( Natural farming) เกษตรธรรมชาติ
ความหมายของเกษตรธรรมชาติ เกษตรธรรมชาติ หมายถึง การทำการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด ตลอดจนไม่ใช้สิ่งขับถ่ายจากมนุษย์ แต่เน้นการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีพลังในการ เพาะปลูกเหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ โดยมีการนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อ ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นระบบการเกษตรที่มีความยั่งยืน ถาวร เป็นอาชีพที่มีความมั่นคง
ความสำคัญของเกษตรธรรมชาติ เกษตรธรรมชาตินับว่าเป็นการทำการเกษตรที่มีความสำคัญมาก ดังนี้ 1. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม เนื่องจากไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด จึงไม่มีสารพิษตกค้างในสภาพแวดล้อม 2. ช่วยปรับปรุงและพัฒนาดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเพาะปลูก จึงช่วยคุ้มครองพื้นที่ในการทำการเกษตร 3. ช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศและความสมดุลของสภาพแวดล้อม 4. ทำให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่บริสุทธิ์ ทั้งปริมาณและมีคุณภาพดี 5. เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ โดยมีการใช้ทรัพยากรภายในแปลงเกษตรมาหมุนเวียน ใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ลดการใช้ปัจจัยภายนอกจึงเป็นการลดต้นทุนการผลิต
6. เป็นการเกษตรที่คำนึงถึงผู้บริโภคและลูกหลานในอนาคต 7 6. เป็นการเกษตรที่คำนึงถึงผู้บริโภคและลูกหลานในอนาคต 7. เป็นการลดความเสี่ยงเนื่องจากเป็นการทำการเกษตรที่ให้ผลผลิตแบบผสมผสานและมีความยั่งยืน 8. ทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี เกษตรกรปลอดภัยจากพิษภัยของสารเคมี สามารถประกอบอาชีพที่ปลอดภัยมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
หลักเกษตรธรรมชาติประกอบด้วย การปฏิบัติการทางการเกษตรที่คำนึงถึง ดิน พืชและแมลง ไปพร้อมๆกัน คือ 1. ดิน : ปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ 2. พืช : ปลูกพืชหลายชนิด 3. แมลง : อนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์
หลักการของ"เกษตรธรรมชาติ" แนวความคิดเกษตรธรรมชาติของ ฟูกุโอกะ มิได้ยืนอยู่บนพื้นฐานความคิดทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งปฏิเสธต่อทฤษฎีวิทยาศาสตร์การเกษตรทั้งหลายด้วย โดยเขาได้วางรากฐานของเกษตรธรรมชาติของเขาไว้ 4 ประการคือ 1. ไม่มีการไถพรวนดิน ในธรรมชาตินั้นพื้นดินมีการไถพรวนโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว โดยการชอนไชของรากพืช สัตว์ แมลงและสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่อยู่ในดิน กระบวนการเหล่านี้ดำเนินไปอย่างสัมพันธ์กัน พืชรากลึกจะช่วยไถพรวนดินชั้นล่าง พืชรากตื้นก็จะช่วยพรวนดินบริเวณดินชั้นบน การใส่ปุ๋ยจะทำให้รากพืชอยู่ตื้นและแผ่ขยายตามแนวนอนมากกว่าจะหยั่งลึกลงไป
2. งดเว้นการใส่ปุ๋ย เนื่องจากการใส่ปุ๋ยเป็นการเร่งการเจริญเติบโตของพืชแบบชั่วคราวในขอบเขต แคบๆ เท่านั้น ธาตุอาหารที่พืชได้รับก็ไม่สมบูรณ์ พืชที่ใส่ปุ๋ยมักจะอ่อนแอส่งผลให้เกิดโรคและแมลงได้ง่าย ดินที่ใส่ปุ๋ยเคมีติดต่อกันนานจะมีสภาพเป็นกรดและเนื้อดินเหนียวไม่ร่วนซุย การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสดมีความจำเป็นอยู่บ้างโดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ที่ต้องมีการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสียไปจากเกษตรเคมีให้ดีขึ้น 3. ไม่กำจัดวัชพืช เนื่องจากงานกำจัดวัชพืชเป็นงานหนักและแม้จะคิดค้นวิธีการต่างๆ ก็ไม่สามารถทำให้วัชพืชหมดสิ้นไปได้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องยอมรับการดำรงอยู่ของวัชพืช เช่นเดียวกับที่ธรรมชาติมิได้ประกอบด้วยพันธุ์ไม้เดียว เกษตรธรรมชาติต้องคิดค้นกฎเกณฑ์ที่วัชพืชจะควบคุมกันเอง เช่น การปลูกพืชบางชนิดคลุมหญ้าแล้วก็เป็นปุ๋ยแก่พืชปลูกด้วย
4. ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีไม่เคยกำจัดศัตรูพืชได้ได้โดยเด็ดขาดเพียงแต่หยุดได้ชั่วครั้งชั่ว คราวเท่านั้น และปัญหามลพิษที่เกิดจากสารเคมีประเภทต่างๆ ส่งผลกระทบต่อทั้งระบบนิเวศและมนุษย์ ทั้งนี้ ฟูกุโอกะ ไม่เห็นด้วยแม้การใช้แมลงและจุลินทรีย์มาควบคุมแมลงเพราะเห็นว่าเป็นการไป แทรกแซงธรรมชาติมากเกินไป และส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่สัมพันธ์ของสรรพชีวิตในระบบนิเวศได้ เนื่องจากในโลกแห่งความจริงไม่มีทางออกได้ว่าอะไรคือแมลงศัตรูพืช อะไรคือแมลงที่เป็นประโยชน์
สมาชิกกลุ่ม นายณัฐพงษ์ มาลี เลขที่ ๔ นายภูวดล หมื่นโฮ้ง เลขที่ ๖ นางสาว.ณัฐนรี แควสยอง เลขที่ ๑๕ นางสาวนุชปวีณ์ เทียมตา เลขที่ ๒๔ นางสาวรัตนาภรณ์ ลือโฮ้ง เลขที่ ๒๘ นางสาวสุธิภรณ์ ไชยภูมิ เลขที่ ๓๖ นางสาวนรยา จากน่าน เลขที่ ๔๑ นางสาวชนิตา เวียงโอสถ เลขที่ ๓๗ นางสาวนันทิชา วรรธนะพินทุ เลขที่ ๔๒ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๗