ระบบเกษตรแบบผสมผสาน
จัดทำโดย นายเกรียงไกร อินต๊ะจันทร์ เลขที่ ๑ นายเกรียงไกร อินต๊ะจันทร์ เลขที่ ๑ นางสาวจิตรลดา จันต๊ะ เลขที่ ๖ นางสาวศิรินภา ณ เชียงใหม่ เลขที่ ๒๓ นางสาวสาลินี สีวิจี๋ เลขที่ ๒๖ นายภูลกิต พัลลา เลขที่ ๓๙ ห้อง ม. ๖๐๒
เสนอ ครูมลิวัลย์ สินธุบุญ
บทนำเรื่อง ผู้แต่งคือ โกวิท นวลรัตน์ , อรุณี ปิ่นประยงค์ และ เอื้อ เชิงสะอาด บทความเรื่องนี้นำมาจากเอกสารเผยแพร่ของกรมเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรเพื่อให้เรียนรู้ วิชาการเกี่ยวกับการเกษตรและการจัดการอาชีพของตนให้บังเกิดผลดียิ่งขึ้น
ระบบเกษตรและชีวิตความเป็นอยู่มนุษย์ในอดีต ดำเนินไปอย่างมีอิสระและเกื้อกูลกันซึ่งกันและกัน เน้นการพึ่งพาตัวเอง โดยผลิตเพื่อการบริโภคเป็นหลักต่อมาเมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้นประกอบกับประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศ จึงได้กำหนดแนวทางพัฒนาการเกษตรโดยเน้นหลักการที่ว่าต้องเพิ่มผลผลิตในเนื้อที่ว่าต้องเพิ่มผลผลิตในเนื้อที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อการค้า ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ มีการนำเทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่มาใช้เพิ่มผลผลิตเรียกว่า “การปฏิวัติเขียว”ทำให้ต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาการทำลายสมดุลทางธรรมชาติทำลายระบบการพึ่งพาตนเองของเกษตรกร ระบบเกษตรและชีวิต
ทำให้เกษตรกรเกิดหนี้สิน เพราะขายผลผลิตได้ในราคาต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน ระบบการเกษตรแบบผสมผสานจึงเป็นหนทางที่จะทำให้เกษตรกรพึ่งพาตนเอง โดยลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก เน้นหลักการ๔ประการ คือ ไม่ทำลายสภาพธรรมชาติ ไม่เกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อม มีผลต่อการอยู่รอดของมนุษย์และสัตว์ และไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย ระบบการเกษตรแบบนี้ได้รับความสนใจมากในช่วงปลายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕ -๒๕๒๙) โดยเริ่มจากเกษตรกรในภาคกลางแล้วค่อยๆ ขยายผลสู่เกษตรกรภาคอื่นๆ การปลูกไม้ผลยืนต้นในระบบเกษตรผสมผสาน เป็นการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความชุ่มชื้น เป็นแหล่งอาหาร สร้างรายได้ขึ้นทดแทน เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกทำลายป่าและเสริมสร้างนิสัยรักธรรมชาติแก่เกษตรกร
การเลี้ยงปลาในนาข้าว เป็นการเพิ่มโปรตีนอาหารและเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวนา โดยดัดแปลงผืนนาเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเลี้ยงปลาควบคู่กับการปลูกข้าว ทำให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากผืนนาได้เต็มที่ ปลาช่วยกำจัดวัชพืชกำจัดศัตรูของต้นข้าว ช่วยพรวนดินในนา ช่วยเพิ่มปุ๋ย และช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้น
คุณค่าของเรื่อง คุณค่าด้านเนื้อหา ให้ความรู้วิชาการเกษตรแก่ประชาชนทั่วไป และแฝงข้อคิดเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ คุณค่าด้านภาษา ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ไม่มีศัพท์วิชาการที่เป็นอุปสรรคในการอ่าน คุณค่าด้านสังคม สะท้อนปัญหาของเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ และชี้ให้เห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบพึ่งพาตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดเป็นปัญหาต่อไป