สำหรับกิจการ “สหกรณ์” สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร ภาษีสรรพากร สำหรับกิจการ “สหกรณ์” Presented by มงคล ขนาดนิด นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร
ประมวลรัษฎากร 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ 5. อากรแสตมป์
ภาษีเงินได้นิติบุคคล Corporate Income Tax (CIT)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหากำไร โดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การรัฐบาลหรือ นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ กิจการร่วมค้า มูลนิธิ สมาคม (ไม่รวมที่ รมว. ประกาศกำหนดตาม ม.47 (7) (ข))
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย Withholding Tax ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
หลักเกณฑ์การหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้รับมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ มีการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ผู้มีหน้าที่หักภาษี ต้องเป็นไปตามที่กำหนด หักภาษีเมื่อมีการจ่ายจริง
ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา 1. บุคคลธรรมดา 2. คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคล 3. ผู้ที่ถึงแก่ความตาย 4. กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง
ภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหากำไร โดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การรัฐบาลหรือ นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ กิจการร่วมค้า มูลนิธิ สมาคม
เงินได้พึงประเมิน เงิน ทรัพย์สินที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ภาษีที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ เครดิตภาษีเงินปันผลตาม ม.47 ทวิ
เงินได้พึงประเมิน : ประเภทเงินได้ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
เงินได้พึงประเมิน : ประเภทเงินได้ เงินได้ที่เป็น ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืม หรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือ ประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชย กรรมหรืออุตสาหกรรม เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
เงินได้พึงประเมิน : ประเภทเงินได้ เงินได้ที่เป็น เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือ โอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
เงินได้พึงประเมิน : ประเภทเงินได้ เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก การให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว
กฎหมาย มาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ตรี มาตรา 69 ทวิ
ม. 40 (1) , (2) เงินได้ที่จ่าย x จำนวนคราวที่ต้องจ่าย มาตรา 50 เงินได้ที่จ่าย x จำนวนคราวที่ต้องจ่าย คำนวณภาษี (หักค่าใช้จ่าย , ลดหย่อนเหมือนสิ้นปี) คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ภาษีที่คำนวณได้ตาม 3 จำนวนคราวที่ต้องจ่าย = จำนวนภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย
ม.40 (2) ที่ผู้รับไม่ได้อยู่ในไทย หัก 15% ค่าลิขสิทธิ์ ฯลฯ หักตามอัตราภาษีเงินได้ ม.40 (3) (4) หักตามอัตราภาษีเงินได้ เว้นแต่ ผู้รับไม่ได้อยู่ในไทย หัก 15% ดอกเบี้ย หัก 15% เงินปันผล หัก 10% ม.40 (5) (6) เฉพาะผู้รับไม่อยู่ในประเทศไทย หัก 15% ส่วนราชการจ่าย (5) – (8) เกิน 10,000 บาท หัก 1% เว้นแต่การประกวด การแข่งขัน หักตามอัตราภาษีเงินได้ ม.40 (8) เฉพาะ ค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ได้ทางมรดก หรือการให้โดยเสน่หา ได้ทางอื่น
มาตรา 69 ทวิ ภายใต้บังคับมาตรา 70 รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือ องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เป็นผู้จ่ายเงินได้ ผู้รับเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ภาษีที่หักไว้นี้ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้นั้น ให้นำมาตรา 52 มาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 58 และมาตรา 59 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 69 ตรี ผู้จ่ายเป็นบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ผู้รับเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 นำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ในขณะที่มีการจดทะเบียน ภาษีที่หักไว้นี้ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้นั้น
ท.ป.4/2528 ข้อ 3 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับซึ่งมีเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 0.75 เฉพาะผู้จ่ายเงิน และสำหรับการซื้อสินค้า ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ยางแผ่นหรือยางชนิดอื่นอันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใด ๆ ของต้นยางพาราเฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากยางดังกล่าว ไม่ว่าจะใช้ยางนั้นเป็นส่วนใหญ่หรือไม่ (2) มันสำปะหลัง ไม่ว่าจะเป็นหัวหรือจัดทำเป็นผง แป้ง เส้น ก้อน แท่ง ฝอย ชิ้น เม็ด หรือจัดทำในลักษณะอื่น เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก (3) ปอ เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตกระสอบป่าน ผ้ากระสอบป่าน ด้ายทอกระสอบป่าน หรือทอผ้ากระสอบป่าน เชือกหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่ผลิตจากปอ ไม่ว่าจะใช้ปอนั้นเป็นส่วนใหญ่หรือไม่ (4) ข้าวโพด เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตน้ำมันพืชหรืออาหารสัตว์ทุกชนิด (5) อ้อย เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ผลิตน้ำตาลทุกชนิด (6) เมล็ดกาแฟ ไม่ว่าจะคั่วแล้วหรือไม่ เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากกาแฟ (7) ผลปาล์มน้ำมัน ไม่ว่าเป็นส่วนใดของผล เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มหรือผู้ผลิตน้ำมันพืช (8) ข้าว เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก (9) สินค้าตาม (1) ถึง (8) เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมาย ว่าด้วยสหกรณ์
>> ผู้จ่ายที่มีหน้าที่หักภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ท.ป.4/2528 เงินได้ตาม ม. 40 (2) และ (3) >> ผู้จ่ายที่มีหน้าที่หักภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นิติบุคคลอื่น >> ผู้รับที่ต้องถูกหักภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล อัตรา 3% มูลนิธิหรือสมาคม อัตรา 10% ข้อ 3/1 , 3/2
ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย คำสั่งฯ ที่ ท.ป.176/2552 คำสั่งฯ ที่ ท.ป.176/2552 ข้อ 6 ข้อยกเว้น จ่ายค่าเช่าตามสัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่ง ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หลัก บริษัทจ่ายค่าเช่า/ประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 5 ผู้ให้เช่า ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว >= 60 ล.บ. + เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT ผู้เช่า เป็นนิติบุคคล กำหนดเวลาเช่า 3 ปีขึ้นไป เว้นแต่เป็นทรัพย์สินที่ยึดมาจากผู้เช่ารายอื่น อาจไม่ถึง 3 ปีก็ได้ ผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ให้เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่ง ให้คำมั่นว่าเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า ผู้เช่ามีสิทธิเลือกว่า จะซื้อทรัพย์สินที่เช่า หรือ ส่งคืนทรัพย์สินก็ได้
ค่าวิชาชีพอิสระ ตาม ม. 40 (6) ท.ป.4/2528 ค่าวิชาชีพอิสระ ตาม ม. 40 (6) >> ผู้จ่ายที่มีหน้าที่หักภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นิติบุคคลอื่น >> ผู้รับที่ต้องถูกหักภาษี ผู้มีหน้าที่เสียภาษี PIT อัตรา 3% บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล อัตรา 3% มูลนิธิหรือสมาคม อัตรา 10% ข้อ 7
ค่าจ้างทำของ >> ผู้จ่ายที่มีหน้าที่หักภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นิติบุคคลอื่น >> ผู้รับที่ต้องถูกหักภาษี บุคคลธรรมดา เฉพาะค่าจ้างที่เป็น (7) (8) อัตรา 3% บริษัทฯ (ไม่รวมมูลนิธิ สมาคม) อัตรา 3% บริษัทต่างประเทศ มีสาขาถาวรในไทย อัตรา 3% ข้อ 8
ค่าโฆษณา >> ผู้มีหน้าที่หักภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นิติบุคคลอื่น คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.6/2528 ผู้รับมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก 2% ไม่ว่าผู้รับจะทำการโฆษณาเอง หรือให้บุคคลอื่นทำการโฆษณา ยกเว้น กรณีมีหลักฐานเป็นสัญญาแต่งตั้งให้ผู้รับเป็นตัวแทน และได้จ่ายแทนไปก่อน ตัวแทนจ่ายเงินให้บริษัทโฆษณาต้องหัก 2% ข้อ 10
เงินรางวัลในการประกวด >> ผู้จ่ายที่มีหน้าที่หักภาษี << บุคคล หสม. หรือ คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นิติบุคคลอื่น เงินรางวัลในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค นักแสดงสาธารณะ - นักแสดงละครภาพยนตร์ วิทยุและโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ บุคคลธรรมดา นิติบุคคล อัตรา 5% มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ หักตามอัตราภาษีเงินได้ (5 – 37%) มีภูมิลำเนาอยู่ในไทย หัก 5% ข้อ 9
ไม่รวมถึงการจ่ายค่าบริการ 1. ค่าโดยสาร – การขนส่งสาธารณะ >> ผู้มีหน้าที่หักภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นิติบุคคลอื่น หัก 3% “บริการ” หมายถึง การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่การขายสินค้า ไม่รวมถึงการจ่ายค่าบริการ 1. ค่าโดยสาร – การขนส่งสาธารณะ 2. ค่าบริการโรงแรม 3. ค่าบริการภัตตาคาร 4. ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าบริการ >> ผู้รับที่ต้องถูกหักภาษี บุคคลธรรมดา อัตรา 3% บริษัทฯ อัตรา 3% <ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม>
>> ผู้รับที่ต้องถูกหักภาษี เบี้ยประกันวินาศภัย >> ผู้รับที่ต้องถูกหักภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ประกอบกิจการรับประกัน วินาศภัยในประเทศไทย อัตรา 1% >> ผู้มีหน้าที่หักภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นิติบุคคลอื่น ปัญหา? ประกันอัคคีภัย ประกันภัยรถยนต์ ประกันสุขภาพ ข้อ 12/3
ค่าขนส่ง >> ผู้รับที่ต้องถูกหักภาษี >> ผู้มีหน้าที่หักภาษี ผู้มีหน้าที่เสียภาษี PIT บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการไทย >> ผู้มีหน้าที่หักภาษี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นิติบุคคลอื่น ค่าขนส่ง หัก 1% ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับ “การขนส่งสาธารณะ” “ขนส่งสาธารณะ” หมายถึง การรับ-ส่งผู้โดยสารเป็นการทั่วไปเป็นปกติธุระ ไม่จำเป็นต้องประกอบกิจการขนส่งเป็นปกติธุระ ไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่ง
ความรับผิดทางแพ่งและอาญา ของการหักภาษี ณ ที่จ่าย มีความรับผิดทางแพ่งร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วมในภาษี (แต่ประเมินผู้จ่ายเงินก่อน) หากมิได้หักและนำส่งภาษีเลย หากหักไม่ครบและนำส่งภาษีไม่ครบถ้วน
ความรับผิดทางแพ่งและอาญา ของการหักภาษี ณ ที่จ่าย ความรับผิดทางแพ่ง(ต่อ) มีความรับผิดทางแพ่ง กรณีผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิด แต่ผู้เดียวกรณี หักภาษีไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว แต่ไม่นำส่ง หักภาษีไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว แต่นำส่งไม่ครบถ้วน
ความรับผิดทางแพ่งและอาญา ของการหักภาษี ณ ที่จ่าย ความรับผิดทางแพ่ง(ต่อ) มีความรับผิดทางแพ่งในเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน แต่ไม่มีเบี้ยปรับ เงินเพิ่มไม่เกินภาษีที่ต้องเสียหรือภาษีที่ถูกประเมิน
ความรับผิดทางแพ่งและอาญา ของการหักภาษี ณ ที่จ่าย ความรับผิดทางอาญา ไม่ได้ยื่นรายการตามกำหนด ปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax (VAT) 1 การขายสินค้า 3 2 การให้บริการ การนำเข้า
หน่วยภาษี ผู้ประกอบการ หมายความว่า บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่ 34
บุคคล หมายความว่า บุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคล บุคคลธรรมดา หมายความรวมถึง กองมรดก คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หมายความว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน หรือมูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล และให้หมายความรวมถึงหน่วยงาน หรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล นิติบุคคล หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 องค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคล 35
ความหมาย “ขาย” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ และให้หมายความรวมถึง สัญญาให้เช่าซื้อสินค้า สัญญาซื้อขายผ่อนชำระ ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร นำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใด ๆ เว้นแต่การนำสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเอง โดยตรงตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ มีสินค้าคงเหลือ ณ วันเลิกประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึง ...
บริการ ?? หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความรวมถึงการใช้บริการของตนเอง ไม่ว่าประการใด ๆ แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึง (ก) การใช้บริการหรือการนำสินค้าไปใช้ เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด (ข) การนำเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ (ค) การกระทำตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
ยกเว้น VAT พืชผลทางการเกษตร สัตว์ ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยา เคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับ พืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ตำราเรียน สถานศึกษา งานศิลปะและวัฒนธรรม การประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ สถานพยาบาล การวิจัย การให้บริการ ทางวิชาการ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ สัญญาจ้างแรงงาน จัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น นักแสดงสาธารณะ ขนส่งในราชอาณาจักร ขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่โดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล เช่าอสังหาริมทรัพย์ การให้บริการของส่วนท้องถิ่น การขาย ให้บริการของราชการ การขาย ให้บริการเพื่อประโยชน์ทางศาสนา หรือสาธารณกุศล อื่น ๆ ตาม พรฎ.239
Tax Point ขายสินค้า หลัก ส่งมอบสินค้า ข้อยกเว้น หากมีการ... หลัก ส่งมอบสินค้า ข้อยกเว้น หากมีการ... (ก) โอนกรรมสิทธิ์สินค้า (ข) ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ (ค) ได้ออกใบกำกับภาษี ก่อนส่งมอบสินค้าก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ
Tax Point ให้บริการ หลัก เมื่อรับชำระราคาค่าบริการ หลัก เมื่อรับชำระราคาค่าบริการ ข้อยกเว้น หากมีการ... (ก) ออกใบกำกับภาษี หรือ (ข) ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ก่อนรับชำระราคาค่าบริการ ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย - ภาษีซื้อ ผู้ประกอบการจด VAT ต้องคำนวณ VAT ที่จะต้องชำระหรือมีสิทธิได้รับคืน เป็นรายเดือน ดังนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย - ภาษีซื้อ ภาษีขาย > ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ ภาษีขาย < ภาษีซื้อ = ภาษีที่มีสิทธิได้รับคืน หรือเครดิตภาษี
ประกาศ VAT # 4 ข้อ 1 ภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้ (1) เหตุจำเป็นซึ่งเกิดขึ้นตามประเพณีทางการค้า (2) เหตุสุดวิสัย (3) ได้รับใบกำกับภาษีในเดือนภาษีอื่นที่มิใช่เดือนภาษีที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี ข้อ 2 ให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นได้ แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี การปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุข้อความว่า “ถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษี...” ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว
ภาษีซื้อต้องห้าม 1. ไม่มีใบกำกับภาษี 2. ใบกำกับภาษีไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ 3. ภาษีซื้อไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ 4. ภาษีซื้อจากค่ารับรอง 5. ใบกำกับภาษีออกโดยผู้ไม่มีสิทธิ 6. ประกาศ VAT # 42
มาตรา 86 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำใบกำกับภาษี และสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้า หรือ การให้บริการทุกครั้ง ต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือ ผู้รับบริการ ส่วนสำเนาใบกำกับภาษีให้เก็บรักษาไว้ ให้ออกเป็นรายสถานประกอบการ เว้นแต่จะ กำหนดเป็นอย่างอื่น
ใบกำกับภาษี มาตรา 86/4 คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับ ของเล่ม ถ้ามี ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือ ของบริการ จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้า หรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้า และหรือของบริการให้ชัดแจ้ง วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
ประกาศ VAT # 39 “เอกสารออกเป็นชุด” กรณีจัดทำใบกำกับภาษี รวมกับเอกสารทางการค้าอื่น และใบกำกับภาษี มิใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารชุดดังกล่าว (ต้องตีพิมพ์จากโรงพิมพ์ หรือจัดทำด้วยคอมพิวเตอร์) “สาขาที่ออกใบกำกับภาษีคือ ...” กรณีสาขานำ ใบกำกับภาษีของสำนักงานใหญ่ไปใช้ “ทะเบียนรถยนต์” กรณีสถานีบริการน้ำมัน (ไม่รวมถึงอู่ซ่อมรถ) กรณีได้รับอนุมัติให้ออกใบกำกับภาษีเป็นหน่วย เงินตราต่างประเทศ จะต้องระบุอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยไว้ในใบกำกับภาษี
ประกาศ VAT # 39 กิจการขายทองรูปพรรณที่ใช้สิทธิเสียภาษีจาก ส่วนต่าง ต้องเพิ่มอีก 6 รายการ คือ ราคาขายทองรูปพรรณซึ่งรวมค่ากำเหน็จ แต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ราคารับซื้อทองรูปพรรณ ที่สมาคมค้าทองรูปพรรณประกาศ ผลต่างระหว่างราคาขายทองรูปพรรณซึ่งรวมค่ากำเหน็จแต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มตาม (1) กับราคารับซื้อทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองรูปพรรณประกาศตาม (2) จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจาก (3) หมายเลขลำดับของใบรับที่ออกโดยเครื่องบันทึกเก็บเงิน แต่หากผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินออกใบกำกับภาษีด้วย ไม่ต้องระบุหมายเลขลำดับของใบรับ เลขรหัสประจำเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
ประกาศ VAT # 39 สถานประกอบการของผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2558 ประกาศ VAT # 39 (แก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศ VAT # 199) สถานประกอบการของผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ (เฉพาะที่จด VAT) สถานประกอบการของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ (เฉพาะที่จด VAT)
(Special business tax) ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Special business tax)
กิจการที่อยู่ในบังคับ SBT การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายเฉพาะ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ การรับประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต การรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ 50
การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงิน ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่า อสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ เฉพาะ ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนด โดยพระราชกฤษฎีกา การขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์ การประกอบกิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา 51
พรฎ. 342 ให้การขายอสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังต่อไปนี้ เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ม.91/2 (6) การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดิน การขายห้องชุดของผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อขาย รวมถึงการขายที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคารดังกล่าว
พรฎ. 342 การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) เฉพาะกรณีที่มีการแบ่งขายหรือมีการแบ่งแยกไว้เพื่อขาย โดยได้จัดทำถนนหรือสิ่ง สาธารณูปโภคอื่น หรือให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีสิ่งดังกล่าว การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะของ นิติบุคคลตามมาตรา 77/1 แห่งประมวลรัษฎากร
พรฎ. 342 การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่ (ก) การขายหรือการถูกเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนฯ (ข) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก (ค) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญที่ผู้ขายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น
พรฎ. 342 (ง) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายของตน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม (จ) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ทางมรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม
พรฎ. 342 (ฉ) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากรโดยไม่มีค่าตอบแทน (ช) การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กับส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลนั้นมิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่างอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น
กิจการที่ได้รับยกเว้น SBT ม. 91/3 กิจการที่ได้รับยกเว้น SBT กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์ เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น กิจการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ กิจการของการเคหะแห่งชาติ เฉพาะการขายหรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ กิจการรับจำนำของกระทรวง ทบวง กรม และราชการส่วนท้องถิ่น กิจการอื่นตามมาตรา 91/2 ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา 57
พรฎ.240 มาตรา 3 (13) กิจการของสหกรณ์ประเภทสหกรณ์บริการ ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่สมาชิก เฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) ต้องเป็นสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกของโครงการพัฒนาคนจน ในเมืองของการเคหะแห่งชาติ และได้รับเงินกู้ตามโครงการดังกล่าว (ข) ต้องนำเงินกู้ที่ได้รับไปจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อขายต่อ ให้แก่สมาชิกของสหกรณ์นั้น 58
ฐานภาษี และอัตราภาษี
อากรแสตมป์ Presented by:
ความหมาย "ปิดแสตมป์" หมายความว่า การปิดแสตมป์ทับกระดาษ หรือการมีแสตมป์ดุนบนกระดาษ "ปิดแสตมป์บริบูรณ์" หมายความว่า (1) กรณีแสตมป์ปิดทับ คือการปิดแสตมป์ทับกระดาษ (2) กรณีแสตมป์ดุน คือการได้เสียอากรโดยใช้ กระดาษมีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย (3) กรณีชำระเป็นตัวเงิน คือการเสียอากรเป็นตัวเงิน
ลักษณะ 28 ตราสาร 1. เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ 2. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใด ๆ เป็นผู้ออก 3. เช่าซื้อทรัพย์สิน 4. จ้างทำของ 5. กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร 6. กรมธรรม์ประกันภัย 7. ใบมอบอำนาจ 8. ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท 9. (1) ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน (2) ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้ อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน 10. บิลออฟเลดิง
ลักษณะ 28 ตราสาร 11. (1) ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใด ๆ (2) พันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย 12. เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใด ๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค 13. ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย 14. เลตเตอร์ออฟเครดิต 15. เช็คสำหรับผู้เดินทาง 16. ใบรับของ 17. ค้ำประกัน 18. จำนำ 19. ใบรับของคลังสินค้า 20. คำสั่งให้ส่งมอบของ
ลักษณะ 28 ตราสาร 21. ตัวแทน 22. คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ 23. คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร 24. หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน 25. ข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน 26. ข้อบังคับใหม่หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับ ของบริษัทจำกัดซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งต่อนายทะเบียน 27. หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน 28. ใบรับ
คำถาม ? 65