การใช้ Word เพื่อการคำนวณ บทที่ 6 การใช้ Word เพื่อการคำนวณ
การใช้ Word เพื่อการคำนวณ เริ่มการคำนวณ คลิกที่ปุ่ม Customize Quick Access Toolbar (กำหนดแถบเครื่องมือด่วน) ซึ่งอยู่ทางตอนท้ายของแถวคำสั่งด่วน เลือก More Commands (เลือกคำสั่งเพิ่ม) (กรณี ที่ยังไม่ได้ทำการติดตั้ง)
จะปรากฏ Dialog Box ดังรูป ทำการคลิกที่ Choose commands from (เลือกคำสั่งเพิ่ม จาก) จากนั้นเลือก Table Tools | Layout Tab (เครื่องมือตาราง|แท็บเค้าโครง) เลือกที่ Formula (สูตร) คลิก Add (เพิ่ม) คลิก OK (ตกลง)
สูตร
เมื่อทำการเพิ่ม Formula (สูตร) จะปรากฎไอคอนที่แถบคำสั่งด่วน ดังนี้ เมื่อคลิกไอคอน (สูตร) จะปรากฏ Dialog Box ดังรูป
มีรายละเอียด ดังนี้ สูตร คือ การกำหนดสูตรคำนวณโดยผ่านทางเครื่องหมายคณิตศาสตร์ รูปแบบตัวเลข คือ การกำหนดรูปแบบค่าตัวเลขของผลลัพธ์ที่ได้ วางฟังก์ชัน คือ การกำหนดฟังก์ชันที่ต้องการคำนวณ
ฟังก์ชัน ABS (Absolute) ใช้สำหรับหาค่าสัมบูรณ์ มีหน้าที่ในการหาค่าสัมบูรณ์ของตัวเลข โดย มีคุณสมบัติเป็นค่าบวกเสมอ รูปแบบ =ABS (Number) Number คือ ค่าตัวเลขใส่ได้ทั้งเครื่องหมาย + และ - ตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 30
AVERAGE ใช้ในการคำนวณหาค่าเฉลี่ยของกลุ่มข้อมูล รูปแบบ =Average (กลุ่มข้อมูลที่ 1, กลุ่มข้อมูลที่ 2, กลุ่มข้อมูลที่ 3 … , กลุ่มข้อมูลที่ n) ตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 30
COUNT ใช้การนับจำนวนข้อมูล หรือเรียกว่า “เรคอร์ด” (Record) ว่ามีจำนวนเท่าไร รูปแบบ =Count (กลุ่มข้อมูลที่ 1, กลุ่มข้อมูลที่ 2, กลุ่มข้อมูลที่ 3 … , กลุ่มข้อมูลที่ n) ตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 7
IF ใช้ในการหาผลลัพธ์ที่จำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้ได้ค่าผลลัพธ์นั้น โดย ฟังก์ชัน IF มีลักษณะการคำนวณเป็นแบบตรรกะ (Logical) จะส่งผลลัพธ์ที่กำหนดอยู่ ในรูปของจริง (True) หรือเท็จ (False) รูปแบบ =IF (เงื่อนไข , ผลลัพธ์ที่เป็นจริง , ผลลัพธ์ที่เป็นเท็จ) ตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 20
INT (Integer) ใช้ในการตัดจุดทศนิยมของค่าตัวเลขนั้น ๆ ทิ้ง รูปแบบ =INT (Number) Number คือค่าตัวเลขใส่ได้ทั้งเครื่องหมาย + และ - ตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 30
MAX ใช้สำหรับหาค่าสูงสุดของกลุ่มข้อมูล รูปแบบ =MAX (กลุ่มข้อมูลที่ 1, กลุ่มข้อมูลที่ 2, กลุ่มข้อมูลที่ 3 … , กลุ่มข้อมูลที่ n) ตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 100
MIN ใช้สำหรับหาค่าต่ำสุดของกลุ่มข้อมูล รูปแบบ =MIN (กลุ่มข้อมูลที่ 1, กลุ่มข้อมูลที่ 2, กลุ่มข้อมูลที่ 3 … , กลุ่มข้อมูลที่ n) ตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 20
MOD ใช้ในการหาเศษที่ได้จากการหาร รูปแบบ =MOD ( Number, Divisor) Number คือ ค่าตัวเลขที่ใช้เป็นตัวตั้ง มีค่าเป็น + หรือ – ก็ได้ รวมทั้งสามารถ อ้างอิงจากช่องเซลล์ Divisor คือ ค่าตัวเลขที่ใช้เป็นตัวหาร มีค่าเป็น + หรือ – ก็ได้ รวมทั้งสามารถอ้างอิง จากช่องเซลล์ ตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 5
SUM (Summation) ใช้ในการหาผลรวมของข้อมูลทั้งหมด รูปแบบ =SUM(กลุ่มข้อมูลที่ 1, กลุ่มข้อมูลที่ 2 , กลุ่มข้อมูลที่ 3 … , กลุ่มข้อมูลที่ n) ตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 180
การนำฟังก์ชันต่าง ๆ มาผสมกัน ตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 77
การพิมพ์สมการทางคณิตศาสตร์ (Microsoft Equation) ไปยังตำแหน่งที่จะใส่สมการ ที่แท็บ Insert (แทรก) ในกลุ่ม Symbols (สัญลักษณ์) คลิกที่หัวลูกศรของไอคอน (สมการ) แล้วคลิกเลือกสมการที่ต้องการ
เราสามารถแก้ไขส่วนต่างๆ ได้ด้วย
การพิมพ์สมการเอง 1.ไปยังตำแหน่งที่จะเริ่มต้นสร้างสมการ 2. ที่แท็บ Insert (แทรก) ในกลุ่ม Symbols (สัญลักษณ์) คลิกที่ไอคอน (สมการ)หรือ คลิกที่หัวลูกศรของไอคอน (สมการ) แล้วเลือกคำสั่ง Insert New Equation (แทรกสมการใหม่) จะปรากฏกรอบสำหรับพิมพ์สมการ พร้อมทั้ง เครื่องมือในการพิมพ์ในแท็บ Design (ออกแบบ) ของ Equation Tools (เครื่องมือ สมการ) กรอบสำหรับพิมพ์สมการ
3. เริ่มพิมพ์สมการโดย หากเป็นข้อความปกติให้พิมพ์ได้เลย หากเป็นสัญลักษณ์ให้คลิกเลือกได้จากกลุ่ม Symbols (สัญลักษณ์) หากถึงช่วงของสมการที่ซับซ้อน ให้คลิกเลือกแบบต่างๆ ได้จากกลุ่ม Structures (โครงสร้าง)
ตัวอย่างการพิมพ์สมการ ลองพิมพ์สมการต่อไปนี้ 1 ตัวอย่างการพิมพ์สมการ ลองพิมพ์สมการต่อไปนี้ 1. คลิกที่ไอคอน (ส่วนที่ถูกเน้น) แล้วเลือกแบบ
2. เคาะเว้นวรรค พิมพ์ = แล้วเว้นวรรค 3 2. เคาะเว้นวรรค พิมพ์ = แล้วเว้นวรรค 3. คลิกที่ไอคอน (เศษส่วน) แล้วเลือกแบบ เพื่อพิมพ์เศษส่วน
4. คลิกในช่องของเศษ คลิกที่ไอคอน (ตัวดำเนินการขนาดใหญ่) แล้วเลือก
5. คลิกในช่องที่อยู่ถัดจาก คลิกที่ไอคอน (สคริปต์) แล้วเลือก เพื่อพิมพพ์อักษรที่มีตัวห้อย
6. คลิกที่ไอคอน (สคริปต์) แล้วเลือก อีกครั้ง 7 6. คลิกที่ไอคอน (สคริปต์) แล้วเลือก อีกครั้ง 7. คลิกในแต่ละช่อง แล้วพิมพ์อักษรของแต่ละช่องและสามารถแก้ไขได้ตามต้องการ