บทที่ 3 ปรัชญาและแนวความคิดของการพัฒนาชุมชน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
Advertisements

Community of Practice ชุมชนนักปฏิบัติ.
ความหมาย ความสำคัญของจริยธรรม
การพัฒนาเศรษฐกิจ ความหมาย
หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ความเสี่ยง ตามหลักธรรมาภิบาล
ข้อควรคำนึงในการสร้างเครือข่าย
กุลภัทรา สิโรดม 20 กรกฎาคม 2554
เศรษฐกิจพอเพียง.
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
บทที่ 3 ระดับของสารสนเทศ.
บทที่ 2 องค์การและการจัดการ.
ความหมาย ปรัชญาและวัตถุประสงค์ ของงานส่งเสริมการประมง
แนวคิด ในการดำเนินงาน
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 5
คณะผู้วิจัย ภาควิชา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
องค์การสมัยใหม่ (Modern organization) หมายถึง การที่มีกลุ่มคนมาทํางาน ร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งองค์สมัยใหม่การมีลักษณะร่วมกันอยู่
การบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสาน
การพัฒนาสังคม Social Development 5 : 16 ธ.ค. 54.
ทฤษฎีและแนวคิดการพัฒนา (Development Theory and Concepts)
สังคมวิทยาอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2-3 : วิกฤตการณ์การพัฒนา
โครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2550
มนุษย์จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ก็เพราะการรู้จักเลือกประกอบกิจกรรมนันทนาการ สรุปเนื้อหาสาระจาก นันทนาการและการจัดการ พีระพงศ์ บุญศิริ
อุดมการณ์ทางการเมือง (Political ideology)
วิธีการสหกรณ์ อุดมการณ์ หลักการ นายบรรทูรย์ ราชิวงค์
วิสัยทัศน์กรมส่งเสริมสหกรณ์ (Vision) ปี
แผนภูมิแสดงความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน
1. การพัฒนาประชาธิปไตย : สถาบัน
เทคนิคการทำงานกับชาวบ้าน : ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ควรแก่การแสวงหา
ปัญหาความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ผู้สอน อ.ดร.อิศรัฏฐ์ รินไธสง
การถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับองค์กร ส่วนแผนงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับองค์กร ส่วนแผนงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
ด.ช.ณัฐนันท์ขาววิเศษ เลขที่1ป4/6
สถานีอนามัยสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี.
การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยมในการทำงานราชการยุคใหม่
การบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งกับการเมืองท้องถิ่น
โครงการริเริ่มสร้างสรรค์ ปี พ.ศ.2557 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอร้องกวาง
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การโดยสรุป 1 หน้า
บทที่ 12 การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาองค์การ.
การประกันคุณภาพการศึกษา ภายในมหาวิทยาลัย/คณะ
การตรวจวัดสภาพ ผลการดำเนินงานองค์กร
โดย สมภพ อมาตยกุล 21 กันยายน 2548
สรุปประเด็นการประชุมสัมมนากลุ่มย่อย
สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา
คน Man ผู้บริหาร บุคลากรของทุกระดับ.
Blueprint for Change ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) คืออะไร ? เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการให้เกิดความพร้อมในการสนับสนุนและผลักดันให้ยุทธศาสตร์ของส่วนราชการเกิดผลทางปฏิบัติ
ทำไมต้องปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ?
Participation : Road to Success
การสร้างความเข้มแข็งของ ระบบสนับสนุนยุทธศาสตร์. ความจริงที่เป็นอยู่ ( มายาวนาน )
การเพิ่มผลผลิต Productivity
ชูศักดิ์ วิทยาภัค คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นโยบายสาธารณะกับการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร
สำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
การพัฒนาระบบวิจัยของประเทศ และการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
การกำหนดโจทย์วิจัย/ปัญหาการวิจัย (Research problem )
สังคมไทยที่พึงประสงค์ เข้มแข็งและมีดุลยภาพ 3 ด้าน
ทฤษฎี และหลักการพัฒนาชุมชน
ธรรมาภิบาลกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่
มีคุณธรรม นำวิชาการ สู่มาตรฐานสากล
บทที่ 4 หลักและวิธีการพัฒนาชุมชน
นายพนาสิน หอมจิตต์ ชั้น ปวช 1 เลขที่ 11 กลุ่ม 1 แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
นิเวศวิทยาการเมือง : ความยั่งยืนทางนิเวศในสังคมไทย
ผู้สอน อ.ศรีวรรณ ปานสง่า
วิพากษ์วิจารณ์ข้อดีของทฤษฎี
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 3 ปรัชญาและแนวความคิดของการพัฒนาชุมชน บทที่ 3 ปรัชญาและแนวความคิดของการพัฒนาชุมชน ความเป็นมาของการพัฒนาชุมชน ปรัชญาของการพัฒนาชุมชน แนวความคิดของการพัฒนาชุมชน ความหมายของการพัฒนาชุมชน ลักษณะของการพัฒนาชุมชน องค์ประกอบของการพัฒนาชุมชน เป้าหมายของการพัฒนาชุมชน

ความเป็นมาของการพัฒนาชุมชน คำว่า “การพัฒนาชุมชน” เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1948 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงแล้วประเทศที่เป็นเจ้าของอาณานิคม โดยเฉพาะประเทศอังกฤษได้พยายามแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้บริหารและปกครองดินแดนในอาณานิคมของตน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่เป็นอาณานิคมเกิดความตื่นตัวเรื่องอิสรภาพในการปกครองตนเอง จึงเกิดประเทศเอกราชใหม่ ๆ ขึ้นเป็นจำนวนมาก ประเทศด้อยพัฒนาเหล่านั้นจึงนำวิธีการพัฒนาชุมชนไปใช้ในการพัฒนาประเทศ

ความเป็นมาของการพัฒนาชุมชน หลังการแยกตัวเป็นเอกราชของประเทศอาณานิคมต่าง ๆ ทั่วโลกองค์การสหประชาชาติได้นำวิธีการพัฒนาชุมชนไปใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่าง ๆ ในโลกแบ่งตามอุดมการณ์และลัทธิทางการเมืองและเศรษฐกิจออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเสรีประชาธิปไตย กับกลุ่มสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

ปรัชญาของการพัฒนาชุมชน ปรัชญาของการพัฒนาชุมชนเกิดจากการผสมผสานหลักการหลายอย่างเพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพและโอกาสในการประสบความสำเร็จในชีวิตของคน ดังนี้ บุคคลแต่ละคนมีความสำคัญ ถึงแม้บุคคลจะมีความแตกต่างกัน แต่ทุกคนมิทธิที่จะพึงได้รับความยุติธรรมและอย่างมีเกียรติในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง บุคคลแต่ละคนมีสิทธิ เสรีภาพ ในการกำหนดวิถีการดำรงชีวิตตามความต้องการของตนโดยไม่ถูกบีบบังคับจากบุคคลอื่น บุคคลแต่ละคนมีศักยภาพหรือพลังความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ ทั้งที่เปิดเผยและแฝงเร้น ศักยภาพเหล่านี้มีประโยชน์ต่อบุคคลและชุมชนเป็นอย่างมาก ถ้ารู้จักนำมาใช้อย่างถูกวิธี โดยเฉพาะพลังแฝงเร้นอยู่ในบุคคล ซึ่งไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากนัก การพัฒนาศักยภาพของบุคคลและชุมชน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตของบุคคล ชุมชน และสังคม ถ้ามีโอกาสบุคคลแต่ละคนมีความสามารถในการพัฒนาศักยภาพ หรือพลังความสามารถของตนได้

แนวความคิดของการพัฒนาชุมชน 1. คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญมากที่สุดของชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชน การช่วยเหลือตนเองของชุมชน การใช้ทรัพยากรในชุมชน การริเริ่มของประชาชนในชุมชน ขีดความสามารถของชุมชนและรัฐบาล การร่วมมือระหว่างรัฐกับประชาชน การพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ ความสมดุลในการพัฒนา การศึกษาภาคชีวิต

กระบวนการพัฒนาชุมชน การพัฒนาชุมชนเป็นกระบวนการ (Process) คือ มีความต่อเนื่องของปฏิกิริยาโต้ตอบต่อกันของคนในชุมชน การพัฒนาชุมชนเป็นวิธีการ (Method) ซึ่งนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ จึงต้องกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการทำงานให้ชัดเจน มีความสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาล ความต้องการของประชาชนในชุมชน และความเหมาะสมกับสภาพพื้นฐานของชุมชน การพัฒนาชุมชนเป็นโครงการ (Program) ประกอบด้วยเนื้อหา และแผนงาน ย่อยที่เน้นความริเริ่มของชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชน การสนับสนุนจากรัฐบาลและการประสานงานระหว่างบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาเป็นขบวนการทางสังคม (Social Process) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดทางอารมณ์ อันก่อให้เกิดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

ความหมายของการพัฒนาชุมชน 1. ที่ประชุมสัมมนาของผู้เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารและการปกครองของประเทศในแอฟริกา ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ให้ความหมายของ “การพัฒนาชุมชน” ไว้เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1948 ว่า “การพัฒนาชุมชน เป็นกระบวนการที่มุ่งส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นโดยอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังของประชาชนและเกิดจากความคิดริเริ่มของประชาชน” 2. องค์การสหประชาชาติ ได้ให้ความหมายไว้เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1955 ว่า “การพัฒนาชุมชน เป็นกระบวนการสร้างความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ชุมชน ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และการพึ่งตนเองอย่างแท้จริงโดยความคิดริเริ่มของประชาชนในชุมชน”

ความหมายของการพัฒนาชุมชน 3. กรมพัฒนาชุมชนของประเทศไทย ได้ให้ความหมายไว้ว่า “การพัฒนาชุมชน คือการพัฒนาความรู้ ความสามารถของประชาชน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการช่วยตนเอง เพื่อนบ้าน และชุมชน ให้มีมาตรฐานความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยการร่วมมือกันระหว่างประชาชนและรัฐบาล 4. นักวิชาการและนักพัฒนาชุมชนของประเทศไทย ได้ให้ความหมายไว้ว่า “การพัฒนาชุมชน เป็นกระบวนการที่รัฐบาลและประชาชนในชุมชน ร่วมมือกันวางแผนเพื่อปรับปรุงสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และสิ่งแวดล้อม ตามความต้องการของประชาชนในชุมชน โดยอาศัยความคิดริเริ่มของประชาชนเป็นสำคัญ

ลักษณะของการพัฒนาชุมชน 1. เป็นการดำเนินงานโดยคนและใช้ทรัพยากรในชุมชนเป็นสำคัญ 2. เป็นการร่วมมือกันระหว่างคนในชุมชนด้วยกัน 3. เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีเป้าหมายและมีทิศทาง 4. เกิดจากความตั้งใจและการกระทำของมนุษย์ 5. เป็นการพัฒนาคุณภาพของคนในชุมชน 6. เป็นกระบวนให้การศึกษา 7. เป็นกระบวนการจัดองค์กรหรือกลุ่ม 8. เป็นการนำกลวิธีหรือวิธีการต่าง ๆ มาใช้ 9. มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย 10. เป็นการศึกษาตลอดชีวิต

องค์ประกอบของการพัฒนาชุมชน 1. คนในชุมชน 2. สิ่งแวดล้อมในชุมชน 3. วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา 4. กลวิธีหรือวิธีการพัฒนา 5. กระบวนการพัฒนา 6. การสนับสนุนช่วยเหลือจากรัฐบาลและเอกชน 7. การบริหารและการจัดการ 8. นักพัฒนาชุมชน 9. การประสานงาน 10. ผลงานที่เกิดขึ้น

เป้าหมายของการพัฒนาชุมชน 1. การพัฒนาคนให้มีความสุข การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ การพัฒนาคนให้มีคุณธรรม การพัฒนาคนให้มีความสุข

เป้าหมายของการพัฒนาชุมชน 2. การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ และมีความสุข มีจิตสำนึกชุมชน (Community Consciousness) มีจิตวิญญาณชุมชน (Community Spirituality) เป็นชุมชนเรียนรู้ (Community Learning) มีองค์กรชุมชนเข้มแข็ง (Community Strenge) มีการจัดการชุมชนที่ดี (Community Management) มีเครือข่ายชุมชน (Community Network) มีภาวะผู้นำชุมชน (Community Leadership) เป็นชุมชนที่พึ่งตนเองได้ เป็นชุมชนที่สงบสุข เป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน

เปรียบเทียบข้อแตกต่าง ระหว่างการพัฒนาชุมชนกับการพัฒนาสังคม 1. การพัฒนาสังคมมีขอบเขตกว้างขวางกว่าการพัฒนาชุมชน เพราะสังคมมีขนาดใหญ่กว่าชุมชน การพัฒนาสังคมมักเป็นการพัฒนาในระดับประเทศหรือระหว่างประเทศ 2. การพัฒนาสังคมมีเป้าหมายที่การพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งเทคโนโลยีทางสังคมและเทคโนโลยีทางวัตถุ แต่การพัฒนาชุมชนมุ่งเน้นที่ตัวคนมากที่สุด การพัฒนาสังคมมุ่งระดมคนและทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งจากภายในสังคมและจากภายนอกสังคมมาใช้ในการพัฒนา ส่วนการพัฒนาชุมชนมุ่งเน้นคนและทรัพยากรในชุมชนเป็นสำคัญ การพัฒนาสังคมเน้นการให้บริการในด้านต่าง ๆ แก่คน แต่การพัฒนาชุมชนเน้นการมีส่วนร่วมของคนในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองโดยการช่วยตนเอง หรือการพึ่งตนเองของชุมชน