หน่วยที่ 1 ความหมายและความสำคัญของเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอัตนัยตามแนวทางการทดสอบระดับนานาชาติ (PISA)
สาระสำคัญ ความหมายของแบบทดสอบอัตนัย ลักษณะของแบบทดสอบอัตนัย แบบทดสอบที่ผู้สอบจะต้องเรียบเรียงแนวความคิดและความรู้ที่ได้เรียนมา ผู้สอบต้องเรียบเรียงภาษาและผูกเป็นรูปประโยคให้เป็นข้อความที่ชัดเจน ผู้สอบต้องเขียนคำตอบให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของคำถาม ลักษณะของแบบทดสอบอัตนัย เป็นโจทย์หรือคำถามที่กำหนดสถานการณ์หรือปัญหาอย่างกว้างๆ หรือเฉพาะเจาะจง ไม่จำกัดเสรีภาพของผู้ตอบในการเรียบเรียงความคิดหรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับคำตอบ แบบทดสอบอัตนัยที่มีคุณภาพจะช่วยวัดความสามารถของผู้เรียนในด้านการจัดระเบียบความคิดและการสังเคราะห์ความรู้ต่างๆได้เป็นอย่างดี
จุดมุ่งหมายของการใช้แบบทดสอบอัตนัย ต้องการให้ผู้เข้าสอบแสดงความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และบรรยายความคิดออกมาได้อย่างเป็นอิสระและต้องคำนึงถึงความสามารถทักษะการเขียนของนักเรียนด้วย ต้องการเน้นความรู้ขั้นลึกซึ้ง เช่น ความสามารถในการสังเคราะห์หรือต้องการวัดความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมด ประเภทของแบบทดสอบอัตนัย 1. แบบทดสอบแบบไม่จำกัดความยาว (Unrestricted Response) เป็นแบบทดสอบที่ไม่จำกัดคำตอบ คำตอบต้องมีความยาวที่เหมาะสมกับหลักและเหตุผลที่คำถามต้องการ วัดความสามารถระดับการวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินผลได้เป็นอย่างดี ข้อดี มักมีปัญหาในการควบคุมทิศทางการตอบและการตรวจให้คะแนน ข้อจำกัด
คำถามสำคัญที่พบ คำถามสำคัญที่พบ อธิบาย อภิปราย เปรียบเทียบ วิเคราะห์ สรุปประเด็นสำคัญ แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ประเมินผล แนวทางแก้ปัญหา 2. แบบทดสอบแบบจำกัดคำตอบหรือตอบแบบสั้น (Restricted Response or Shot Essay Item) เป็นแบบทดสอบที่จำกัดกรอบของเนื้อหาหรือรูปแบบของแนวทางคำตอบ กำหนดขอบเขตของประเด็นให้ตอบในเนื้อหาที่แคบลงและสั้นกว่าแบบแรก ข้อดี วัดความรู้ความสามารถที่เฉพาะเจาะจงได้ดีกว่าแบบแรก ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ตอบได้แสดงความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ ข้อจำกัด คำถามสำคัญที่พบ จงอธิบายสั้นๆ จงบอกประโยชน์ จงอธิบายสาเหตุหรือจงบอกขั้นตอน
ข้อดี ข้อจำกัดของแบบทดสอบอัตนัย 1. สามารถวัดพฤติกรรมต่างๆได้ทุกด้านโดยเฉพาะกระบวนการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์จะวัดได้ดี 2. ผู้ตอบมีโอกาสใช้ความรู้แสดงความคิดเห็นและความสามารถในการใช้ภาษา 3. ลดโอกาสในการเดา 4. สร้างได้ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่าย 1. คำถามไม่สามารถออกให้ครอบคลุมเนื้อหาที่เรียนได้ เนื่องจากจำนวนข้อมีจำกัด เป็นการยากที่จะสุ่มเนื้อหาให้ครอบคลุมความรู้ที่ต้องการจะวัดได้ครบถ้วน 2. การตรวจให้คะแนนไม่คงที่แน่นอน มักมีความคลาดเคลื่อนมาก และควบคุมให้เกิดความยุติธรรมได้ยาก 3. ไม่เหมาะที่จะใช้กับผู้สอบจำนวนมากๆ เพราะใช้เวลาในการตรวจ 4. ลายมือของผู้ตอบและความสามารถในการเขียนบรรยายอาจจะมีผลต่อคะแนน 5. มีความเชื่อมั่นต่ำและมักขาดความเที่ยงธรรม ข้อดี ข้อจำกัด