ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์ การที่จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรให้ก็ได้ภายในพิสัยขอบเขตความสามารถของมัน แต่การสั่งนั้นจะต้องอาศัย "ภาษา" ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจความหมาย จะใช้ภาษาธรรมดาๆ อย่างที่พูดกันไปสั่งคอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถทำได้ในขณะนี้ แต่ในอนาคตอาจจะสั่งได้ ภาษาคอมพิวเตอร์นั้นมีมากมายหลายร้อยภาษา บางภาษาเป็นภาษาหลัก มีผู้ใช้ทั่วโลกมากมาย บางภาษาก็คิดขึ้นสำหรับใช้ในวงจำกัดมีผู้ใช้ไม่กี่คน และบางภาษาก็เป็นภาษาที่แตกแขนงออกมาจากภาษาอื่นๆ
ภาษาเป็นระบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสาร ใช้ภาษาเป็นการถ่ายทอดความต้องการของฝ่ายหนึ่งให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับทราบฉันใด เมื่อจะใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน ก็จะต้องสื่อสารให้คอมพิวเตอร์รู้โดยใช้ภาษาที่คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ฉันนั้น ภาษาดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer language) หรือภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม (Programming language)
คำสั่งที่คล้ายคลึงกันของภาษาคอมพิวเตอร์ คำสั่งรับข้อมูลและแสดงผล คำสั่งคำนวณ โปรแกรม คำสั่งที่มีการเลือกทิศทาง คำสั่งให้นำข้อมูลออก
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่พูดถึงนั้นแบ่งออกเป็นสองประเภทที่สำคัญ ภาษาเครื่อง เป็นภาษาที่ใช้กันมาตั้งแต่เริ่มมีคอมพิวเตอร์ใหม่ๆลักษณะทั่วไปก็คือใช้รหัสเป็นเลขฐานสองทั้งหมด ภาษามนุษย์ เมื่อการใช้ภาษาเครื่องเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและผิดพลาดง่าย มนุษย์ก็คิดหาวิธีทำหรือวิธีสื่อสารวิธีอื่นเพื่อให้ง่ายขึ้น จึงมีผู้คิดให้มีการทำโปรแกรมที่ใช้ภาษาที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ด้วยและจำได้ง่ายๆ
ภาษามนุษย์ ยังแบ่งเป็นอีก 4 ระดับ คือ 1. ภาษาระดับต่ำ หมายถึง ภาษาที่ยังใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก ภาษานี้ยังใช้สัญลักษณ์ต่างๆแทนตัวเลขฐานสองซึ่งยุ่งยาก เช่น ถ้าสั่งให้บวกก็ใช้สัญลักษณ์ A ถ้าสั่งให้ลบก็ใช้สัญลักษณ์ S เป็นต้น ภาษาที่ใช้สัญลักษณ์เช่นนี้ เรียกว่า mnemonic code อย่างไรก็ตามภาษานี้มีเพียงภาษาเดียว คือ ภาษาแอสเซมบลี้ (Assembly language) เมื่อคอมพิวเตอร์รับคำสั่งภาษาแอสเซมบลี้เข้าไปแล้ว ก็จะต้องส่งไปให้ตัวแปลที่มีชื่อว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler) ถอดรหัสให้เสียก่อน คอมพิวเตอร์ก็จะเข้าใจ โปรแกรมที่เขียนส่งเข้าไปให้ตอนแรก เรียกว่า โปรแกรมดิบ (Source program) และโปรแกรมที่แปลเป็นภาษาเครื่องแล้ว เรียกว่า โปรแกรมผล (Object program)
2. ภาษาระดับสูง (High Level Language) เป็นภาษาที่ใช้ง่ายขึ้นกว่าภาษาสัญลักษณ์ โดยผู้คิดค้นภาษาได้ออกแบบคำสั่ง ไวยากรณ์ และกฏเกณฑ์ต่างๆ ออกมาให้รัดกุม และจำได้ง่าย ภาษาระดับสูงนี้ยังอาจจะแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท เช่น ประเภทที่เหมาะกับงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ได้แก่ ภาษา Fortran ภาษา BASIC ภาษา PASCAL ภาษา C ประเภทที่เหมาะกับงานธุรกิจได้แก่ ภาษา COBOL ภาษา RPG ประเภทที่เหมาะกับงานควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ได้แก่ ภาษา C โปรแกรมที่จัดทำขึ้นโดยใช้ภาษาระดับนี้ก็เช่นเดียวกับโปรแกรมภาษาสัญลักษณ์คือ จะต้องใช้ตัวแปลภาษาแปลให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่องก่อน คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจและทำงานให้ได้ ภาษาระดับสูงได้แก่
ภาษาเบสิค (BASIC ย่อมาจาก Beginnig's All Purpose Symbolic Instruction Code) ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN คำนี้ย่อมาจาก Formular Translator) ภาษาโคบอล (COBOL คำนี้ย่อมาจาก Common Business Oriented Language) ภาษาพีแอล/วัน (PL/I ย่อมาจาก Programming Language/One) ภาษาปาสคาล (Pascal language)
ภาษาอาร์พีจี (RPG ย่อมาจาก Report Program Generator) ภาษาอัลกอล (ALGOL ย่อมาจาก Algolithmic Language) APL ย่อมาจาก A Programming Language APT ย่อมาจาก Automatically Programmed Tool ภาษาซี C
3. ภาษาระดับสูงมาก (Very High Level Language) นอกจากนี้ยังมีภาษาที่ถือว่าอยู่ในระดับที่ 4 คือภาษาระดับสูงมาก (Very High Level Language) เป็นภาษาที่ทำให้ใช้ง่ายมากขึ้น คือถึงขั้นที่ ไม่จำเป็นจะต้องเขียนคำสั่งเป็นลำดับขั้นตอนเหมือนการใช้ภาษาทั้ง 3 ระดับข้างต้น เพียงแต่บอกว่าต้องการอะไรก็พอ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะเป็นผู้ทำงานให้ตามที่กำหนดไว้ในโปรแกรมเอง ภาษารุ่นนี้นิยมเขียนย่อๆ ว่า 4GL หรือ Fourth Generation Language หรืออีกนัยหนึ่งคือ ภาษารุ่นที่สี่ เช่น ภาษาลิป (LIPS) เป็นต้น ในปัจจุบันนิยมนำมาใช้เขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์
4. ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)