อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สื่อความ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
Advertisements

พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
งานบริหารงานบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี หน้า ๑
LA 102: Business Law สัญญาซื้อขาย.
การสืบสวน สอบสวน การสืบสวน
อุทธรณ์.
โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ
กองทุนพัฒนาไฟฟ้ากับ การพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า
กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัย เรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ( แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๒ )
วิชาว่าความและ การถามพยาน
โดย ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา
ขั้นตอนการดำเนินงานเอกสาร
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.2542
ปัญหาเกี่ยวกับการสอบข้อเท็จจริง
ครั้งที่ ๒/๒๕๕๖ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น.
การประชุมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ทร. ครั้งที่ ๒/๒๕๕๒
เมื่อ ๕ ก.ย.๕๕ , ๐๙๐๐ ณ ห้องประชุม สธน.ทหาร
การเบิกจ่ายเงินช่วยพิเศษ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. คำนิยาม ขาย สินค้า การบริการ ใบกำกับภาษี ภาษีขาย ภาษีซื้อ 2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี 3. การยกเว้น.
การใช้กฎหมายเกี่ยวกับการชำระบัญชี
พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ประเภทของยา แบ่งตามแผนของการประกอบโรคศิลปะ
คำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือ
พระราชบัญญัติ ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ๒๕๓๕
ประภาศ คงเอียด ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
การร่างกฎหมาย การให้ความเห็นทางกฎหมาย และการดำเนินคดีปกครอง
ขั้นตอนการดำเนินคดี การสืบสวน การวางแผนปฏิบัติการ การตรวจค้น/จับกุม
โครงการรถยนต์คันแรกกับภาษีสรรพสามิตรถยนต์
นายสุรเกียรติ ฐิตะฐาน
๑. ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือน มีนาคม - พฤษภาคม ใน ๑ ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น ภาคการศึกษาที่ ๑ เดือน มิถุนายน - กันยายน ภาคการศึกษาที่ ๒ เดือน พฤศจิกายน -
๑๓. ๐๐ – ๑๓. ๔๐ น. ๑๓. ๔๐ – ๑๖. ๐๐ น. ๑๓. ๐๐ – ๑๓. ๔๐ น.
พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ. ศ.2537 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ดังต่อไปนี้ มาตราที่
การใช้หลักฐานในการขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลในระบบเบิกจ่ายตรงที่ถูกเรียกเงินคืน ที่มา : หนังสือกรมบัญชีกลางที่ กค ๐๔๒๒.๒/ว๓๖๔ ลว. ๖ ต.ค. ๒๕๕๔.
สำนักส่งเสริมและ พิทักษ์เด็ก
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
แนะนำศูนย์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542
หนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด
หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
1.อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการให้ความเห็นชอบรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน ประกาศราชกิจจานุเบกษา.
ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการโอนสิทธิตามใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงานพ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่
ระเบียบคณะกรรมการวัตถุอันตรายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่
ตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
นายอาทิตย์ อิสโม รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
การให้ข้อเท็จจริงในคดีปกครอง
จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ์
กฎหมาย คอมพิวเตอร์ สำหรับ ผู้บริหาร พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน.
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
จุดเด่น / จุดขาย ของร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช.....
การบริหารงานบุคคล สุรเกียรติ ฐิตะฐาน บทเรียนจากองค์กรวินิจฉัย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ของผู้ช่วยพยาบาล(1)
กฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนงาน การสอบสวนคดีนอกราชอาณาจักร
ทะเบียนราษฎร.
กระบวนการสมานฉันท์และสันติวิธี
หลักละทฤษฎีกฎหมายอาญา เรื่อง เงื่อนไขแห่งการลงโทษทางภาวะวิสัย โดย
สรุปประเด็นการ ร้องเรียนเกี่ยวกับ การใช้บริการสาย การบิน สรุปประเด็นการ ร้องเรียนเกี่ยวกับ การใช้บริการสาย การบิน.
พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ. ศ
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๑๔๔๘ การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชาย และหญิง มีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการ สมรสก่อนนั้นได้
รองศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทะเบียนราษฎร.
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด
ข้อที่ 7 ผลการดำเนินงานในรอบปีบัญชี สุดท้ายสหกรณ์ ต้องไม่กระทำการอัน เป็นการฝ่าฝืนกฏหมาย ระเบียบ คำสั่ง ปัญหา / สาเหตุ การ ป้องกั น แนว ทางแก้ ไข มาตรฐาน.
1 เรื่อง หลักเกณฑ์และ เงื่อนไข การ พิจารณาอนุมัติให้ใช้น้ำ กระแสไฟฟ้า หรือสิ่ง สาธารณูปโภคอื่น เพื่อการ จัดสวัสดิการภายในส่วน ราชการ.
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
กฎหมายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1 กฎกระทรวง การอนุญาตประกอบ กิจการ โรงงานผลิตอาวุธ พ. ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 10 สิงหาคม 2555.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียน และพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดย อ. ธนวัฒน์ เนติโพธิ์ ผู้เชี่ยวชาญประจำตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

อำนาจของนายทะเบียน แบ่งหลัก ๆ ออกได้เป็น ๑. อำนาจในการอนุญาต ๒. อำนาจลงโทษในทางปกครอง ๓. อำนาจในการปฏิบัติการให้เป็นไป ตามพรบ.ภาพยนตร์ ฯ

๑. อำนาจในการอนุญาต มาตรา ๓๗ ห้ามผู้ใดประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน มาตรา ๓๘ ห้ามผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน

อำนาจในการอนุญาต (ต่อ) อำนาจในการอนุญาต (ต่อ) มาตรา ๕๓ ห้ามผู้ใดจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ ตอบแทน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน มาตรา ๕๔ ห้ามผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน

อำนาจในการอนุญาต (ต่อ) อำนาจในการอนุญาต (ต่อ) อำนาจในการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์/กิจการจำหน่าย ให้เช่าภาพยนตร์ ตามมาตรา ๔๐ โดยต้องขอก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุและเมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขออยู่ในฐานะผู้รับใบอนุญาตจนกว่าจะได้รับแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต มาตรา ๔๒ ถ้าใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือบกพร่องในสาระสำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งต่อนายทะเบียนและยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงกรณีดังกล่าว อำนาจรวมไปถึงกิจการร้านวีดิทัศน์ด้วย (มาตรา ๕๗)

๒. อำนาจในการลงโทษทางปกครอง อาจแบ่งออกได้เป็น 1. อำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาต 2. อำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต 3. อำนาจลงโทษปรับในทางปกครอง

๑. อำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาต มาตรา ๗๑ ในกรณีที่ปรากฏแก่นายทะเบียนว่าผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๕๓ ประกอบกิจการโดย ฝ่าฝืนมาตรา ๕๙ หรือมาตรา ๖๐ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้โดยมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินครั้งละเก้าสิบวัน (ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ฝ่าฝืน ม. ๕๙ คือไม่ดำเนินการภายในวัน เวลาและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือฝ่าฝืนม. ๖๐ คือไม่แยกพื้นที่การใช้บริการระหว่างร้านวีดิทัศน์กับร้านจำหน่ายให้เช่าภาพยนตร์ออกจากกัน)

๒. อำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๗๐ ในกรณีที่ปรากฏภายหลังว่าผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๘ ผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙ หรือผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๔ ผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา ๓๙ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๕๗ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าว กรณีเป็นเรื่องการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ซึ่งในกรณีนี้นายทะเบียนจะต้องมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตทันที

๒. อำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต (ต่อ) มาตรา ๗๑ วรรค ๒ ในกรณีที่ผู้รับอนุญาต ฝ่าฝืนมาตรา ๕๙ หรือมาตรา ๖๐ อีก ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต กรณีเป็นเรื่องถูกนายทะเบียนลงโทษด้วยการสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้ว หากกระทำผิดซ้ำอีก นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ (เป็นดุลพินิจ)

๒. อำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต (ต่อ) มาตรา ๗๓ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดถูกลงโทษ ปรับทางปกครองตามมาตรา ๖๘ หรือมาตรา ๖๙ และจงใจหรือเจตนากระทำความผิดที่ถูกลงโทษ ปรับทางปกครองซ้ำอีก ให้นายทะเบียนมีอำนาจ สั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าว แล้วแต่กรณี

๓. อำนาจลงโทษปรับทางปกครอง มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ปรากฏแก่นายทะเบียนว่าผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๗ หรือมาตรา ๓๘ ผู้ใดดำเนินกิจการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ หรือมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง หรือผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๕๓ หรือมาตรา ๕๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๑ หรือมาตรา ๔๒ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๕๗ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน แก้ไขปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียนพิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครองในอัตราไม่เกินสองหมื่นบาทต่อวันตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่

สรุปมาตรา ๖๙ กรณีที่ ๑. ถ้าผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์ตามมาตรา ๓๗ หรือประกอบกิจการร้านให้เช่าแลกเปลี่ยนจำหน่ายภาพยนตร์ตามมาตรา ๓๘ ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ไม่ขอใบแทนกรณีใบอนุญาตสูญหายเสียหาย ภายใน ๑๕ วัน ไม่แจ้งประเภทของภาพยนต์ที่นำออกฉายไว้ใน ที่เปิดเผยในบริเวณโรงภาพยนตร์

สรุปมาตรา ๖๙ (ต่อ) กรณีที่ ๒. ถ้าผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ ตามมาตรา ๕๓ หรือประกอบกิจการร้านให้เช่า แลกเปลี่ยน จำหน่ายวีดิทัศน์ตามมาตรา ๕๔ - ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย - ไม่ขอใบแทนกรณีใบอนุญาตสูญหายเสียหายภายใน ๑๕ วัน

สรุปมาตรา ๖๙ (ต่อ) นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน แก้ไขปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าไม่ปฏิบัติตาม นายทะเบียนมีอำนาจกำหนด โทษปรับทางปกครอง ไม่เกินวันละ ๒๐,๐๐๐ บาท/วัน ตลอดเวลาที่มีการฝ่าฝืนอยู่

สรุปมาตรา ๖๙ (สุดท้าย) อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะมีคำสั่งปรับ จะต้องปฏิบัติตาม พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๓๐ เสียก่อน กล่าวคือในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน

การบังคับโทษปรับทางปกครอง มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมชำระค่าปรับทางปกครองตามที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๖๘ หรือมาตรา ๖๙ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

การบังคับโทษปรับทางปกครอง พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕๗ คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำเตือน เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง โดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นและขายทอดตลาด เพื่อชำระเงิน ให้ครบถ้วน วิธีการยึด การอายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนผู้มีอำนาจ สั่งยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ปัญหาขัดข้องการลงโทษปรับทางปกครองตามมาตรา ๖๘ มาตรา ๖๘ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์ผู้ใดฉายภาพยนตร์ไทยน้อยกว่าสัดส่วนที่คณะกรรมการประกาศกำหนดตามมาตรา ๙ (๔) ต้องชำระค่าปรับทางปกครองตามอัตราที่นายทะเบียนกลางประกาศกำหนด ทั้งนี้ไม่เกินสามแสนบาท มาตรา ๙ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๔) เสนอคำแนะนำต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงและประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ (๕) ออกประกาศกำหนดสัดส่วนระหว่างภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ต่างประเทศที่จะนำออกฉายในโรงภาพยนตร์ตาม (๑) ของ บทนิยามคำว่า “โรงภาพยนตร์” ในมาตรา ๔

การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง มาตรา ๖๗ คำสั่งไม่ออกใบอนุญาต คำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต คำสั่งให้ชำระค่าปรับทางปกครอง คำสั่งพักใช้หรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของนายทะเบียน ตามมาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๐ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๖๘ มาตรา ๖๙ วรรคสอง มาตรา ๗๐ มาตรา ๗๑ หรือมาตรา ๗๓ ผู้ได้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ถ้าพิจารณาไม่เสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าเห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

๓. อำนาจในการปฏิบัติการให้เป็นไปตาม พรบ.ภาพยนตร์ ฯ มาตรา ๖๑ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปในสถานที่สร้างภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ ร้านวีดิทัศน์ สถานที่ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบภาพยนตร์ วีดิทัศน์ สื่อโฆษณา หรือการกระทำใด ที่อาจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้

(๒) ตรวจ ค้น อายัด หรือยึดภาพยนตร์ วีดิทัศน์ หรือสื่อโฆษณาในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ในระหว่างเวลา พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น (๓) สั่งให้หยุดการสร้างภาพยนตร์ที่ฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๓ วรรคหนี่ง (๔) สั่งห้ามการฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ที่ฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๔๗ วรรคหนึ่ง (๕) สั่งให้หยุดการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์สื่อโฆษณาที่ฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๔๗ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๕๒

เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบตาม (๑) หรือ ทำการค้นตาม (๒) แล้วถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จจะกระทำต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของสถานที่นั้นก็ได้ การค้นตาม (๒) ต้องมีหมายค้น เว้นแต่มีเหตุอันควร เชื่อว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้หลักฐานดังกล่าว จะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไป จากเดิม ให้ดำเนินการค้น อายัด หรือยึดหลักฐานที่เกี่ยวข้อง กับการกระทำความผิดได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นแต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการค้น

แต่อย่าลืม.....พกบัตร มาตรา ๖๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๖๑ นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

โทษทางอาญา สรุปฐานความผิดที่น่าสนใจมีดังนี้ ๑. นำภาพยนตร์/วีดิทัศน์ ออกฉาย จำหน่าย ให้เช่า โดยที่ภาพยนตร์นั้นยังมิได้ผ่านการตรวจพิจารณา (ม. ๒๕/ม. ๔๗) ๒. ประกอบกิจการโรงภาพยนตร์/ร้านวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน (ม. ๓๗/ม.๕๓) ๓. ภาพยนตร์/วีดิทัศน์ที่ผู้รับอนุญาตมีไว้ในสถานประกอบกิจการของตน ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตหรือไม่แสดงเครื่องหมายการอนุญาต หมายเลขรหัสตามที่นายทะเบียนกำหนด (ม. ๔๓/ม. ๕๘)

โทษทางอาญา ๔. ฉายภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์ประเภทส่งเสริมการเรียนรู้ ๔. ฉายภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์ประเภทส่งเสริมการเรียนรู้ หรือไม่ใช่ภาพยนตร์ประเภทที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไปใน สถานที่ที่บุคคลทั่วไปสามารถดูได้ (มาตรา ๔๖) ขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๖๑ (มาตรา ๘๓)

ข้อสงสัย...? ประกอบกิจการร้านจำหน่ายให้เช่าภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต (มาตรา ๓๘ โทษ มาตรา ๗๙) และประกอบกิจการ ร้านจำหน่ายให้เช่าวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต (มาตรา ๕๔ โทษ มาตรา ๘๒) เป็นความผิดกรรมเดียวหรือไม่ ? ฎีกาที่ ๔๐๙๓/๒๕๕๕ เป็นความผิดกรรมเดียว น่าสงสัยว่า หากมีการนำเอาภาพยนตร์ที่ไม่ได้ผ่านการ ตรวจพิจารณามาจำหน่ายให้เช่า (มาตรา ๒๕ โทษมาตรา ๗๘) พร้อมกับการประกอบกิจการร้านภาพยนต์และวีดิทัศน์ โดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ศาลฎีกายังจะถือเป็นความผิดกรรมเดียวอีก หรือเปล่า ?

ความผิดตาม พรบ.ภาพยนตร์ฯ มาตรา ๓๘ (ประกอบกิจการร้านให้เช่าจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต) ความผิดตามมาตรา ๕๔ (ประกอบกิจการร้านให้เช่าจำหน่าย วีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต) ความผิดตามมาตรา ๒๕ (นำภาพยนต์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาออกจำหน่ายให้เช่า) ความผิดตามมาตรา ๔๗ (นำวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาออกจำหน่ายให้เช่า) ประกอบ ๘๑ ฎีกาที่ ๗๑๙๖/๒๕๕๔ เป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษฐานประกอบกิจการให้เช่าภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักสุดเพียงบทเดียว ให้คืนของกลาง

ส่วนแผ่นภาพยนตร์และแผ่นวีดิทัศน์ ๑,๕๘๓ แผ่น จำเลย ใช้ในการประกอบกิจการให้เช่าภาพยนตร์และวีดิทัศน์ โดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งยังไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณา ศาลฏีกาเห็นว่า สาระสำคัญของการกระทำความผิดอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ และไม่นำภาพยนต์และวีดิทัศน์ไปให้คณะกรรมการตรวจพิจารณา แผ่นภาพยนตร์และวีดิทัศน์ของกลางจึง มิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิด ได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดอันพึงริบได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๓ ให้คืนของกลาง

กรณีศึกษา ๑. กรณีที่มีผู้ขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับจำนวนสถานประกอบการคาราโอเกะ หรือกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ หรือร้านเกมส์ ๒. ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์แล้ว แต่ภายหลังไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จะทำอย่างไร

กรณีศึกษา ๓. ร้านให้บริการอินเตอร์เน็ตจะต้องได้รับอนุญาตตาม พรบ.ภาพยนตร์ฯ หรือไม่ ๔. กรณีผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ว่าจ้างหรือมอบหมายให้มีผู้ดูแลสถานประกอบกิจการ มีการกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ดูแลไว้หรือไม่

กรณีศึกษา ๕. มีผู้ยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ แต่ระหว่างที่ยังมิได้รับอนุญาตได้ดำเนินกิจการไปก่อนแล้วโดยการให้เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี และ ไม่เกิน ๑๘ ปีเข้าใช้บริการก่อนเวลาที่กฎกระทรวงกำหนด ดังนี้ เมื่อพบเหตุการณ์ดังกล่าวสมควรจะดำเนินการอย่างใดต่อไป

กรณีศึกษา ๖. การที่มีผู้เสนอจำหน่ายภาพยนต์และวีดิทัศน์ หรือไฟล์ข้อมูลภาพยนตร์และวีดิทัศน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ด มีความผิดหรือไม่อย่างไร ๗. เอาแผ่นเก่ามาขาย ก็ถือว่าเป็นการประกอบกิจการร้านจำหน่ายให้เช่าภาพยนตร์ที่ต้องขอรับอนุญาตตามมาตรา ๓๘ เช่นกัน

กรณีศึกษา ๘. ร้านภาพยนต์และวีดิทัศน์ที่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต แต่มาขอยกเลิกใบอนุญาต จะทำได้หรือไม่ ๙. โรงแรมที่มีบริการให้แขกผู้เข้าพักเลือกชมภาพยนตร์จากโทรทัศน์ในห้องพักโดยเสียค่าตอบแทน (Pay TV) ถือเป็นการประกอบกิจการโรงภาพยนตร์หรือไม่

กรณีศึกษา ๑๐. การฉายภาพยนต์ผ่าน Projection ไปบนจอ (หรือทางจอทีวีปกติ) ในงานประเพณี งานเลี้ยงสังสรรค์ จะเข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์หรือไม่