ธวัชชัย เอี่ยมไพโรจน์ วิธีการเขียนบทความ ธวัชชัย เอี่ยมไพโรจน์
เอกสารอ้างอิง เขียนบทความ อย่างไร ให้น่าอ่าน โดย ศ. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ การเขียนและการพูด เพื่อนำเสนองาน โดย รศ. งามพริ้ง รุ่งโรจน์ดี
บทความ (article) เป็นรูปแบบการเขียนประเภทหนึ่ง เป็นข้อมูลจริง ไม่ใช่เรื่องแต่งขึ้น เป็นข้อเขียนขนาดสั้น เป็นความเรียงของข้อเท็จจริง บทความไม่ใช่ข่าว
บทความทางวิชาการ (academic article) ยกประเด็นหนึ่งทางวิชาการมากล่าว เพื่อเสนอสิ่งใหม่ๆ เป็นการต่อยอดหรือทำให้แขนงวิชาชัดเจนขึ้น มีเจตนาที่จะปรับแนวคิดของผู้อ่าน มีเหตุผลที่พิสูจน์ได้
ประเภทของบทความ บทความทางวิชาการ บทความทั่วไป
โครงร่างของบทความทั่วไป ชื่อเรื่อง (Title) ส่วนเกริ่นนำ (Introduction) ส่วนเนื้อเรื่อง (Body) พื้นฐานทั่วไป วิเคราะห์ให้เหตุผล แสดงจุดยืนของผู้เขียน ส่วนสรุป (Summary)
ส่วนเนื้อเรื่อง: พื้นฐานทั่วไป ปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่จะกล่าวถึง เช่น กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อนำสู่ประเด็นที่ผู้เขียนจะวิเคราะห์ วิพากษ์ แสดงความคิดเห็น หรือเสนอแนะ แล้วแต่วัตถุประสงค์ของผู้เขียน
ส่วนเนื้อเรื่อง:วิเคราะห์ให้เหตุผล วิเคราะห์ข้อมูล การโต้แย้งข้อเท็จจริง การถกเถียง ส่วนนี้จะมีการใช้เหตุผล ใช้หลักฐานข้ออ้างเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้อ่าน
ส่วนเนื้อเรื่อง:แสดงจุดยืนของผู้เขียน เสนอความคิดเห็น/จุดยืน/ข้อเสนอแนะของผู้เขียน ต่อประเด็นที่นำเสนอ
บทความทางวิชาการ ชื่อเรื่อง (Title) บทคัดย่อ (Abstract) บทนำ (Introduction) การสำรวจวรรณกรรม (Review literature) การวางกรอบความคิด (Conceptual framework) การประยุกค์ / การนำเสนอแนวคิดใหม่ / การพิสูจน์ข้อเท็จจริง ฯลฯ (Application / Proposal for new idea / Proof etc) บทสรุป (Conclusion) เอกสารอ้างอิง (References)
วัตถุประสงค์ที่บทความมีต่อผู้อ่าน ความรู้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น แนวทางปฏิบัติ วิธีการแก้ปัญหา ข้อคิด แรงบันดาลใจ ข้อแนะนำ ข้อเสนอแนะ
บทความที่ดีพึงมีลักษณะดังนี้ มีเอกภาพ (Unity) มีสัมพันธภาพ (Connectivity) มีความถูกต้อง (Accuracy) มีความกระจ่าง (Clarity) มีความกระทัดรัด (Conciseness) มีความต่อเนื่อง (Continuity) มีการให้ความรู้ (Knowledge) มีความคงเส้นคงวา (Consistency) มีการใช้ภาษาที่เหมาะสม (Language Appropriateness) มีความน่าอ่าน (Attractiveness)
มีเอกภาพ (Unity) บทความต้องเสนอแนวความคิดหลัก(thesis)เพียง 1 ประเด็น ชื่อเรื่อง คำขึ้นต้น เนื้อหา บทสรุป ต้องสื่อแนวคิดหลัก ตาราง แผนภูมิ ฯลฯ ต้องสนับสนุนประเด็นหลัก ระมัดระวังอย่าให้มีตอนใดออกนอกเรื่อง ระมัดระวังอย่าให้มีการขัดแย้งกันเอง
มีสัมพันธภาพ (Connectivity) ข้อความทั้งหมดจะต้องสอดคล้องกันโดยตลอด การแสดงแนวคิดจะต้องเกี่ยวพันต่อกันเป็นห่วงโซ่ การเรียบเรียงเรื่องราวในแต่ละย่อหน้า แต่ละบท ต้องมีความเกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด
มีความถูกต้อง (Accuracy) เนื้อหาที่นำเสนอจะต้องถูกต้อง ใช้ถ้อยคำให้ถูกต้อง ใช้ข้ออ้างโต้แย้งที่มีเหตุผล ให้นิยามศัพท์ถูกต้องตามหลักสากล มีการอ้างอิงหรือใช้หลักฐานที่น่าเชื่อถือ
มีความกระจ่าง (Clarity) เนื้อหาและภาษาต้องชัดเจน ตรงไปตรงมา ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อม อย่านำเสนอในขอบเขตที่กว้างเกินไป
มีความกระทัดรัด (Conciseness) ไม่เยิ่นเย้อและเต็มไปด้วยข้ออวดอ้าง นิยมรูปแบบเรียบง่ายและกระชับ ใช้คำพูดสั้นๆ ที่ตรงความหมาย เลื่อกถ้อยคำสำนวนที่เหมาะสมไม่ยืดยาด
มีความต่อเนื่อง (Continuity) ดำเนินเนื้อเรื่องเป็นลำดับขั้นตอน แบ่งหัวข้อให้เหมาะสมกับประเด็นที่จะกล่าว อย่าเขียนย้อนไปย้อนมา
มีการให้ความรู้ (Knowledge) ต้องให้ความรู้ ความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ สาระต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ใช้ภาษาที่สนับสนุนการอธิบายความรู้นั้นๆ
มีความคงเส้นคงวา (Consistency) เนื้อหา รูปแบบ การใช้ภาษา การใช้หลักการในการอ้างอิง การใช้ศักราช หน่วยวัด คำย่อ ต้องเหมือนกันตลอดบทความ การใช้ศัพท์บัญญัติ หรือใช้ภาษาอังกฤษ ต้องเหมือนกันตลอดทั้งบทความ
มีการใช้ภาษาที่เหมาะสม (Language Appropriateness) ใช้ภาษาที่เป็นทางการ หรือค่อนข้างเป็นทางการ ไม่ควรใช้ภาษาพูด ยึดหลักการใช้ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
มีความน่าอ่าน (Attractiveness) รูปแบบ และเทคนิคทุกอย่าง ที่จะทำให้มีความน่าอ่าน