บทที่ 2 ความหมายและลักษณะของชุมชน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ตัวอย่างที่ดีของโครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล
Advertisements

บทที่ 2 วัฒนธรรม CULTURE
สมชัย จิตสุชน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 16 กุมภาพันธ์ 2550
การพัฒนาเศรษฐกิจ ความหมาย
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
บทบาทผู้นำสหกรณ์ยุคใหม่ ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา
กรอบแนวคิด ในการทำวิจัย
กรอบแนวคิดการพัฒนาทุนชุมชน
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change)
เนื้อหา (กลางภาค) พฤติกรรมมนุษย์ การขัดเกลาทางสังคม
เศรษฐกิจพอเพียง.
บทที่ 2 องค์การและการจัดการ.
โครงสร้างสังคมไทย โครงสร้างสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่มีบรรทัดฐานของสังคมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้คนมาอยู่รวมกันเป็นสังคม อย่างสันติสุข.
ชีวิตและวัฒนธรรมไทย
ความหมาย ปรัชญาและวัตถุประสงค์ ของงานส่งเสริมการประมง
หัวใจของแผน HRD หัวใจของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
๒ การจัดระเบียบทางสังคม (Social Organization)
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ความเสี่ยง สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก
ลานวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน สร้างอาชีพ
การพัฒนาสังคม Social Development 5 : 16 ธ.ค. 54.
พัฒนาการความสัมพันธ์จากครอบครัวสู่รัฐ
The General Systems Theory
ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สรุปสาระสำคัญโดยสังเขปของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
ปัญหาความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ผู้สอน อ.ดร.อิศรัฏฐ์ รินไธสง
สถาบันวิชาชีพครู และองค์กรวิชาชีพครู
ความหมายของชุมชน (Community)
บทบาทของชุมชนต่อโรงเรียน
การจัดการศึกษาในชุมชน
บทที่ 3 การวางแผน การบริหารจัดการที่จะประสบความสำเร็จจะต้องมีหน้าที่สำคัญ 4 ประการ การจัดองค์การ การนำ การควบคุม.
เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
( Organization Behaviors )
๓ สถาบันทางสังคม (Social Institution)
นำเสนอโดย น.ส. วิไล เดชตุ้ม
กลุ่มในองค์การ Group in Organization
ขวัญในงานธุรกิจอุตสาหกรรม
Chapter 10 จรรยาบรรณของนักธุรกิจ
สถานีอนามัยสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี.
การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน
ของฝากจากอาจารย์อ้อ ชุดที่ 30
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การโดยสรุป 1 หน้า
“ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ”
แผนปฏิบัติการยะลาเข้มแข็ง ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา
(Organizational Behaviors)
โครงสร้างและวัฒนธรรมองค์การ (Organizational Structure and Culture)
บทที่ 12 การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาองค์การ.
การบริหารความเสี่ยง ประเภทความเสี่ยง ความเสี่ยง (RISK)
การค้ามนุษย์.
(บรรยายหลักสูตรนักบริหารระดับกลาง กระทรวงมหาดไทย)
ทำไมต้องปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ?
บทนำการบริหารโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
สังคม โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มคน จำนวนหนึ่ง ซึ่งมีแบบแผนในการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน กลุ่มคน หมายถึง.
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
บทที่ 3 ปรัชญาและแนวความคิดของการพัฒนาชุมชน
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ส 41102
สมาชิก นายธนากร กุจิรพันธ์ ม. 4/6 เลขที่3 นายภูวพงษ์ ภุมราพันธุ์ ม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ Introduction to the System
ประสบการณ์การบริหาร มหาวิทยาลัย ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารมหาวิทยาลัย โครงสร้าง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ รูปแบบการบริหารและขอบเขต อำนาจ.
การจัดการองค์ความรู้ ระบบการผลิตที่ยั่งยืน ความพอเพียงในการดำรงชีพ
การจัดการด้านสุขภาพของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สู่เมืองไทยแข็งแรง รัฐบาลได้ประกาศให้ “ เมืองไทยแข็งแรง ” โดยกำหนด เป้าหมายให้คนไทยแข็งแรงถ้วน หน้า ในปี
เรื่อง สถาบันการเมืองการปกครอง
จัดทำโดย เด็กหญิง นันท์นภัส ขะชาติ ชั้น ม.1/13 เลขที่ 24
จัดทำโดย ปฏิภาณ ไชยกุล อดิศร สุดดวง
บทบาทของข้อมูลการตลาด
หน่วยการเรียนที่ 2 สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรทางธรรมชาติ
วิสัยทัศน์การพัฒนาตำบล
พฤติกรรมผู้ซื้อองค์การ
การเลือกสถานที่ตั้งโรงงาน
บทที่ 1 บทนำ SIRIPONR SOMKHUMPA.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 2 ความหมายและลักษณะของชุมชน บทที่ 2 ความหมายและลักษณะของชุมชน ความหมายของชุมชน ลักษณะของชุมชน โครงสร้างทางสังคมของชุมชน สาเหตุของการเกิดชุมชน ประเภทของชุมชน หน้าที่ของชุมชน

ความหมายของชุมชน “ชุมชน” เป็นคำที่ใช้ในภาษาอังกฤษว่า “Community” ความหมายของชุมชน อาจจำแนกได้ดังนี้ ความหมายโดยสามัญสำนึก โดยสามัญสำนึกแล้ว ชุมชน หมายถึง ครอบครัวหลาย ๆ ครอบครัวมาอยู่ร่วมกันในบริเวณเดียวกัน มีลักษณะเป็นเพื่อนบ้านกัน ซึ่งอาจเป็นญาติพี่น้องกันหรือไม่ก็ได้

ความหมายของชุมชน 2. ความหมายโดยรูปศัพท์ ชุมชน หมายถึง กลุ่มคนที่รวมกันเป็นสังคมขนาดเล็กอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่ กลุ่มย่อยที่มีลักษณะหลายประการเหมือนกับลักษณะสังคม แต่มีขนาดเล็กกว่า ความรู้สึกและทัศนคติทั้งมวลที่ผูกพันปัจเจกบุคคล ที่เข้ามาคบค้าสมาคมกัน

ความหมายของชุมชน 3. ความหมายทางวิชาการ มาร์วิน อี. โอลเซน ให้ความหมายไว้ว่า ชุมชน หมายถึง องค์กรทางสังคมประเภทหนึ่ง เออร์วิน ที. แซนเดอร์ส ให้ความหมายไว้ว่า ชุมชน เป็นกลุ่มบุคคลหลาย ๆ กลุ่มมารวมกันในบริเวณเดียวกัน ภายใต้กฎหมายหรือข้อบังคับอันเดียวกัน เดนนิส อี. พอพลิน ให้ความหมายไว้ว่า ชุมชน หมายถึง กลุ่มที่มีการร่วมมือกัน มีความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนร่วมกัน

ความหมายของชุมชน ประสาท หลักศิลา ให้ความหมายไว้ว่า ชุมชน หมายถึง กลุ่มคนพวกหนึ่งซึ่งครอบครองอาณาบริเวณที่มีอาณาเขตแน่นอน มีความผูกพันและยึดเหนี่ยวกันเป็นปึกแผ่นมั่นคง เสาวคนธ์ สุดสวาสดิ์ ให้ความหมายไว้ว่า ชุมชน เป็นการมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มขนาดเล็ก เช่น หมู่บ้าน ไปจนถึงกลุ่มขนาดใหญ่ เช่น เมือง ประเทศ สัญญา สัญญาวิวัฒน์ ให้ความหมายไว้ว่า ชุมชน หมายถึงองค์การทางสังคมอย่างหนึ่งที่มีอาณาเขตครอบคลุมท้องถิ่นหนึ่ง ที่ปวงสมาชิกสามารถบรรลุถึงความต้องการพื้นฐานส่วนใหญ่ และสามารถแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่ในชุมชนของตนเองได้ ประเวศ วะสี ให้ความหมายไว้ว่า ชุมชน หมายถึงการที่คนจำนวนหนึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีความพยายามทำอะไรร่วมกัน มีการรับรู้ร่วมกัน ซึ่งรวมถึงการติดต่อสื่อสารกัน

โดยสรุป ความหมายของชุมชนแบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ 1. ชุมชน หมายถึง กลุ่มทางสังคม 2. ชุมชน หมายถึง พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ 3. ชุมชน หมายถึง องค์กรทางสังคม

ลักษณะของชุมชน เป็นการอยู่รวมกันของกลุ่มคน (Group of People) สมาชิกชุมชนมีลักษณะทางประกรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ เกิด ตาย และย้ายถิ่น มีอาณาบริเวณ (Area) มีลักษณะเป็นการจัดระเบียบทางสังคม (Social Organization) สมาชิกมีความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relationship) สมาชิกมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินชีวิตร่วมกัน สมาชิกได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชนร่วมกัน สมาชิกมีระบบการติดต่อสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกัน

โครงสร้างทางสังคมของชุมชน 1. องค์การทางสังคมในชุมชน องค์การทางสังคมในชุมชน เป็นกระบวนการจัดระเบียบทางสังคมของสมาชิกในชุมชน และกลุ่มสมาชิกของชุมชนที่ได้จัดระเบียบทางสังคมแล้ว ดังนี้ กระบวนการจัดระเบียบทางสังคมของสมาชิกในชุมชน โดยการสร้างความเชื่อ (Belief) ความรู้ (Wisdom) ค่านิยม (Value) อุดมการณ์ (Ideology) บรรทัดฐาน (Norm) คุณธรรม (Virtue) สถานภาพ (Status) บทบาท (Role) ผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) กลุ่มสมาชิกของชุมชนที่ได้จัดระเบียบทางสังคมแล้ว เป็นกลุ่มสมาชิกที่ผ่านกระบวนการจัดระเบียบทางสังคมมาด้วยกัน แต่มีองค์ประกอบพื้นฐานต่างกันตามโครงสร้างที่ซับซ้อนของสังคม เช่น กลุ่มสังคม (Social Group) ครอบครัว (Family) ชนชั้น (Class) และสังคมมนุษย์ (Society)

โครงสร้างทางสังคมของชุมชน 2. สถาบันทางสังคมในชุมชน สถาบันทางสังคมในชุมชน เป็นแบบอย่างในการคิดของสมาชิกในชุมชน ได้แก่ ความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ คุณธรรม และแบบอย่างในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ของสมาชิก ที่เรียกว่า บรรทัดฐานทางสังคม สถาบันทางสังคม มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ตำแหน่งทางสังคม (Social Position) ของบุคคลซึ่งแตกต่างกันไป สถาบันทางสังคมในชุมชนที่สำคัญ ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันการเมือง สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันศิลปะและ นันทนาการ สถาบันภาษาและการสื่อสาร สถาบัน คมนาคมขนส่ง สถาบันอนามัยและสาธารณสุข สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น

โครงสร้างทางสังคมของชุมชน องค์กรทางสังคม สถาบันทางสังคม ครอบครัว กระบวนการจัดระเบียบทางสังคม กลุ่มคนที่จัดระเบียบแล้ว การศึกษา การสร้างกฎระเบียบ เช่น กลุ่มสังคม ศาสนา ความเชื่อ ค่านิยม ครอบครัว การเมือง บรรทัดฐาน ชุมชน เศรษฐกิจ สถานภาพ ชนชั้น ศิลปะนันทนาการ บทบาท สังคมมนุษย์ ภาษา/การสื่อสาร คมนาคมขนส่ง อนามัยสาธารณสุข วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

สาเหตุของการเกิดชุมชน 1. ความเป็นสัตว์สังคมของมนุษย์ 2. การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นของมนุษย์ 3. การขยายตัวของอุตสาหกรรม 4. การขยายตัวของเมือง 5. การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับบ้านและที่ดิน 6. แนวนโยบายของรัฐ 7. การหนีภัยของมนุษย์ 8. สภาพทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 9. ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 10. การขยายตัวของการคมนาคมขนส่ง กระบวนการเกิดชุมชน บุคคล กลุ่มคน กลุ่มสังคม ละแวกบ้าน ชุมชนระดับต่าง ๆ

ประเภทของชุมชน 1. การแบ่งตามจำนวนประชากร หมู่บ้านเล็ก (Hamlet) เป็นชุมชนที่มีประชากรไม่เกิน 250 คน หมู่บ้าน (Village) เป็นชุมชนที่มีประชากรระหว่าง 250-1,000 คน เมือง (Town) เป็นชุมชนที่มีประชากรระหว่าง 1,000-5,000 คน นครเล็ก (Small City) เป็นชุมชนที่มีประชากรระหว่าง 5,000-25,000 คน นครขนาดกลาง (Middle City) เป็นชุมชนที่มีประชากรระหว่าง 25,000-100,000 คน นครขนาดใหญ่ (Metropolis) เป็นชุมชนที่มีประชากรระหว่าง 100,000-1,000,000 คน มหานคร (Great Metropolis) เป็นชุมชนที่มีประชากรมากกว่า 1,000,000 คน

ประเภทของชุมชน 2. การแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมหลัก ชุมชนศูนย์การค้า (Trade Center) ชุมชนศูนย์การขนส่ง (Transportation Center) ชุมชนศูนย์กลางของการบริการต่าง ๆ (Service Center) 3. การแบ่งตามลักษณะทางนิเวศวิทยา ชุมชนบริการขั้นต้น ชุมชนจำหน่ายหรือชุมชนการค้า ชุมชนอุตสาหกรรม ชุมชนประเภทพิเศษ

ประเภทของชุมชน 4. การแบ่งตามหน่วยการปกครอง การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค การปกครองส่วนท้องถิ่น 5. การแบ่งตามวิวัฒนาการของเศรษฐกิจ ชุมชนล่าสัตว์ ชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนอุตสาหกรรม ชุมชนการค้าและบริการ

ประเภทของชุมชน 6. การแบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ชุมชนชนบท (Rural Community) มี 2 แบบ คือ 1. ชุมชนชนบทดั้งเดิม มีลักษณะโดดเดี่ยว มีความคล้ายคลึงกันทางสังคม มีอาชีพเกษตรกรรม และเป็นเศรษฐกิจแบบพอเลี้ยงตนเอง 2. ชุมชนชนบททั่วไป เป็นชุมชนที่เปลี่ยนแปลงจากชนบทดั้งเดิมเข้าสู่ลักษณะของชุมชนที่มีรายได้เพิ่ม-รายจ่ายเพิ่ม ดิ้นรนหาเลี้ยงชีพ ต้องการเพิ่มผลผลิต สินเชื่อ และอื่น ๆ ชุมชนเมือง (Urban Community) เป็นชุมชนที่มีความหนาแน่นของประชากร มีลักษณะของการแบ่งแยก การบุกรุก การกระจายออกจากศูนย์กลางของเมือง และการเดินทางเข้า-ออกประจำ และเป็นชุมชนที่มีพลวัตสูง

ประเภทของชุมชน 7. การแบ่งตามระดับของการพัฒนา ชุมชนด้อยพัฒนา เช่น ด้อยการศึกษา ล้าหลังในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หวังพึ่งธรรมชาติ ชุมชนพร้อมพัฒนา เช่น เริ่มมีการศึกษาสูงขึ้น ยอมรับในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชื่อในเหตุผล มีผู้นำ มีกลุ่มและองค์กรเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน มุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ชุมชนกำลังพัฒนา เช่น เป็นชุมชนที่สมาชิกร่วมมือร่วมใจผนึกกำลังกันเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ด้วยเทคนิควิธีการและกระบวนการพัฒนาที่เหมาะสม ชุมชนเร่งรัดพัฒนา เช่น เป็นชุมชนที่ต่อเนื่องจากชุมชนกำลังพัฒนา ปัจจัยทางการพัฒนา ทั้งบุคคล ทรัพยากร ผู้นำ กลุ่มและองค์กร เทคนิควิธีการ สามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานพัฒนาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ชุมชนพัฒนา เช่น เป็นชุมชนที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ สามารถดำรงลักษณะดังกล่าวไว้ได้ตลอดไป