การเรียนทางคลินิก โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก การใช้ผังแนวคิด/ผังความคิด ในการฝึกปฏิบัติทางคลินิก ผศ.ดร. จินดารัตน์ ชัยอาจ ผศ.ดร. ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์
ขั้นตอน Clarifying terms: การทำความเข้าใจกรณีศึกษา อาจมีศัพท์หรือข้อความหรือผลตรวจที่ไม่เข้าใจ ต้องทำความเข้าใจกับเรื่องนั้นก่อน อาศัยความรู้เดิม
Define problem: นิยามปัญหา เป็นขั้นตอนของการตั้งประเด็นปัญหา ข้อสงสัยโดยใช้ความรู้เดิมและหาคำตอบในเรื่องที่สงสัย ผู้ป่วยมีปัญหาอะไรบ้าง ข้อมูลใดที่ทำให้คิดว่าผู้ป่วยมีปัญหานั้นๆ ข้อมูลต่างๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ปัญหานั้นมีสาเหตุจากอะไร ปัญหานั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องหาข้อมูลอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่
Analyze problem: การวิเคราะห์ประเด็นปัญหา/อาการผิดปกติของผู้ป่วยที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 2 เพื่อหาสาเหตุและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยอาศัยความรู้เดิม การค้นคว้าเพิ่มเติม และการคิดอย่างมีเหตุผล
การตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ภายหลังจากการวิเคราะห์ปัญหาอย่างละเอียดแล้ว ให้เขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลตามที่ได้วิเคราะห์
การกำหนดวัตถุประสงค์ของการพยาบาล: เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยตามที่ตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลไว้ กำหนดเกณฑ์การประเมินผล กำหนดกิจกรรมการพยาบาล ให้การพยาบาลตามกิจกรรมที่กำหนดไว้
การประเมินผล รวมทั้งข้อมูลใหม่ ถ้ามี รวบรวมข้อมูลตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อ การประเมินผล รวมทั้งข้อมูลใหม่ ถ้ามี เขียนรายงานความก้าวหน้า ปรับแผนและ เพิ่มเติมปัญหาใหม่
ผังความคิด/ผังแนวคิด Concept mapping: ขบวนการของการวิเคราะห์ความหมาย ของความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดหลายๆ แนวคิด Concept map: ภาพแสดงขบวนการวิเคราะห์ความคิดและ การแปลผลข้อมูล Major concept อยู่ตรงกลาง โดยมี concept ที่เกี่ยวข้องอยู่ รอบๆ
จัดกลุ่มของความคิด (Ideas Grouping) รวมทั้งการจัดลำดับช่วงชั้นของความคิด (Basic Ordering Ideas - BOIs) การวิเคราะห์แผนที่มโนทัศน์ เป็นขั้นตอนที่จะวิเคราะห์คุณภาพของความคิด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Relationship) วิเคราะห์ประเด็นเชื่อมโยง หรือเกี่ยวข้อง รวมทั้งวิเคราะห์ส่วนขาด หรือสิ่งที่ตกหล่น ยังไม่มีใครมอง
แผนที่ความคิด (concept map หรือ mind map) เป็นแผนภาพหรือแผนภูมิสองมิติที่สร้างขึ้นจากการจัดเรียงแนวคิดหลักเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด แผนที่ความคิดช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้ข้อมูลที่มีมากมาย มาสังเคราะห์ให้เป็นองค์รวมที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลได้อย่างชัดเจน และช่วยในการเปลี่ยนผ่านการอ่านไปสู่การคิด
ผังความคิด วัตถุประสงค์ของการใช้ผังความคิด เพื่อเสนอความคิด เพื่อสื่อสารความคิดที่ซับซ้อน เพื่อช่วยในการเรียนโดยแสดงให้เห็นถึงการผสมผสาน ความรู้ใหม่และเก่า ช่วยในการประเมินความเข้าใจหรือวินิจฉัยความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
นอนราบไม่ได้ น้ำหนักเพิ่มขึ้น 3 กก ใน 2 วัน 2020