ข้อเสนอเชิงนโยบาย การเตรียมเอกสารวิชาการรับใช้สังคม นักวิชาการยังต้องการ “พี่เลี้ยง” ที่จะช่วยเติม มุมมองด้านวิชาการ มหาวิทยาลัยควรร่วมมือกับ กลไกสนับสนุนที่มีอยู่ สถาบันคลังสมองของชาติ และทีมบรรณาธิการ วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาเชิง พื้นที่ พัฒนาระบบ mentoring system สร้าง In-house expert ให้ครอบคลุม ทุกศาสตร์ และทำหน้าที่เป็น Mentor ให้นักวิชาการที่ได้ ทำวิชาการรับใช้สังคมมาแล้ว
การเตรียมการของมหาวิทยาลัย ก)อนุญาตให้นักวิชาการเข้าไปทำงานกับชุมชน ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการดำเนินงาน โดย อาจทำในระดับคณะหรือระดับมหาวิทยาลัย ข) ตั้งกรรมการไปตรวจสอบในพื้นที่ว่าโครงการ นั้นๆ ได้มีการดำเนินการจริง ซึ่งอาจจะทำเป็น คณะกรรมการถาวรหรือเป็นกรรมการเฉพาะ ผู้เสนอแต่ละรายก็ได้ ค) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิวิชาการรับใช้สังคม เพิ่มเติม 2 คน โดยใช้ “เกณฑ์พื้นฐาน” เพื่อ พิจารณาผลงาน
ข้อเสนอต่อภาคีและกลไกที่มีอยู่แล้ว จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้ง ภายในมหาวิทยาลัยและระหว่าง มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ Engagement Thailand ทปอ.
ข้อเสนอต่อแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย ต้องการสร้างระบบที่เอื้ออำนวยให้นักวิชาการ ทำงานวิชาการรับใช้สังคมมากขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นงานวิชาการใหม่ ควรจัดเงื่อนไขให้เอื้อต่อการเตรียมตัวตั้งแต่ “ต้นทาง” แหล่งทุนวิจัย ควรใช้ 7 ประเด็นนี้เป็นแนว ทางการสนับสนุนตั้งแต่ต้นทาง กล่าวคือ ตั้งแต่ การเขียนข้อเสนอโครงการ (Research proposal) ควร กำหนดให้เขียนรายงานการวิจัยตาม 7 ประเด็น วารสารที่จะพิจารณาผลงานวิชาการรับใช้ สังคม ควรพิจารณาเนื้อหาตาม 7 ประเด็นนี้ ด้วย
ข้อเสนอ เชิงนโยบาย รูปแบบการประเมินแบบวิพากษ์ต่อหน้าผู้เสนอ ผลงาน