การพิจารณาอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ สำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่น กลุ่มงานกฎหมายระเบียบและเรื่องร้องทุกข์ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช
การอุทธรณ์ ความหมาย การอุทธรณ์ เป็นวิธีการอย่างหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมในระบบการบริหารงานบุคคล ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะให้ผู้ถูกลงโทษทางวินัยมีทางร้องขอรับความยุติธรรมจากการพิจารณาโดยองค์กรหรือผู้มีอำนาจเหนือผู้สั่งลงโทษอีกชั้นหนึ่ง
จุดประสงค์ของการอุทธรณ์ อุทธรณ์ มีจุดประสงค์ทางหลักการที่จะให้ข้าราชการผู้ถูกลงโทษทางวินัยมีทางร้องขอรับความยุติธรรมจากการพิจารณา โดยองค์กรหรือผู้มีอำนาจเหนือผู้สั่งลงโทษอีกชั้นหนึ่งการร้องเรียนในการอุทธรณ์ซึ่งเป็นการร้องต่อองค์กรหรือผู้บังคับบัญชาเหนือผู้สั่งลงโทษ จึงไม่มีลักษณะเป็นการ “หันหน้าเข้าหากัน” ระหว่างผู้อุทธรณ์กับผู้เป็นเหตุให้อุทธรณ์แต่เป็นการคัดค้านหรือโต้แย้ง ในลักษณะ “เผชิญหน้า” กับผู้บังคับบัญชา หรือ “หันหลังให้” ผู้บังคับบัญชา
กรณีที่อุทธรณ์ได้ ข้อ ๑๑๓ พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ใด ถูกสั่งลงโทษทางวินัย ให้ผู้นั้นมีสิทธิ อุทธรณ์ได้
วิธีการอุทธรณ์ ๑. อุทธรณ์ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันทราบคำสั่งลงโทษ (ข้อ ๑๑๓) การนับระยะเวลา (ข้อ ๑๒๒) ๑) ถือวันที่ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง ๒) กรณีไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง แต่ได้มีพยานลง ลายมือชื่อรับทราบการแจ้ง ถือวันที่แจ้ง ๓) กรณีแจ้งทางไปรษณีย์ เมื่อพ้น ๓๐ วัน นับแต่วันปรากฏในใบตอบรับว่าผู้ถูกลงโทษรับเอกสารหรือมีผู้รับแทน ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว การนับระยะเวลาสำหรับเวลาเริ่มต้น ให้นับถัดจากวันแรก ส่วนเวลาสิ้นสุดถ้าวันสุดท้ายตรงกับวันหยุดราชการให้นับวันเริ่มเปิดทำการเป็นวันสุดท้าย
วิธีการอุทธรณ์ (ต่อ) ๒.อุทธรณ์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น จะอุทธรณ์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้ (ข้อ ๑๑๙) ๓.หนังสืออุทธรณ์ต้องแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลว่า คำสั่งลงโทษไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ไม่เป็นธรรมอย่างไร ๔.ทำเป็นหนังสืออุทธรณ์ถึงประธาน ก.จังหวัด โดยยื่นที่ศาลากลางจังหวัด หรือยื่นผ่านนายกฯก็ได้ โดยนายกฯต้องจัดส่งไปยังประธานก. ภายใน ๗ วัน นับแต่ได้รับหนังสือ (ข้อ ๑๒๓)
การยื่นและพิจารณาอุทธรณ์ กรณีมีการโอน ข้อ ๑๒๖ ๑.กรณีถูกสั่งลงโทษก่อนวันโอน แต่ยังไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ ให้อุทธรณ์ต่อ ก.จังหวัดที่สังกัด ๒. กรณีที่ใช้สิทธิอุทธรณ์ไว้ก่อนโอน และ ก.จังหวัดยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ส่งเรื่องให้ ก.จังหวัด สังกัดปัจจุบัน ๓. กรณีที่ใช้สิทธิอุทธรณ์ไว้ก่อนโอน และ ก.จังหวัดพิจารณาแล้วเสร็จแต่นายกฯสังกัดเดิมยังไม่ได้สั่งตามมติ ต้องส่งเรื่องให้ก.จังหวัด สังกัดปัจจุบัน
สิทธิของผู้อุทธรณ์ ๑. สิทธิที่จะคัดหรือตรวจสอบรายงานการสอบสวน (ข้อ ๑๒๐) ๒. สิทธิที่คัดหรือตรวจบันทึกถ้อยคำพยานบุคคลหรือพยานหลักฐานอื่น (เป็นดุลพินิจที่จะอนุญาตหรือไม่ก็ได้ ) ๓.สิทธิที่จะยื่นคำแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นพิจารณาของอนุฯ หรือ ก.จังหวัด (ยื่นมาในหนังสืออุทธรณ์ หรือยื่นขอภายใน 30 วัน นับแต่วันยื่นหนังสืออุทธรณ์ ) ข้อ ๑๒๙ ๔.สิทธิในการขอถอนอุทธรณ์ ก่อนอนุฯทำความเห็น หรือก่อน ก.จังหวัด พิจารณาเสร็จ การพิจารณาอุทธรณ์ระงับ (ข้อ ๑๒๕)
สิทธิของผู้อุทธรณ์ (ต่อ) ๕. สิทธิที่จะคัดค้านอนุกรรมการฯหรือ ก.จังหวัด (ข้อ ๑๒๑) ๑) รู้เห็นเหตุการณ์ ๒) มีส่วนได้เสียในการกระทำผิดวินัย ๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้อุทธรณ์ ๔) เป็นผู้กล่าวหาหรือเป็นผู้บังคับบัญชา หรือเป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้กล่าวหาหรือเป็นผู้บังคับบัญชา
ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ ๑. คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ ๒. ก.จังหวัด
คุณสมบัติของอนุกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ฯ 1. ไม่เป็นกรรมการใน ก.จังหวัด 2. ไม่เป็นคณะกรรมการใน อนุฯวินัย
คณะกรรมการอนุฯ อุทธรณ์และร้องทุกข์ ประกอบด้วย. 1 คณะกรรมการอนุฯ อุทธรณ์และร้องทุกข์ ประกอบด้วย 1. รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด 2. นายอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด 3. ผู้แทนอปท.ในจังหวัด ประกอบด้วยประธานสภาอปท. นายก อปท. และพนักงานอปท. ฝ่ายละเท่ากัน 4. ผู้ทรงคุณวุฒิ คัดจากผู้มีความรู้ โดยให้มีฝ่ายละ 1 คน เท่ากัน หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งเป็นไปตาม ก.จังหวัด กำหนด
การพิจารณาอุทธรณ์ -ก.จังหวัด และ อนุฯ อาจขอเอกสารเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาได้ หากกรณีเห็นควรสอบสวนเพิ่มเติมให้ ก.จังหวัดมีมติกำหนดประเด็นให้นายก อปท.เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนสวบสวนเพิ่มเติมโดยกรรมการสอบสวนอาจเป็นชุดเดิมหรือชุดใหม่ก็ได้ - การพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ หากจำเป็นขยายได้อีกสองครั้งๆละไม่เกิน 30 วัน
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ข้อ ๑๓๐ ๑.สั่งถูกต้องแล้ว มีมติยกอุทธรณ์ ๒.สั่งไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมกับความผิด และควรได้รับโทษหนักขึ้น ให้มีมติเพิ่มโทษได้ ๓.สั่งไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมกับความผิด และควรได้รับโทษเบาขึ้น ให้มีมติลดโทษได้หรือวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควร งดโทษ ให้ทำทัณฑ์บนหรือว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือได้ ๔.เห็นว่ากรณีมูลควรกล่าวหาว่าผู้อุทธรณ์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้มีมติตั้งคณะกรรมการ
ตัวอย่างแนวทางการลงโทษ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ 264/2550 ผู้ฟ้องคดีรับราชการตำแหน่ง จัดเก็บรายได้ แต่ได้รับมอบหมายจากนายกฯให้นำเงินไปชำระค่าโทรศัพท์สำนักงาน แต่ปรากฏว่ากลับนำเงินไปใช้ส่วนตัว กรรมการและนายกฯเห็นว่าไม่เป็นการทุจริตต่อ หน้าที่ราชการ แต่เป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบให้ลดขั้น 1 ขั้น แต่ ก.จังหวัด เพิ่ม โทษเป็นไล่ออกจากราชการ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบ เนื่องจากตนไม่ มีหน้าที่โดยตรงและไม่มีเจตนาทุจริตเนื่องจากต้องนำเงินเป็นค่าเดินทางไปส่งสามี เดินทางไปต่างจังหวัด ศาลเห็นว่า แม้การชำระค่าโทรศัพท์ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงแต่ เป็นหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การนำเงินดังกล่าวไปใช้ส่วนตัว เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ราชการ การที่ ก.จังหวัดเพิ่มโทษเป็นไล่ออกจากราชการ ชอบแล้ว ยกฟ้อง
การพิจารณาอุทธรณ์ตามมติ ปปช. คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๒/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ซึ่งวินิจฉัยไว้ว่า การใช้สิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจในการสั่งลงโทษของ ผู้บังคับบัญชาอันเนื่องมาจากการลงโทษทางวินัยตามฐานความผิดของ คณะกรรมการป.ป.ช.มีมติ มิใช่ฐานความผิดจากการสอบสวนวินัยโดย ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาเองการอุทธรณ์จึงต้องตกอยู่ในขอบเขตที่ พระราชบัญญัติ ปปช. มาตรา ๙๖ บัญญัติไว้ โดยมีสิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจใน การสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาเท่านั้น กล่าวคือ อุทธรณ์ได้เฉพาะระดับ โทษตามฐานความผิดที่คณะกรรมการป.ป.ช. มีมติ และองค์กรที่มีอำนาจ พิจารณาอุทธรณ์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงฐานความผิดทางวินัยตามที่ คณะกรรมการป.ป.ช. วินิจฉัยและยุติแล้วให้เป็นประการอื่นได้อีก
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ (ต่อ) การออกจากราชการของผู้อุทธรณ์ไม่เป็นเหตุที่จะยุติ การพิจารณาแต่จะมีมติ เพิ่มโทษกรณีวินัยไม่ร้ายแรง หรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ไม่ได้ หากผู้อุทธรณ์ตายจะตั้งกรรมการสอบสวนร้ายแรง ผู้อุทธรณ์หรือเพิ่มโทษเป็นปลดออก หรือไล่ออกไม่ได้
มีมติวินิจฉัยอุทธรณ์ ผลหลังจาก ก.จังหวัด มีมติวินิจฉัยอุทธรณ์ ก.จังหวัด มีมติรับอุทธรณ์และพิจารณาอุทธรณ์เป็น ประการใด ให้แจ้งนายก อปท.ที่ผู้อุทธรณ์นั้นสังกัด เพื่อแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบ ผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์แต่อีกไม่ได้ (ข้อ ๑๓๓)
การร้องทุกข์ ความหมาย เป็นวิธีการอย่างหนึ่งของกระบวนการพนักงาน สัมพันธ์ในระบบการบริหารงานบุคคล ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะให้ข้าราชการมีทางร้องขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจในการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตน
จุดประสงค์การร้องทุกข์ (1) เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชา กับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา (2) เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาได้รับทราบความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม (3) เพื่อให้ข้าราชการมีทางระบายอารมณ์ และไม่ไปแสดงออกในทางที่ไม่ถูกไม่ควร (4) เพื่อให้มีกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชาให้เป็นไปโดยถูกต้อง เป็นธรรม และเหมาะสม (5) เพื่อเสริมให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้บังคับบัญชา
เหตุแห่งการร้องทุกข์ ข้อ ๑๓๗ ๑. ผู้บังคับบัญชาได้ใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดย ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ๒. ผู้บังคับบัญชาไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือน ๓. ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือคับข้องใจจากการกระทำของผู้บังคับบัญชา - เลือกปฏิบัติ เช่น เชื้อชาติ ศาสนา เพศ - กรณีไม่มอบหมายงาน - การประวิงเวลาเพื่อให้เสียสิทธิ ๔. ถูกสั่งลงโทษให้ออกจากราชการ (ไม่ใช่การลงโทษทางวินัย)
วิธีการร้องทุกข์ ๑. ร้องทุกข์ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์ การนับระยะเวลา (ข้อ ๑๔๔) ๑) กรณีคำสั่งเป็นหนังสือถือวันที่ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง กรณีไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง แต่ได้มีพยานลง ลายมือชื่อรับทราบการแจ้ง ถือวันที่แจ้ง กรณีแจ้งทางไปรษณีย์ เมื่อพ้น ๓๐ วัน นับแต่วันปรากฏในใบตอบรับว่าผู้ถูกลงโทษรับเอกสารหรือมีผู้รับแทน ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ๒) กรณีไม่มีคำสั่งเป็นหนังสือโดยตรงหรือไม่มีคำสั่งอย่างใด ให้ถือวันที่ทราบหรือควรทราบเรื่องอันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
วิธีการร้องทุกข์ (ต่อ) การนับระยะเวลา การนับระยะเวลาสำหรับเวลาเริ่มต้น ให้นับถัดจากวันแรก ส่วนเวลาสิ้นสุดถ้าวันสุดท้ายตรงกับวันหยุดราชการให้นับวันเริ่มเปิดทำการเป็นวันสุดท้าย
วิธีการร้องทุกข์ (ข้อ ๑๔๑) ๒. ร้องทุกข์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น จะร้องทุกข์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทนไม่ได้ ๓. หนังสือร้องทุกข์ต้องลงลายมือชื่อและตำแหน่งของผู้ร้องทุกข์ และต้องแสดงข้อเท็จจริงและปัญหาให้เห็นว่า นายกฯปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือเกิดความคับข้องใจอย่างไร ๔. เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากผู้บังคับบัญชาอื่นที่มิใช่นายกฯ ให้ยื่นต่อ นายกฯ หากไม่พอใจร้องทุกข์ต่อ ก.จังหวัด ๕. เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากนายกฯ ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.จังหวัด
สิทธิของผู้ร้องทุกข์ ๑.สิทธิที่จะยื่นคำแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นพิจารณา ของอนุฯ หรือ ก.จังหวัด ๒.สิทธิในการขอถอนหนังสือร้องทุกข์ (ก่อนอนุฯทำความเห็น หรือก่อน ก.จังหวัด พิจารณาเสร็จ)
สิทธิของผู้ร้องทุกข์ (ต่อ) ๓. สิทธิที่จะคัดค้านอนุกรรมการฯหรือ ก.จังหวัด (ข้อ ๑๔๓) ๑) เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ ๒) มีส่วนได้เสียในเรื่องที่ร้องทุกข์ ๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องทุกข์ ๔) เป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
๑. คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ ๒. ก.จังหวัด ผู้มีอำนาจพิจารณา ๑. คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ ๒. ก.จังหวัด
การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ -ประธานอนุฯ มีหนังสือให้นายกฯชี้แจงภายใน 7 วันนับแต่ได้รับหนังสือ (ข้อ ๑๔๗) -ให้อนุฯ หรือ ก.จังหวัด วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับหนังสือร้องทุกข์ หากไม่แล้วเสร็จขยายได้ อีกสองครั้งๆ ละไม่เกิน 30 วัน รวม 90 วัน
การพิจารณาวินิจฉัย (ข้อ ๑๕๐) ๑. ถ้าเห็นว่าคำสั่งถูกต้องเหมาะสมแล้วให้ยกคำร้องทุกข์ ๒. ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องเหมาะสมก็อาจเพิกถอน หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ๓. ถ้าเห็นว่าการดำเนินการไม่ถูกต้อง ก็อาจสั่งให้ดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง
ผลการพิจารณา (ข้อ ๑๕๑) ก.จังหวัด มีมติเป็นประการใดให้แจ้งนายกอปท.ให้ปฏิบัติตาม ในโอกาสแรกที่ทำได้ แล้วแจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว
สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เบอร์ติดต่อ 075-356144*16,19 086-4706619