นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน
นวัตกรรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน แปลว่า การก่อสร้าง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน แปลว่า การก่อสร้าง ในวงการศึกษา แปลว่า การทำขึ้นใหม่ สิ่งที่ทำขึ้นใหม่ ได้แก่ แนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อและเทคนิคต่างๆที่เกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งได้รับการคิดค้นและจัดทำขึ้นใหม่เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ทางการศึกษา
คุณสมบัติของนวัตกรรมทางการศึกษา เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด /เพียงบางส่วน ยังไม่มีการนำไปใช้ หรือ เป็นสิ่งใหม่ในช่วงเวลาหนึ่ง และเก่าในอีกช่วงเวลา เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับ นำไปใช้บ้างแล้ว แต่ยัง ไม่แพร่หลาย เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับ แต่ยังไม่เป็นส่วนหนึ่ง ของงานปกติ เป็นสิ่งใหม่ กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ ทดสอบว่าใช้ได้ผลมากน้อย เพียงใดในบริบทนั้น
ลักษณะของนวัตกรรมที่ได้รับความสนใจ และยอมรับนำไปใช้อย่างกว้างขวาง 1. ไม่ซับซ้อนและยากเกินไป 2. ไม่เสียค่าใช้จ่ายแพงจนเกินไป 3. สามารถอำนวยความสะดวกในการใช้ 4. ไม่กระทบกระเทือนต่อบริบทเดิมมากนักให้ผลชัดเจน
ระดับการยอมรับนวัตกรรม 1. ระดับการรับรู้ เป็นการยอมรับอย่างคร่าวๆหรืออย่างผิวเผิน 2. ระดับการสนใจ เป็นการยอมรับในระดับมากขึ้นกว่าระดับแรก คือ รับรู้และเริ่มให้ความสนใจเนื่องจากสอดคล้องกับ ปัญหาและความต้องการของตน 3. ระดับการชั่งใจ ในระดับนี้จะมีการคิดไตร่ตรองถึงผลดี ผลเสีย และความเป็นไปได้ 4. ระดับการทดลองใช้ เป็นการตัดสินใจทดลองใช้ ในขอบเขตจำกัด เพื่อดูผลว่าใช้ได้จริงหรือไม่ 5. ระดับการใช้ เป็นการยอมรับในระดับสูงสุด เนื่องจากทดลองใช้แล้ว เกิดประโยชน์เป็นที่น่าพอใจ มีคุณค่าพอที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง
การพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนการสอน 1. การระบุปัญหา 2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย 3. การศึกษาข้อจำกัด 4. การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม 5. การทดลองใช้ 6. การเผยแพร่ 6.1 การเผยแพร่ที่อิงการใช้อำนาจสนับสนุนจากระดับสูง 6.2 การเผยแพร่แบบใช้มนุษยสัมพันธ์ 6.3 การเผยแพร่การใช้นวัตกรรม 6.4 การเผยแพร่แบบผสม 7. การยอมรับ หรือต่อต้านนวัตกรรมนั้น
ศึกษาคำต่อไปนี้ พร้อมทั้งอธิบายความเกี่ยวข้องกับ การเรียนการสอน teaching kit audio teleconference / video teleconference non – graded school internet virtual classroom multimedia