ข้อมูลทั่วไปของตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลแจ่มหลวง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 บ้านแจ่มหลวง ( หย่อมบ้านนาเกล็ดหอย )
เนื้อที่และอาณาเขต ตำบลแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ประมาณ 265.88 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 166,175 ไร่ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลแม่แดด ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม, ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ข้อมูลประชากร ชื่อหมู่บ้าน หลังคาเรือน จำนวนประชากร ชาย หญิง รวม 196 1.บ้านขุนแม่รวม,แอเอาะ 196 476 436 912 2. บ้านกิ่วโป่ง,บ้านใหม่ 122 258 220 478 3.บ้านแม่ละอุป,ขุนแม่ละอุป 113 260 240 500 4.บ้านห้วยยา,ห้วยบะบ้า 69 180 153 333 5.บ้านห้วยเขียด 93 193 226 419 6.บ้านแจ่มหลวง,นาเกล็ดหอย 155 297 234 531 7.บ้านเสาแดง 91 151 150 301 839 1,815 1,659 3,474
อาชีพ / รายได้ของประชาชน ประชากรในตำบลแจ่มหลวง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ประมาณร้อยละ 90 โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 23,235 ไร่ หรือประมาณ 27.69 ไร่/ครัวเรือน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกข้าวนา ข้าวไร่ ข้าวโพด และปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น กะหล่ำปลี มันฝรั่ง ถั่วลิสง แครอท เป็นต้น( ทำนา 139 ครอบครัว,ทำไร่ 217 ครอบครัว, ทำสวน 102 ครอบครัว, เลี้ยงสัตว์ 93 ครอบครัว, ค้าขาย 37 ครอบครัว, อื่นๆ เช่น รับราชการ รับจ้างทั่วไปเป็นต้น
การศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา 3 แห่ง คือ โรงเรียนประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา 3 แห่ง คือ - โรงเรียนบ้านขุนแม่รวม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ต. แจ่มหลวง อ. กัลยาณิวัฒนา - โรงเรียนบ้านห้วยยา ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ต. แจ่มหลวง - โรงเรียนบ้านแจ่มหลวง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 ต. แจ่มหลวง อ. กัลยาณิวัฒนา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2 แห่ง คือ - ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแจ่มหลวง - ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านเสาแดง ( ศศช.บ้านเสาแดง )
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ 10 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ 10 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์บ้านขุนแม่รวม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์บ้านแอเอาะ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์บ้านกิ่วโป่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์บ้านใหม่พัฒนา ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์บ้านแม่ละอุป ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์บ้านห้วยยา ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์บ้านห้วยเขียดแห้ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์บ้านแจ่มหลวง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์บ้านนาเกล็ดหอย ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์บ้านเสาแดง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7
สถาบันและองค์กรทางศาสนา สำนักสงฆ์ 6 แห่ง, โบสถ์ 6 แห่ง ด้านประเพณีและความเชื่อ ตำบลแจ่มหลวง เป็นตำบลที่มีความแตกต่างกันด้านความเชื่อและศาสนา คือ มีชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ แต่ถึงจะมีความแตกต่างในเรื่องของความเชื่อศาสนาแต่การอยู่ร่วมกันและการดำเนินกิจกรรมพัฒนาตำบลเป็นไปด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าใครนับถือศาสนาใด ยึดถือคำสอนแต่ละศาสนาที่ตนเองนับถือจึงทำให้อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข นอกจากนี้ตำบลแจ่มหลวง ยังมีประกร 2 ชนเผ่า คือ กระเหรี่ยง หรือปกาเก่อญอ และชนเผ่าลีซู หรือลีซอ ซึ่งทั้งสองชนเผ่านี้มีความแตกต่างทั้งการแต่งกาย ภาษา และประเพณีความเชื่อต่างๆ แต่ก็มีความรักใคร่สามัคคีปรองดองกันเป็นอย่างดีตลอดมา
การบริการพื้นฐาน ด้านสาธารณสุข - มีสถานีอนามัยประจำตำบล 1 แห่ง คือสถานีอนามัยบ้านแม่ละอุป ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านแม่ละอุป การคมนาคม การคมนาคมไม่สะดวก ถนนระหว่างหมู่บ้านส่วนมากเป็นดินลูกรัง ขนาดความกว้างไม่เกิน 4 เมตร ถนนจะเป็นร่องลึก และมีความลาดชัน ถนนระหว่างอำเภอถึงตำบลมีดังนี้ * เส้นทางที่ 1 จากตัวอำเภอแม่แจ่ม – ตำบลแม่นาจร – ตำบลแจ่มหลวง ถนนจะขาดเป็นช่วงๆไม่มีรถประจำทาง ส่วนใหญ่ฤดูฝนจะใช้การไม่ได้ ระยะทางจากอำเภอถึงตำบลประมาณ 100 กิโลเมตร * เส้นทางที่ 2 จากตัวอำเภอแม่แจ่ม – อำเภอเมือง – อำเภอสะเมิง – ตำบลบ่อแก้ว – ตำบลแม่แดด – ตำบลบ้านจันทร์ – ตำบลแจ่มหลวง ถนนเป็นทางลูกรัง มีรถประจำทางวันละ 2 เที่ยว ระยะทางจากอำเภอถึงตำบลแจ่มหลวง ประมาณ 250 กิโลเมตร * เส้นทางที่ 3 จากตัวอำเภอแม่แจ่ม – อำเภอเมือง – อำเภอปาย จ.แม่ฮ่องสอน – ตำบลบ้านจันทร์ – ตำบลแจ่มหลวง ยังไม่มีรถประจำทางซึ่งถนนจะมีความสะดวกมากกว่าเส้นทางอื่น แต่ระยะทางจะห่างไกลกว่าเส้นทางอื่น ระยะทางจากอำเภอถึงตำบลแจ่มหลวง ประมาณ 320 กิโลเมตร
การโทรคมนาคม โทรศัพท์สาธารณะ 4 แห่ง คือ โทรศัพท์สาธารณะ 4 แห่ง คือ (1) บ้านขุนแม่รวม เบอร์โทรศัพท์ 0-5322-9960 (2) บ้านห้วยเขียดแห้ง เบอร์โทรศัพท์ 0-5322-9990 (3) บ้านขุนแม่ละอุป เบอร์โทรศัพท์ 0-5322-8042-3 (4) บ้านแจ่มหลวง เบอร์โทรศัพท์ 0-5322-9042
การไฟฟ้า บ้านที่มีไฟฟ้าใช้ 4 หมู่บ้าน บ้านที่มีไฟฟ้าใช้ 4 หมู่บ้าน (1)บ้านกิ่วโป่ง/บ้านใหม่พัฒนา หมู่ที่ 2 (2)บ้านแม่ละอุป หมู่ที่ 3 (3)บ้านห้วยยา หมู่ที่ 4 (4)บ้านแจ่มหลวง/บ้านนาเกล็ดหอย หมู่ที่ 6
บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ (1)บ้านขุนแม่รวม (ปัจจุบันมีไฟฟ้าพลังน้ำใช้) หมู่ที่ 1 (2)บ้านแอเอาะ (ปัจจุบันมีไฟฟ้าพลังน้ำใช้) หมู่ที่ 1 (3)บ้านห้วยเขียดแห้ง (โซล่าโฮม ) หมู่ที่ 5 (4) บ้านเสาแดง ( โซล่าโฮม ) หมู่ที่ 7 (5)บ้านห้วยบะบ้า (โซล่าโฮม) หมู่ที่ 4
แหล่งน้ำในตำบล * แหล่งน้ำธรรมชาติ - ลำน้ำ, ลำห้วย 23 แห่ง - ลำน้ำ, ลำห้วย 23 แห่ง - บึง,หนองและอื่นๆ 1 แห่ง * แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ฝาย 7 แห่ง - บ่อน้ำตื้น 9 แห่ง
สถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยว โครงการพระราชดำริ - สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านเสาแดง ตั้งอยู่ที่ 7 บ้านเสาแดง ดอยโป่งกา - เป็นดอยที่ชาวบ้านขุนแม่รวมให้การเคารพนับถือและถือว่าเป็นดอยที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะในแต่ละปีชาวบ้านจะขึ้นไปบนดอยทำพิธีสวดมนต์เพื่อขอให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งดอยโป่งกาเป็นดอยที่มีความสูงชันมาก ถ้าอยู่บนดอยสามารถมองเห็นหมู่บ้านใกล้เคียงได้หลายหมู่บ้าน เช่น บ้านป่ากล้วย บ้านแม่หยอด บ้านห้วยขี้เปอะ บ้านปางอุ๋ง บ้านปางเกี๊ยะ (ตำบลแม่ศึก ) บ้านห้วยผา ( ตำบลแม่นาจร ) และเป็นที่มีทิวทัศน์สวยงามและมีจุดเด่นคือบนดอยมีกุหลาบพันปี ซึ่งจะออกดอกในช่วงฤดูหนาว หรือประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี ระยะทางในการไปสู่ดอยโป่งกาจากหมู่บ้านประมาณ 2.5 กิโลเมตร ต้องเดินขึ้นไปซึ่งชาวบ้านได้ปรับปรุงทางขึ้นเป็นขั้นบันได และในแต่ละปีจะมีการขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง
ถ้ำเหล่อปูโพ,เส่อวิโข่ เป็นถ้ำที่มีความลึกและมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และมีหินงอกหินย้อยบ้างแต่จะไม่ค่อยมีความโดดเด่นมากนัก ผู้คนที่เข้าไปส่วนใหญ่จะเข้าไปเพื่อเก็บเอามูลค้างคาวและไปจับค้างคาวเท่านั้น ไม่ได้ไปเที่ยวเพื่อชมความงามของถ้ำ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีการพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวก็จะสามารถดึงดูดความสนใจได้มากเหมือนกัน
ถ้ำเหล่อถู่เด เป็นถ้ำที่มีความลึกอยู่ติดกับถนนสายหลัก คือ ถนนสายบ้านขุนแม่รวมไปบ้านวัดจันทร์ ในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามและถ้ำแห่งนี้ยังไม่มีผู้ใดสามารถเข้าสำรวจจนสุดความลึกของถ้ำ ซึ่งถือว่าเป็นถ้ำที่น่าสนใจอีกถ้ำหนึ่งที่น่าจะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน แต่ปัจจุบันยังไม่มีการพัฒนาและให้ความสนใจเท่าใดนัก
น้ำตำโป่งสะแยง น้ำตกโป่งสะแยง ตั้งอยู่ระหว่างทางเข้าหมู่บ้านจากขุนแม่รวมเข้าหมู่บ้านห้วยเขียดแห้ง ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งเป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมีความสูงประมาณ 15 เมตร ซึ่งในแต่ละปีจะมีการไปเที่ยวชมมากในช่วงฤดูร้อนหรือในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ความโดดเด่นของน้ำตกอยู่ที่ความสูงของน้ำตกและความชุ่มชื้นบริเวณน้ำตก
น้ำตกขุนห้วยแม่ละอุป เป็นน้ำตกตามลำห้วยขุนแม่ละอุป ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 16 กิโลเมตร ทางเข้าน้ำตกยังไม่มีการพัฒนาทำให้ยังไม่ค่อยมีคนเข้าไปเที่ยวเท่าใดนัก ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่คอยให้ความชุ่มชื้นจึงเหมาะแก่การพักผ่อน ในช่วงอากาศร้อนๆ โดยเฉพาะเดือนเมษายน และน้ำตกแห่งนี้อยู่ไม่ไกลจากถนน คือประมาณ 900 เมตร แต่ทางเข้าน้ำตกยังยากต่อการเข้าไปเพราะยังขาดการพัฒนาทางเข้า ฉะนั้นถ้ามีการพัฒนาทางเข้าจะทำให้ดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบความงามของธรรมชาติเป็นอย่างดี
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ ประมาณร้อยละ 85 มีน้ำตกขนาดเล็ก แต่น้ำมักจะแห้งในช่วงฤดูแล้ง มีสัตว์ป่าชุกชุม เช่น เก้ง กวาง หมู่ป่า นกชนิดต่างๆ สัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆเป็นต้น
มวลชนจัดตั้ง อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ( อปพร. ) 7 แห่ง อาสาสมัครป้องกันไฟป่า 7 แห่ง กองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท 7 แห่ง
ปัญหาและความต้องการของประชาชน พื้นที่ตำบลแจ่มหลวง งานพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน งานพัฒนาด้านเศรษฐกิจ งานพัฒนาด้านการศึกษา งานพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานพัฒนาด้านสาธารณสุข งานพัฒนาด้านประเพณีและวัฒนธรรม งานพัฒนาด้านการท่องเที่ยว งานพัฒนาด้านการเมืองการปกครอง งานพัฒนาด้านอื่นๆ