ภาวะโลกร้อน กับการดำเนินชีวิต จัดทำโดย นายก้องเกียรติ์ ดีเลิศ
“ภาวะโลกร้อน” ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่คนในสังคมโลก ยังให้ความสนใจไม่มากนักและที่สำคัญ คือ ยังมีคนจำนวนมากขาดความเข้าใจ ว่ามนุษย์ทุกคนในโลก มีส่วนร่วมกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพียงแต่จะมากหรือ น้อยนั้นย่อมแตกต่างกันไปตามพฤติกรรม และรูปแบบการ ดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลเช่น การอุปโภค บริโภค การใช้ยานพาหนะรวมถึงการใช้เครื่องอำนวยความสะดวกประเภทต่าง ๆ ยิ่งบุคคลใดอุปโภค บริโภคมากหรือใช้ชีวิตพึ่งพาสิ่งอำนวยความสะดวกมาก บุคคลผู้นั้นก็มี ส่วนทำให้เกิด“ภาวะโลกร้อน”มากขึ้นเท่านั้นเพราะสิ่งอุปโภค บริโภค และสิ่งอำนวยความ สะดวกทุกชนิดล้วนแล้วแต่ต้องผ่านกระบวน การผลิตทั้งสิ้น และในกระบวนการผลิตก็ย่อมก่อให้เกิดก๊าซพิษชนิดต่าง ๆ
โดยเฉพาะก๊าซเรือน กระจกที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิด “ภาวะโลกร้อน” จึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าการใช้ชีวิตที่เน้นการบริโภค และเน้นความสะดวกสบายมีส่วน ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ “ภาวะโลกร้อน” หากกล่าวถึง “ภาวะโลกร้อน” อาจกล่าวอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวเพิ่มเติมได้ว่า ขณะที่กระบวนการผลิตทำงานจะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกลอยขึ้นไปสะสมตัวในชั้นบรรยากาศ และเมื่อการสะสมตัวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ที่ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามา สะท้อนกลับออกไปนอกชั้นบรรยากาศได้น้อยลง พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์จึงถูกกักเก็บเอาไว้ใต้ชั้นบรรยากาศมากขึ้น อันเป็นเหตุให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ซึ่งนักวิชาการเรียกภาวะดังกล่าวว่า “ภาวะโลกร้อน”
ปรากฏการณ์ “ภาวะโลกร้อน” ได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่เป็นภัยกับ ปรากฏการณ์ “ภาวะโลกร้อน” ได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่เป็นภัยกับ มนุษย์หลายประการ เช่น น้ำท่วม ความแห้งแล้ง ลมพายุอุณหภูมิที่สูงขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและรุกตัวเข้ามาในแผ่นดิน โดยช่วงเวลาที่ผ่านมา “ภาวะโลกร้อน”ได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นในหลายพื้นที่ของโลก ดังข้อมูลที่สามารถรวบรวม สรุปได้ดังนี้
ภาวะโลกร้อน ทำให้มวลน้ำแข็งของ มหาสมุทร อาร์กติกบางลง ส่งผลกระทบต่อวิถีการล่าสัตว์ เช่น หมี ขั้วโลก แมวน้ำ และกวางคาริบู เพื่อการดำรงชีพของ พรานชาวอินูอิต หรือชาวเอสกิโมเนื่องจากแผ่นน้ำแข็งที่บางลงเกิดการแตก หักได้ง่ายทำให้เป็นอุปสรรคต่อการล่าสัตว์นอกจากนี้สัตว์ดัง กล่าวก็เริ่มมีจำนวนลดลงตามธรรมชาติเพราะไม่สามารถ ปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิที่สูงขึ้นได้
ภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ผู้สูงอายุในหลายประเทศของทวีปยุโรปเสียชีวิตไปจำนวน มากในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อน เนื่องจากไม่สามารถปรับตัว ได้กับอุณหภูมิที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ไม่ปกติที่เกิดขึ้นในรอบทศวรรษนี้ เช่น เกิดพายุเฮอริเคน แครีนา พัดเข้าสู่ชายฝั่งประเทศบราซิลเมื่อปี 2004 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิด พายุเฮอริเคนในตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก กรุงกาฏมาณฑุเมืองหลวงของ ประเทศเนปาล มีหิมะตกเป็นครั้งแรกในรอบ 62 ปี อุณหภูมิในมณฑลเสฉวน และมหานครจุงกิง ของประเทศจีนสูงเป็นประวัติการณ์ถึง38 องศาเซลเซียส เช่นเดียวกับประเทศเกาหลีใต้ ที่ประสบกับอุณหภูมิช่วงเทศกาลคริสต์มาสในปี 2006 สูงที่สุดในรอบ 100 ปี
ภาวะโลกร้อน ส่งผลให้นํ้าแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือละลายครั้งใหญ่ ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น และรุกตัวเข้าไปสู่แผ่นดิน ในหลายพื้นที่ของโลก ทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องอพยพย้ายถิ่น และสูญเสียที่ดินทำกินด้วย ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไป ในอนาคตสัดส่วน ของพื้นที่น้ำ 3 ส่วน ต่อแผ่นดิน 1 ส่วน อาจมีการเปลี่ยนแปลง