โรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน คณิตศาสตร์ (ค33101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สอนโดย ครูปพิชญา คนยืน โรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 สถิติ
การนำเสนอข้อมูล (presentation of data) คือ การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ มาแสดงให้ปรากฏแก่ผู้อื่น หรือสาธารณชนซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เพื่อให้ผู้พบเห็นนำ
หรือต้องการนำไปใช้ ได้ประโยชน์ตามที่คิดว่าเหมาะสมแก่กรณี เช่น -นำเสนอเป็นบทความ(text)ได้แก่ การเขียนบรรยายบอกเรื่องราวเป็นรายงาน เขียนจดหมาย เรียงความ
-นำเสนอเป็นตาราง(table) ได้แก่ การนำรายละเอียดรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ ดูง่าย ได้รายละเอียดชัดเจน เป็นที่นิยมใช้มาก
-นำเสนอเป็นรูปรอย(graph) เรียกทับศัพท์ว่า กราฟ(ที่เกิดจากการเขียนหรือวาด)เช่น กราฟรูปภาพ กราฟเส้น กราฟแท่ง หรือกราฟวงกลมที่เคยศึกษามา
การนำเสนอเป็นกราฟ -กราฟรูปภาพ หลักการคือ เสนอข้อมูลอะไรก็ใช้รูปภาพของข้อมูลนั้น นิยมใช้เป็นภาพทึบ 1ภาพใช้แทนปริมาณข้อมูลเท่าใดถ้าแสดงไม่เต็มปริมาณตัดภาพให้ลดลงตามส่วน
แทนด้วย 500 ดวง -กราฟเส้น(line graph)หลักการคือ ลงจุดของแต่ละคู่ลำดับ แล้วโยงเส้นไปตามจุดเหล่านั้น(อาจเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้ง)
-กราฟแท่ง(bar graph) หรือแผนภูมิแท่ง(bar chart)หลักคือใช้ความยาวของแท่งแทนปริมาณของข้อมูลทุกแท่งยาวเท่ากัน อาจมีมากกว่า 2 แท่งเขียนตัวเลขแสดงปริมาณข้อมูลกำกับไว้ที่ปลายแท่ง
ตัวอย่าง
-กราฟวงกลม(circular graph) หรือกราฟแผนภูมิกง(pie chart) กราฟชนิดนี้นิยมใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบส่วนย่อยๆกับส่วนทั้งหมด หลักการคือ แบ่งวงกลมเป็นหลายส่วนด้วยรัศมี
และใช้พื้นที่ของแต่ละส่วนแทนปริมาณ (วงกลมมีลักษณะเหมือนขนมพาย หรือขนมกงทำให้มีผู้นิยมเรียกว่า pie chart) โดยนิยมใช้กราฟแสดงข้อมูลเป็นร้อยละ(percent)
แผนภูมิแสดงจำนวนคาบเรียนของแต่ละวิชาในหนึ่งสัปดาห์ของนักเรียน จะเป็นดังนี้
ตัวอย่าง แผนภูมิวงกลม
-แผนที่สถิติ(statistical map) หลักการคือ ระบายแผนที่ด้วยสีต่างๆแทนปริมาณข้อมูล(นิยมใช้สีเข้มแทนปริมาณที่มาก และใช้สีอ่อนลงตามลำดับแทนข้อมูลที่น้อยลงตามลำดับ)
พบกันใหม่วันพรุ่งนี้ เรื่อง สถิติ (ต่อ)