บทที่ 1 วิวัฒนาการและลักษณะสำคัญ ของกฎหมายระหว่างประเทศ กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ พัฒนาการส่วนใหญ่เกิดขึ้นในโลกตะวันตก ตั้งแต่ยุคกรีก โดยปรากฎในความคิดของนักทฤษฎีต่างๆ เช่น หลักความเท่าเทียมกันของรัฐ หลักการทำสงครามโดยชอบธรรมฯลฯ มีความสัมพันธ์กับหลักกฎหมายธรรมชาติที่เชื่อว่ามีกฎเกณฑ์ที่เป็นสากล ซึ่งอยู่เหนือกฎที่มนุษย์หรือรัฐสร้างขึ้น
วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ (2) การเกิดขึ้นของรัฐชาติ (nation states) ในศตวรรษที่ 17 ก่อให้เกิดแนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตย (sovereignty) และ ความเท่าเทียมกันของรัฐ (equality of states) Hugo Grotius (ค.ศ. 1583 - 1645) เขียนงานเรื่องเสรีภาพทางทะเล (Mare Liberum หรือ freedom of the seas) ค.ศ. 1609 และเรื่องกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติ ค.ศ. 1625 ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ
วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ (3) ค.ศ. 1863 ก่อตั้งองค์การกาชาดสากล นำไปสู่การพัฒนากฎหมายด้านมนุษยธรรม (international humanitarian law) ค.ศ. 1864 First Geneva Convention เพื่อช่วยเหลือทหารผู้บาดเจ็บในสนามรบ โดยไม่เลือกปฏิบัติ จัดทำอนุสัญญาเพิ่มเติมใน ค.ศ. 1899 และ 1907 เพื่อขยายความคุ้มครองแก่บุคคลประเภทอื่นๆ ได้แก่ ทหารผู้บาดเจ็บจากการรบทางทะเล และเชลยศึก ปัจจุบัน พัฒนาเป็น The Four Geneva Conventions ค.ศ. 1949 และขยายความคุ้มครองถึงพลเรือนด้วย
วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ (4) First World War ค.ศ. 1914 - 1918 ค.ศ. 1919 ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) U.S. ไม่ได้เป็นสมาชิก ไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาสันติภาพ ค.ศ. 1919 ตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ค.ศ. 1921 ก่อตั้งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (Permanent Court of International Justice หรือ PCIJ)
วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ (5) Second World War ค.ศ. 1939 - 1945 ค.ศ. 1946 ก่อตั้ง United Nations (UN) และ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice หรือ ICJ) จัดทำข้อตกลงการค้าเสรี GATT ค.ศ. 1947
วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ (6) ค.ศ. 1960 มติสมัชชาใหญ่ UN ว่าด้วยการให้เอกราชแก่ประเทศอาณานิคมและกลุ่มชน (Declaration on the Granting of Independence to Colonial Countries and Peoples) อาณานิคมต่างๆมีสิทธิได้รับเอกราช และต้องให้เอกราชโดยมิชักช้า รัฐสมาชิกต้องให้ความเคารพสิทธิในการเลือกหนทางของตนเอง (Right to Self - Determination) ของกลุ่มชน (“peoples”) การเกิดขึ้นของกลุ่มประเทศโลกที่สาม
วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ (7) ค.ศ. 1970 มติสมัชชาใหญ่ UN ว่าด้วยหลักการกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์และความร่วมมือฉันมิตระหว่างรัฐ อำนาจอธิปไตยเหนือทรัพยากรธรรมชาติของตนเองโดยถาวร สิทธิในการเลือกเจตจำนงของตนเอง (Right to Self-Determination) หลักการไม่ใช้กำลังและการไม่แทรกแซงกันและกัน
การสิ้นสุดของสงครามเย็น ค.ศ. 1989 - 1991 การทำลายกำแพงเบอร์ลิน และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต การเกิดขึ้นของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน (countries with economies in transition) ได้แก่ อดีตประเทศสังคมนิยมในยุโรปตะวันออก การล่มสลายของยูโกสลาเวีย ค.ศ. 1991
โลกยุคโลกาภิวัฒน์หลังสงครามเย็น การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า สังคม และข้อมูลข่าวสาร ความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ค.ศ. 1994 ความตกลงจัดตั้งองค์การค้าโลก (World Trade Organization หรือ WTO) GATT 1994 ประกอบด้วย ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า 13 ฉบับ ความตกลงว่าด้วยการค้าภาคบริการ ความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIPs)
กฎหมายระหว่างประเทศ (IL) เป็นกฎหมายหรือไม่? John Austin ILไม่ใช่กฎหมาย เพราะไม่ใช่กฎเกณฑ์ซึ่งผู้มีอำนาจปกครองออกมาใช้บังคับกับผู้อยู่ใต้การปกครอง และขาดสภาพบังคับ (Sanctions) IL จึงเป็นเพียงกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมที่รัฐยอมรับมาถือปฏิบัติ
กฎหมายระหว่างประเทศ (IL) เป็นกฎหมายหรือไม่? H.L.A. Hart IL ไม่ใช่เป็นเพียงกฎเกณฑ์ทางศีลธรรม (Rules of Morality) เท่านั้น แต่เป็นกฎเกณฑ์ที่เกิดจากเจตจำนงค์ของรัฐที่เห็นว่ากฎเกณฑ์เหล่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และยินยอมหรือให้ความเห็นชอบ (Consent) ที่จะอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เหล่านั้น
แนวความคิดแบบกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) กฎหมาย คือ เหตุผลและความถูกต้องที่มีอยู่ในธรรมชาติ มีผลบังคับใช้ทุกกาลเวลา สถานที่ มีลักษณะเป็นสากล และอยู่สูงกว่ากฎเกณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ฉะนั้น IL ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายธรรมชาติ และอยู่เหนือกฎหมายภายในของรัฐ จึงถือเป็นกฎหมาย
กฎหมายระหว่างประเทศ (IL) เป็นกฎหมายหรือไม่? M. Akehurst IL เป็นกฎหมายที่รัฐต้องปฏิบัติ เหตุที่รัฐยอมปฏิบัติตาม IL เพราะมีผลประโยชน์ร่วมกัน (Common Interest) รัฐต้องการกติกาที่ช่วยสร้างเสถียรภาพ (Stability) และความแน่นอน (Predictability)
สภาพบังคับ (sanctions) ของ IL สภาพบังคับไม่ชัดเจน แน่นอนเหมือนกฎหมายภายใน ผู้บังคับใช้ คือ รัฐ และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับเรื่องและสถานการณ์ในแต่ละกรณี เช่น การใช้สิทธิป้องกันตนเอง (Right of Self-Defence) การใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ ฯลฯ การใช้กำลังร่วมกันภายใต้กรอบของ UN
สภาพบังคับ (sanctions) ของ IL