สถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยา เสนอ อาจารย์วชิราวรรณ บุนนาค
๑๑-๗ สมาชิก นันทวัฒน์ จันทร์โชติญาณ ปนัสยาญ์ เจริญฐิติวงศ์ ศิขรินทร์ กุรุง เขมณัฏฐ์ โรหิตเสถียร วรรษวัลย์ สังขพงษ์ ธนภัทร ตั้งเริก ๑๑-๗
สถาปัตยกรรมไทยสมัยอยุธยาสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ยุค คือ อยุธยาตอนต้น อยุธยาตอนกลาง อยุธยาตอนปลาย วัดมหาธาตุ สร้างสมัยอยุธยาตอนต้น ที่อยู่อาศัยของประชาชน
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1893 จนถึงสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถใน พ.ศ.2031 ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบศิลปะลพบุรี หรือศิลปะเขมร กับศิลปะอู่ทองนิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัด โดยมีลักษณะปรางค์เลียนแบบเขมรแต่สูงชะลูดกว่า โบสถ์ วิหาร สมัยอยุธยาตอนต้นนิยมทำขนาดใหญ่มากเป็นอาคารโถงสี่เหลี่ยม ตัวอาคาร ผนัง เสา ก่อด้วยอิฐ ผนังอาคารเจาะเป็นช่องแคบๆ คล้ายซี่กรงเรียกว่า ลูกฟัก เพื่อ ให้มีทางระบายลมและให้แสงแดดส่องผ่านเข้าไปได้บ้าง ยังไม่มีการเขียนภาพจิตรกรรมตกแต่ง ตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ปรางค์ประธานวัดพุทไธศวรรย์ ปรางค์ประธานวัดมหาธาตุ
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น วัดไชยวัฒนาราม สร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง แต่กล่าวได้ว่าเป็นการนำเอาพระปรางค์ที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้างอีกครั้งหนึ่ง
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง เริ่มตั้งแต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จ ขึ้นครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลกใน พ.ศ.2006 จนถึงสมัยพระเจ้าปราสาททองใน พ.ศ.2172 สถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย โดยหันไปนิยมเจดีย์ทรงลังกาแทนปรางค์แบบเขมร อาคารลดขนาดเล็กลงจากสมัยอยุธยาตอนต้น ก่อผนังทึบ เจาะช่องระบายลมแคบๆ มีประตู 2-3 ช่อง ตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง พระมหาสถูปสามองค์วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระเจดีย์ใหญ่ชัยมงคล
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย เริ่ม ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ.2172 จนสิ้นสมัยอยุธยาใน พ.ศ.2310 เป็นช่วงเวลาที่ศิลปะเขมรเข้ามามีอิทธิพลในศิลปะอยุธยาอีกครั้ง โดยเฉพาะรูปแบบสถาปัตยกรรมปรางค์ นิยมสร้างพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง นับเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมอยุธยา ฐานอาคารนิยมทำ เป็นรูปโค้งคล้ายท้องเรือ ถือเป็นลักษณะเฉพาะของอาคารสมัยนี้ มีการเจาะหน้าต่างที่ผนังอาคาร ตกแต่งซุ้มประตูหน้าต่างอย่างประณีต ใช้กระเบื้องเคลือบมุงหลังคา มีการติดต่อค้าขายกับยุโรปมากขึ้นทำให้ได้รับวิทยาการใหม่ๆ มีการนำศิลปะการก่อสร้างอาคารของยุโรปมาผสม เช่น การเจาะหน้าต่างโค้งแบบศิลปะกอทิกและใช้หน้าต่างถี่ขึ้น เกิดการสร้างอาคาร 2 ชั้น โบสถ์ วิหารที่สร้างขึ้นใหม่มีหลายแห่ง ตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ปราสาทพระนครเหนือ เจดีย์พระศรีสุริโยทัย
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์วัดพุธไธศวรรย์
สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยของประชาชน นิยมสร้างเป็นเรือนชั้นเดียว ยกพื้นสูงใต้ถุนโปร่ง มี 2 ลักษณะ คือ เรือนเครื่องผูก ปลูกด้วยไม้ไผ่ ใช้เส้นหวายและตอกเครื่องผูกรัด เป็นที่อยู่ของชาวบ้านทั่วไป เรือนเครื่องสับ ปลูกด้วยไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้แดง การปลูกต้องอาศัยวิธีเข้าปากไม้ โดยบากเป็นปากเป็นร่องในตัวไม้แต่ละตัวแล้วนำมาสับประกบกัน เป็นเรือนของผู้มีฐานะดี
แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/stitchja555/bth-thi-3-yukh-smay-silpa-thiy/3-7-smay-xyuthya-phuthth-stwrrs-thi-18-23 http://writer.dek-d.com/freedom_spirit/story/viewlongc.php?id=565991&chapter=4 http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sjleo&group=4 http://watboran.wordpress.com/
ขอบคุณ