หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ค้ำจุนหนุนชีวิต

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศของ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม นางสาวพัชรี นาคทอง วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
Advertisements

ข้อสรุปหลักสูตรการอบรมการผลิต รายการเด็ก TV4Kids.
ชื่อผู้สอน : นางฐิติมา พิริยะ
มาตรฐานคุณภาพการสอน ของ คณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู (The National Board for Professional Teaching Standards) วิกฤติอาชีพครู พัฒนาวิชาชีพครู
การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานขาย
วิชา หลักการตลาด บทที่ 3
แนวทางการสอน เพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบการสอน
ชื่อเรื่อง : ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาการบัญชีบริหาร ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองการวางแผนงบประมาณในธุรกิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์
อัตราบรรจุ ข้าราชการ 2625 พนักงานราชการ 99 ลูกจ้างประจำ 77 รวม 4241 อัตราว่าง จำนวน 1 อัตรา ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ มาช่วย ราชการ น. ส. สุริยา.
บริโภคอย่างมีความสุข งานนำเสนอแฟ้มสะสมผลงาน
ยุทธศาสตร์ลดปัจจัยเสี่ยง ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ปี 2551
การขัดเกลาทางสังคมซ้ำเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ผู้วิจัย นภัสวรรณ บุญประเสริฐ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎี
ผู้วิจัย สิริภิญญ์ อินทรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ ปีการศึกษา 2556
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้กระบวนการคิด
กิจกรรมแนะแนวการศึกษาและ อาชีพ ม.5 โปรแกรมการพัฒนาการตระหนักรู้และ ความสามารถในการตัดสินใจเลือก อาชีพและศึกษาต่อ คุณครูสุนันท์ ปรารมย์
กลุ่ม การจัดการความรู้ ช่างอากาศ (KM) หน่วยงาน ฝ่ายการช่าง ฝูงบิน 461 กองบิน 46 คำขวัญ “ มุ่งหน้าแก้ไขข้อขัดข้อง เพื่อตอบสนองภารกิจ ”
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
จัดทำโดย นางสาวพิจิตรา ปันเต เลขที่ 18 นางสาวปิยธิดา อุตมา เลขที่ 19 ใบงานที่ 2 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของโครงงาน.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
หลักสูตรการอบรมวิทยากรตัวคูณ ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 ภาคกลางตอนบน ( วันที่สอง ) ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 9 – 11 มีนาคม 2558.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1 จุดเน้นและแนวทางการสร้าง ภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพ ติดในสถานศึกษา ปี 2557.
ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนอนุบาลนาแกผดุงราชกิจเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต ๑ ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ.
1. ด้าน หลักสูตร. จุดเน้นกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คุณภาพผู้เรียน “ คุณภาพผู้เรียน ที่ระบุในจุดเน้นมีอยู่ แล้วในหลักสูตร.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
โดย... นายวินิจ รักชาติ อดีตผู้อำนวยการ สำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จังหวัด กาญจนบุรี
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ชุมชนปลอดภัย.
ง21101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 1 เจตคติต่อการประกอบอาชีพ
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง อันตรายของเสียง
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
เปิดบ้าน ชื่อโรงเรียน วันที่.
หมวดศึกษาทั่วไป ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ผู้สอน : อ.สำราญ ผลดี
ฝึกวิเคราะห์ย่อหน้า 1 การศึกษาทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งยังช่วยพัฒนาทางด้านความคิด สติปัญญา และสังคม ทั้งนี้การศึกษายังมีความสำคัญต่อการเป็นอยู่ เพราะรากฐานของความมั่นคงมาจากการได้รับการศึกษา.
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
การขับเคลื่อน ครอบครัวแกนนำคุณธรรม
SMS News Distribute Service
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
สัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
รายวิชา การบริหารการศึกษา
เรียนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
ทดสอบหลังเรียนพระพุทธหน่วย8
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
งานแนะแนว กับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
การใช้ชุดฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาการอ่านออกเสียงเสียงท้าย - ts , st
วัสดุและเทคนิค ทางการออกแบบ อ.สุวิธธ์ สาดสังข์ ( Material and
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT/O-NET)
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัย นางสาวนนทกานต์ ลีอุดมวงษ์ .
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ค้ำจุนหนุนชีวิต ชุดการเรียนการสอนรายวิชาสุขศึกษา (พ ๒๒๑๐๑) เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพในวัยเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ค้ำจุนหนุนชีวิต นางวันเพ็ญ คฤคราช ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร” อำเภอแกลง จังหวัดระยอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๘

คำนำ ชุดการเรียนการสอนรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพในวัยเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ค้ำจุนหนุนชีวิต สร้างขึ้นประกอบด้วยเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ในวัยรุ่น และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ในวัยรุ่น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ชุดการเรียนการสอนเล่มนี้ ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ การสร้างเสริมสุขภาพในวัยเรียน เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติมจากตำราเรียน มีคำถามทบทวนบทเรียน มีแบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระได้ด้วยตนเอง ตามความสนใจและศักยภาพของนักเรียนเอง ผู้จัดทำมีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้ผู้ที่ศึกษาชุดการเรียนการสอนเล่มนี้ ได้ผลบรรลุจุดมุ่งหมายทุกท่าน

สารบัญ เรื่อง หน้า คำแนะนำการใช้สำหรับครู ๑ เรื่อง หน้า คำแนะนำการใช้สำหรับครู ๑ คำแนะนำการใช้สำหรับนักเรียน ๒ เป้าหมายการเรียนรู้ ๓ มาตรฐานและตัวชี้วัด ๓ สาระสำคัญ ๓ สาระการเรียนรู้ ๓ แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน ๔ ความจำเป็นในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ๖ พฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ๖ กระบวนการป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ๗ บรรณานุกรม ๘ เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน ๙

คำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนสำหรับครู ๑ คำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนสำหรับครู จุดประสงค์ ๑. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทั้งนักเรียนที่เรียนดีและนักเรียนที่เรียนช้า ๒. ใช้ประกอบการสอนในแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนักเรียนจะได้ศึกษาหาค้นคว้า ปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรที่กำหนด ๓. ชุดการเรียนการสอนนี้สามารถนำไปประเมินผลการสอนผลผ่านจุดประสงค์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาได้ โดยประเมินจากแบบทดสอบ   วิธีใช้ ๑. ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล ให้เข้าใจ ๒. ชี้แจงให้นักเรียนอ่านคำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนอย่างละเอียด และปฏิบัติตาม ขั้นตอนจนจบ ๓. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ตามความเหมาะสมของกิจกรรม ๔. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียนตามขั้นตอน ถ้านักเรียนคนใดศึกษาชุดการเรียนการสอน แล้วยังไม่เข้าใจ ครูควรชี้แนะเสริมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติบ่อยๆ ทั้งที่บ้าน และโรงเรียน จะทำให้เข้าใจชุดการเรียนการสอนได้ดียิ่งขึ้น ๕. ผลการปฏิบัติกิจกรรมสามารถนำไปประกอบการพิจารณาผ่านจุดประสงค์โดยครูผู้สอน ๖. ประเมินผลกิจกรรมตามขั้นตอน

คำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน ๒ คำแนะนำการใช้ชุดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน จุดประสงค์ ๑. เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่าน และ การฝึกปฏิบัติไปใช้ในชีวิตประจำวัน ๒. นักเรียนปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับวัย   วิธีใช้ ๑. ศึกษาเนื้อหาและกิจกรรมในชุดการเรียนการสอน นักเรียนจะทราบว่า เมื่อเรียนจบ ทุกบทเรียนแล้วจะสามารถปฏิบัติกิจกรรมใดได้บ้าง ๒. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ตามความเข้าใจของตนเองแม้คำตอบผิดก็ไม่เป็นไร นักเรียน ต้องศึกษาบทเรียนจนจบทุกตอนแล้วจะสามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง ในขั้นตอนสุดท้าย ๓. ชุดการเรียนการสอนนี้เสนอเนื้อเรื่องเป็นส่วนย่อยๆ บรรจุลงเนื้อหาตามลำดับต่อเนื่องกันไป ๔. ในบางเนื้อหาจะมีคำถามง่ายๆ เพื่อเป็นการซักซ้อมความเข้าใจให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่ง ตอบคำถามแล้วตรวจคำตอบในหน้าต่อไป ๕. ถ้านักเรียนตอบคำถามถูก แสดงว่าเข้าใจดีแล้ว ให้อ่านเนื้อหาต่อไปได้ แต่ถ้าตอบคำถามผิด ต้องกลับไปอ่านเนื้อหาเดิมให้เข้าใจ ตอบคำถามอีกครั้งจนตอบถูก แล้วจึงอ่านเนื้อหาต่อไป ๖. ไม่ควรดูคำตอบก่อนตอบคำถามเป็นอันขาด เพราะจะทำให้นักเรียนไม่เข้าใจบทเรียน อย่างแท้จริง ๗. บางบทเรียนมีคำแนะนำให้นักเรียนไปฝึกปฏิบัติด้วย นักเรียนต้องลองปฏิบัติให้ได้ตาม คำแนะนำ จะทำให้เกิดความรู้และเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

๓ ๑. เป้าหมายการเรียนรู้ เลือกใช้ทักษะชีวิตในการป้องกันตนเอง เช่น ทักษะปฏิเสธ ทักษะการต่อรอง ฯลฯ และหลีกเลี่ยงสถานการณ์คับขันที่อาจนำไปสู่อันตราย ๒. มาตรฐานและตัวชี้วัด มาตรฐาน พ ๕.๑ ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติดและความรุนแรง ตัวชี้วัด : สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ ใช้ทักษะชีวิตในการป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยงสถานการณ์คับขันที่อาจนำไปสู่อันตราย ๓. สาระสำคัญ คนเราทุกคนรักความปลอดภัยและกลัวความไม่ปลอดภัย แต่ความปลอดภัยนี้ ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นจากพฤติกรรมของตนเองว่ามีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยหรือไม่ แต่อีกส่วนหนึ่งก็มาจากสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ ซึ่งบางอย่างไม่สามารถควบคุมได้ ควรหลีกเลี่ยง จากพฤติกรรมที่อาจทำให้ไม่ปลอดภัย ตลอดจนความขัดแย้งและการทะเลาะวิวาทในกลุ่มเพื่อน ด้วยการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ๔. สาระการเรียนรู้ ๑. หลักของความปลอดภัย ๒. คุณค่าของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชน ๓. กลวิธีในการป้องกันเพื่อสร้างความปลอดภัยต่อสุขภาพ ๔. สวัสดิภาพในการเดินทาง ๕. ภัยธรรมชาติ ๖. ความขัดแย้งและการทะเลาะวิวาทในกลุ่มเพื่อน ๗. แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ๘. การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน ๔ แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย  ลงในตัวเลือก ก. ข. ค. และ ง. ที่ถูกต้องที่สุด ๑. บุคคลในข้อใดอยู่ในมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่ออันตราย ก. ออมไปเรียนดนตรีไทยทุกวันอาทิตย์ ข. อ้อมไปทำบุญที่วัดกับคุณยายในวันพระ ค. อั้มชวนเพื่อนๆ มาเล่นฟุตบอลหลังเลิกเรียน ง. อ้นชอบไปเล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่ร้านอินเทอร์เน็ตเป็นประจำ ๒. การมั่วสุมเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดผลเสียมากมาย ยกเว้นข้อใด ก. ผลการเรียนตกต่ำ ข. ใช้คอมพิวเตอร์ได้เก่งขึ้น ค. เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ง. เกิดพฤติกรรมเลียนแบบความรุนแรงจากเกมคอมพิวเตอร์ ๓. หากนักเรียนต้องการพักผ่อน นักเรียนควรไปสถานที่ใด เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยง ก. สวนสาธารณะ ข. บ่อนการพนัน ค. สถานเริงรมย์ต่างๆ ง. ร้านเกมคอมพิวเตอร์ ๔. ข้อใดไม่ใช่ปัญหาและผลกระทบจากการแข่งขันรถจักรยานยนต์บนท้องถนน ก. ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง และเกิดปัญหาการจราจร ข. ได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันรถจักรยานยนต์ ค. การจราจรติดขัด และอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ง. อาจถูกตำรวจจับดำเนินคดีได้ ๕. ใครหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยงต่ออันตรายได้อย่างเหมาะสม ก. สนชอบนัดเพื่อนไปดื่มเหล้าในตึกร้าง ข. สาวไปไหนกับเพื่อนๆ เป็นกลุ่มใหญ่เสมอ ค. นุ่นชอบไปเที่ยวสถานที่ที่มีคนเยอะๆ เพราะทำให้รู้สึกคึกคัก ง. นิ่มคบเพื่อนที่มีความประพฤติดีและอยู่ในทำนองคลองธรรม

๕ ๖. ทักษะชีวิต คืออะไร ก. การฝึกฝนทุกอย่างให้ชำนาญ ข. การยอมทำตามผู้อื่น เพื่อให้ได้รับการยอมรับ ค. ทักษะการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ง. การเข้าใจความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ ตามหลักพระพุทธศาสนา ๗. บุคคลที่มีทักษะชีวิตที่ดีจะเป็นอย่างไร ก. เป็นคนดี ข. เป็นคนเก่ง ค. เป็นคนที่มีคนรักมาก ง. เป็นคนที่อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ๘. กลวิธีในการป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยงมีหลายประการ ยกเว้นข้อใด ก. ทักษะการคิด ข. ทักษะการต่อสู้ ค. ทักษะการต่อรอง ง. ทักษะการปฏิเสธ ๙. ทักษะการปฏิเสธในข้อใดมีความสำคัญในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ก. ปฏิเสธที่จะแข่งขันรถจักรยานยนต์ ข. ปฏิเสธที่จะไปมั่วสุมเล่นการพนัน ค. ปฏิเสธที่จะใช้อินเทอร์เน็ต ง. ปฏิเสธที่จะใช้สารเสพติด ๑๐. นักเรียนคิดว่า เราควรนำสิ่งใดมาใช้ร่วมกับทักษะการคิดตัดสินใจ และแก้ปัญหา เพื่อให้ สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยงได้อย่างเหมาะสม ก. ความรอบรู้ และประสบการณ์ชีวิต ข. ความมุ่งมั่น และประสบการณ์ชีวิต ค. ความมั่นคง และความกล้าหาญ ง. ความรอบรู้ และความกล้าหาญ

ความจำเป็นในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ๖ ความจำเป็นในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงเป็นการกระทำของบุคคลที่มีโอกาสที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่นได้มาก เช่น การขับรถเร็ว การหลับใน การเมาแล้วขับ เป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การยอมให้โอบกอด สัมผัสร่างกาย เป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ สถานการณ์เสี่ยงเป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสจะนำไปสู่การเกิดอันตรายต่อตนเอง หรือผู้อื่นได้มาก เช่น การอยู่ในเหตุการณ์ที่มีการทะเลาะวิวาท อาจถูกลูกหลงจนบาดเจ็บ พิการหรือเสียงชีวิต การเดินทางทางเรือข้ามไปยังเกาะขณะมีลมพายุ เรืออาจล่มได้ เราต้องรู้จักหลักเลี่ยงพฤติกรรมและสถานการณ์ต่างๆ ที่จะนำไปสู่อันตราย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพราะมีบุคคลจำนวนมากที่ต้องสูญเสียทรัพย์สิน บาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิต อันเนื่องมาจากพฤติกรรมเสี่ยงของตนเองหรือของผู้อื่น และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย พฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ๑. การมั่วสุม การมั่วสุมเป็นการรวมกลุ่มกันทำในสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งการมั่วสุมของวัยรุ่น มีหลายลักษณะ ดังนี้ ๑.๑ การมั่วสุมเสพสารเสพติด ๑.๒ การมั่วสุมเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ๑.๓ การมั่วสุมในเรื่องเพศ ๑.๔ การมั่วสุมเพื่อยกพวกตีกัน ๑.๕ การมั่วสุมในที่สาธารณะ ๑.๖ การมั่วสุมในห้องน้ำของโรงเรียน ๑.๗ การมั่วสุมตามงานต่างๆ

กระบวนการป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ๗ ๒. การทะเลาะวิวาท ๒.๑ การทะเลาะวิวาทในกลุ่มเพื่อน ๒.๒ การทะเลาะวิวาทในกลุ่มของคนที่อยู่สถาบันเดียวกัน ๒.๓ การทะเลาะวิวาทในกลุ่มของคนต่างสถาบัน ๓. การเข้าไปในแหล่งอบายมุข ๓.๑ การดื่มสุรา ๓.๒ การเที่ยวกลางคืน ๓.๓ การดูการเล่น ๓.๔ การเล่นการพนัน ๓.๕ การคบคนชั่วเป็นมิตร ๓.๖ ความเกียจคร้าน ๔. การแข่งขันรถจักรยานยนต์บนท้องถนน ๕. การเข้าไปในฝูงชน กระบวนการป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ๑. กระบวนการคิด หมายถึง ระบบการคิดสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่สำคัญ การใช้เหตุผลอย่างถูกต้องเหมาะสม และตัดสินใจอย่างมีเป้าหมายที่ดีในแต่ละสถานการณ์ของชีวิต ๒. ทักษะชีวิต หมายถึง ความสามารถทางสติปัญญาที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้ในการเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถพัฒนาขึ้นได้ด้วยการฝึกและกระทำซ้ำๆ จนเป็นลักษณะนิสัย ทักษะชีวิตประกอบด้วยทักษะต่างๆ เช่น การรู้จักตนเอง การเข้าใจตนเอง การรู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดสร้างสรรค์ ๓. การคาดคะเน หมายถึง การคาดเหตุการณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคาดคะเนแล้วว่าจะเป็นการเสี่ยงต่ออันตรายและไม่ปลอดภัยก็ควรที่จะหลีกเลี่ยง เช่น เพื่อนชวนไปเที่ยวกลางคืน ๔. การต่อรอง หมายถึง การเจรจาเพื่อให้สถานการณ์ที่คับขันดีขึ้น หรือการเจรจาเพื่อหลักเลี่ยงสถานการณ์ที่เสี่ยง การใช้ทักษะการต่อรอง เช่น เมื่อมีคนเมายาบ้า คนที่เครียดจัดหรือโจรผู้ร้ายมีการจี้ตัวประกัน ๕. การปฏิเสธ เป็นทักษะสำคัญในการเอาตัวรอด หรือหลีกเลี่ยงต่อสถานการณ์เลวร้ายที่จะเข้ามาในชีวิตทักษะการปฏิเสธนี้สามารถใช้ได้กับทุกเรื่องที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น การปฏิเสธการใช้สารเสพติด การปฏิเสธที่จะเล่นการพนัน

๘ บรรณนุกรม กิตติ ปรมัตถผลและคณะ. (๒๕๕๑). หนังสือเสริมฝึกประสบการณ์ วิชา สุขศึกษา ๒. กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิชาการ บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด. คู่มือครู. (๒๕๕๑). สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.). อภิลักษณ์ เทียนทองและคณะ. (๒๕๕๑). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์ประสานมิตร (ปสม.) จำกัด.

เฉลยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน ๙ เฉลยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน ชุดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพในวัยเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ ค้ำจุนหนุนชีวิต ก่อนเรียน-หลังเรียน ข้อ ตอบ ๑ ง ๒ ข ๓ ก ๔ ๕ ๖ ค ๗ ๘ ๙ ๑๐