แนวคิดในการทำวิจัย
ความสำคัญที่มาของปัญหาการวิจัย ผู้วิจัยสนใจจะหาคำตอบ หรือโจทย์วิจัย ชัดเจน ผู้วิจัยสนใจจะหาคำตอบ
วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกับปัญหา ชื่องานวิจัยและเนื้อหางานวิจัย ผู้วิจัยต้องรู้ปัญหาและวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี
หากตั้งชื่อให้ครอบคลุมงานจะชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างชื่องานวิจัยที่ค่อนข้างกว้าง เรื่อง การออกเสียงสูงต่ำของตัวเลขโดยผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาว F (แต่เน้นการวิจัยการออกเสียงสูงต่ำ (accent)ของตัวเลข 0-9 และหมายเลขโทรศัพท์ 6 หลัก ของผู้เรียนชั้นต้นและชั้นกลาง) หากตั้งชื่อให้ครอบคลุมงานจะชัดเจนยิ่งขึ้น
การค้นคว้าทบทวนวรรณกรรม ควรจะละเอียดครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวข้อง ผู้วิจัยต้องรักการอ่าน การค้นคว้า การจดบันทึก การคิดวิเคราะห์
ตัวอย่าง ผู้วิจัยทบทวนวรรณกรรมว่า.. “ .....ไม่มีงานวิจัยที่พูดถึงในรายละเอียดเชิงลึกมากนัก... ” ย่อมแสดงว่ามีงานวิจัยที่ทำการวิจัยเรื่องนี้ แต่ไม่มีการอ้างอิงถึง ไม่มีการทบทวนและวิจารณ์งานที่เกี่ยวข้อง
การวางแผนการวิจัย ชัดเจน มีหลักเกณฑ์ การวางแผนการวิจัย ชัดเจน มีหลักเกณฑ์ มีขั้นตอนการดำเนินงาน มีกรอบความคิด
ตัวอย่าง เครื่องมือที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น มีงานวิจัยรวบรวมตัวอย่างประโยคจากวรรณกรรม 68 เล่ม และหนังสือวิชาการ 23 เล่ม โดยไม่ได้อธิบายถึงเกณฑ์การคัดเลือกหนังสือ ไม่ได้ระบุประเภทของวรรณกรรมหรือหนังสือวิชาการ และปีที่พิมพ์มีระยะเวลาที่แตกต่างกันมาก กล่าวคือ ตีพิมพ์ห่างกันเกือบ 30 ปี ในขณะที่หัวข้องานวิจัย เป็นเรื่องในภาษา..ปัจจุบัน จึงขาดความน่าเชื่อถือในข้อมูลประโยคตัวอย่าง
การวิเคราะห์และอภิปรายผลการวิจัย มีผลการวิจัยที่อ้างอิงได้ ไม่ได้เป็นความคิดความเชื่อส่วนตัวของผู้วิจัย
ตัวอย่างการอภิปรายที่ไม่มีในผลการวิจัย “ ผู้เรียนมีความเชื่อว่า.........โดยเฉพาะทักษะการพูดและการฟังซึ่งยากกว่าการเขียนและการอ่าน”(ไม่มีการวัดทักษะการพูดและการฟัง) เชื่อถือไม่ได้เพราะไม่มีเครื่องมือวัดทักษะการพูดและการฟัง เป็นเพียงการคาดเดาของผู้วิจัย
และสอดคล้องกับผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ มีความเป็นไปได้ และสอดคล้องกับผลการวิจัย
อ้างอิงเป็นระบบเดียวกัน เอกสารอ้างอิง อ้างอิงเป็นระบบเดียวกัน รูปแบบถูกต้อง
อื่นๆ : สำนวนการเขียน ใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น .....ส่วนใหญ่ มันจะเน้นไปที่...