ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2517
พระราชดำรัสเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...
ประกอบด้วย 3ห่วง 2 เงื่อนไข
3 ห่วง ประกอบด้วย ห่วงแรก คือ ความพอประมาณ อันหมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยและไม่มากเกินไป ทั้งยังจะต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น การไม่รู้จักพอประมาณ ก็คือ การที่มหาวิทยาลัยไม่รู้จักตนเองวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนผิดพลาด ไม่รู้ว่าความสมดุลระหว่าง "การบริการวิชาการ" กับ "ความอยู่รอด" อยู่ตรงไหน ไม่รู้ว่าเมื่อใด ควร "ร่วมมือ" และเมื่อใดควร “ช่วงชิงความได้เปรียบ”
3 ห่วง ประกอบด้วย ห่วงที่สอง คือ ความมีเหตุผล ซึ่งหมายความว่า ในการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ ทั้งนี้จะต้องยอมรับด้วยว่า เรื่องของความคิดและการใช้เหตุผลนั้น เป็นทักษะที่ฝึกปรือได้ แต่ต้องอาศัยข้อมูลและข้อเท็จจริงที่มีน้ำหนัก มีความรอบด้านและมีจำนวนที่มากเพียงพอ ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความสามารถในการตั้งโจทย์ เพราะการตั้งโจทย์สำคัญกว่าการตอบโจทย์
3 ห่วง ประกอบด้วย ห่วงที่สาม การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การที่มหาวิทยาลัยจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล สิ่งเหล่านี้นับเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มองเห็น “โอกาส” ก่อนผู้อื่น
2 เงื่อนไข สองเงื่อนไขนั้น หมายความว่า ในการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมใดๆ ให้อยู่ในระดับความพอเพียงนั้น ต้อง อาศัย “ความรู้” และ “คุณธรรม” เป็นพื้นฐาน
2 เงื่อนไข เงื่อนไขที่หนึ่ง เงื่อนไขความรู้ ผู้บริหารจะต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งมีความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาอย่างเชื่อมโยงกัน อันจะทำให้การวางแผนงานและการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2 เงื่อนไข เงื่อนไขที่สอง เงื่อนไขคุณธรรม หมายความว่า ผู้บริหารจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของคุณธรรมและเชื่อมั่นว่า "คุณธรรมคือความถูกต้อง
2 เงื่อนไข โดยมีความซื่อสัตย์ สุจริต อดทนและพากเพียรเป็นที่ตั้ง ทั้งนี้คุณธรรมขั้นพื้นฐานสองประการที่ควรจะมีของผู้บริหาร น่าจะได้แก่ การมีขันติธรรมต่อความหลากหลายและความแปลกแยกของบุคคลและความคิดของบุคคล และการมีความกล้าหาญทางจริยธรรม อันหมายรวมถึง การกล้าที่จะคิดและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงด้วย