ่มตาม วุฒิภาวะ (Maturity) ซึ่งหมายถึงความสามารถ (ability) และ สมัครใจ (willingness)ในการทำงาน ดังแสดงในรูปที่ 5-6
ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์ชี่ย์และแบลนชาร์ด แบ่งผู้นำเป็นสี่กลุ่มได้แก่ สั่งงาน (Telling) ชักจูง (Selling) มีส่วนร่วม (Participating) มอบหมายงาน (Delegating)
ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์ชี่ย์และแบลนชาร์ด ผู้ตามในแต่ละกลุ่มมีความเหมาะสมกับผู้นำที่แตกต่างกันตามแบบจำลองภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (รูปที่ 5-6) ดังนี้ M1 บุคคลในกลุ่มนี้ไม่มีความสามารถ และไม่สมัครใจในการรับความรับผิดชอบหรือไม่มีความมั่นใจที่จะทำอีกด้วย ลักษณะของผู้นำที่เหมาะสมคือผู้นำแบบสั่งงาน (Telling) เป็นผู้นำที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการทำงานสูงแต่มีพฤติกรรมความสัมพันธ์ต่ำ ซึ่งจะเป็นผู้นำที่บอกกล่าวกับผู้ตามว่าต้องการให้พวกเขาทำอะไร ทำเมื่อไหร่ และทำอย่างไร M2 บุคคลในกลุ่มนี้ไม่มีความสามารถ แต่มีความสมัครใจในการทำงาน กล่าวคือมีแรงจูงใจให้ทำงานแต่ยังไม่มีทักษะที่เหมาะสม จึงเหมาะกับผู้นำแบบชักจูง (Selling) ซึ่งเป็นผู้นำที่มีพฤติกรรมการทำงานและพฤติกรรมความสัมพันธ์สูง กล่าวคือเป็นผู้นำที่มีอัธยาสัยดี เป็นห่วงผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา มีการแนะนำและสอนวิธีการในการทำงานต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา M3 บุคคลในกลุ่มนี้มีความสามารถ แต่ไม่มีความสมัครใจ ผู้นำที่เหมาะสมคือผู้นำแบบมีส่วนร่วม(Participating) ซึ่งมีพฤติกรรมเกี่ยวกับงานต่ำ แต่มีพฤติกรรมความสัมพันธ์สูง ผู้นำกลุ่มนี้จะมีการปรึกษาหารือกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และจำข้อเสนอของพวกเขาไปพิจารณาก่อนตัดสินใจ หน้าที่ของผู้นำในกลุ่มนี้ส่วนมากคือการอำนวยความสะดวกและการติดต่อสื่อสาร M4 บุคคลในกลุ่มนี้มีความสามารถ และมีความสมัครใจที่จะทำงาน ผู้นำที่เหมาะสมกับบุคคลในกลุ่มนี้ได้แก่ผู้นำแบบมอบหมายงาน (Delegating) ซึ่งเป็นผู้นำประเภทที่พฤติกรรมเกี่ยวกับงานและความสัมพันธ์ต่ำ ผู้นำประเภทนี้จะตั้งเป้าหมายที่ท้าทายให้แก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และคาดหวังว่าพวกเขาจะทำงานอย่างเต็มกำลังเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น โดยให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเพียงเล็กน้อย
ทฤษฎีเชิงปฏิรูป ความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป กระบวนการปฏิรูป ผู้นำเชิงบารมี การพิจารณาส่วนบุคคล การกระตุ้นความคิดเห็น กระบวนการปฏิรูป การสร้างวิสัยทัศน์ (Visioning) การถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Articulating) การบันดาลใจ (Inspiring) การกระจายอำนาจติดต่อสื่อสาร (Empowering and Communication)
Questions? Thank you NEXT WEEK: การบริหารเชิงกลยุทธ์ Strategic Management