ประเพณีลอยเรือ
ความสำคัญ ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่ สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของ ชาวอูรักลาโว้ย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อถึงเวลา ที่กำหนดสมาชิกในชุมชนและญาติ พี่น้องที่แยกย้ายถิ่นไปทำมาหากิน ในแถบทะเล และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันจะพากันเดินทางกลับมายังถิ่นฐาน เพื่อประกอบพิธีนี้
สาระ ประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่ สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษอันเกี่ยวเนื่องกับตำนานความเชื่อความเป็นมาและวิถีชีวิตทุกอย่างของชาวเลอูรักลาโวย การจัดพิธีฉลองเรือก็เพื่อการสะเดาะเคราะห์ ส่งวิญญาณกลับสู่บ้านเมืองเดิม และการส่งสัตว์ไปไถ่บาป
สาระ เรือปลาจั๊กที่ทำขึ้นในพิธีลอยเรือ ทำจากไม้ตีนเป็ดและไม้ระกำเป็นสัญลักษณ์ของ "ยาน" ที่จะนำวิญญาณของคนและสัตว์ไปสู่อีกภพหนึ่ง มีชิ้นไม้ระกำที่สลักเสลาอย่างสวยงามเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ประดับประดา อยู่ในเรือ
พิธีกรรม ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ช่วงเช้า ชาวเล จะเดินทางไปบริเวณที่จะทำพิธี ผู้หญิงจะทำขนม ผู้ชายจะสร้างและซ่อมแซมที่พักชั่วคราว ช่วงเย็น ทั้งหญิงและชายจะไปรวมกันที่ศาลบรรพบุรุษเพื่อนำอาหารเครื่องเซ่นไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษเป็นการบอกกล่าวให้มาร่วมพิธีลอยเรือ
พิธีกรรม เช้าของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งเดินทางไปตัดไม้ เพื่อนำไม้มาทำเรือแล้วจะแห่ไม้ไปวนรอบศาลบรรพบุรุษเพื่อนำกลับมาทำเรือ "ปลาจั๊ก" คืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ มีพิธีฉลองเรือ โต๊ะหมอจะทำพิธีในช่วงเริ่มฉลองเรือและมีพิธีสาดน้ำตอนเที่ยงคืน (เลฮฺบาเลฮฺ) และทำพิธีอีกครั้งในช่วงเช้าตรู่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ก่อนนำเรือไปลอยในทิศทางลมซึ่งแน่ใจว่าเรือจะไม่ลอยกลับเข้าฝั่ง หลังจากนั้นแยกย้ายกันนอนพักผ่อน
พิธีกรรม บ่ายวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ผู้ชายส่วนหนึ่งแยกย้ายไปตัดไม้และหาใบกะพร้อเพื่อทำไม้กันผีสำหรับทำพิธีฉลองในเวลากลางคืน โดยมีพิธีกรรมเหมือนกับพิธีฉลองเรือทุกประการ จนกระทั่งใกล้จะสว่างโต๊ะหมอจะทำพิธีเสกน้ำมนต์ทำนายโชคชะตา และสะเดาะเคราะห์ให้สมาชิกที่เข้าร่วมพิธีก่อนจะอาบน้ำมนต์ และแยกย้ายกันกลับบ้านโดยนำไม้กันผีไปปักบริเวณรอบหมู่บ้านด้วย
วิธีดำเนินการ 1. ระดมสมองในกลุ่มเพื่อหาประเด็นที่จะจัดทำ 2. หาแหล่งทรัพยากรที่ใช้ในการเรียนรู้ 3. เขียนบทและStoryboard 4. ลงพื้นที่ในการถ่ายทำ 5. ตัดต่อภาพและลงเสียง 6. นำผลงานมาร่วมกันอภิปราย 7. ส่งผลงาน
สมาชิกในกลุ่ม 1. นายนิพนธ์ บริเวธานันท์ 2. นายรอบรู้ คู่อ่าน 3. นางสาวฟังดี มีเหตุผล อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์.........................................
แหล่งการเรียนรู้ 1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต 2. ประเพณีไทย.คอม 3. ชุมชนอูรักละโว้ย จ.ภูเก็ต
อ้างอิง ประเพณีท้องถิ่น. พฤศจิกายน 3, 2510, ประเพณี.คอม, http://www.prapayneethai.com/th/tradition/south/view.asp?id=0669 ภูมิปัญญาท้องถิ่น. พฤศจิกายน 3, 2510, ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต, http://phuket-knowledge.freevar.com/phuket-fetivel.html องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. พฤศจิกายน 3, 2510, จังหวัดภูเก็ต, http://www.phuketcity.org/