คุณธรรมและจริยธรรม สำหรับ วิทยาการคอมพิวเตอร์
จริยธรรมคอมพิวเตอร์ จริยธรรม หมายถึง "หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ" ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม คือ การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ การละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น
การปลูกฝังจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1. ครอบครัวและเพื่อน ต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ครอบครัวต้องแสดงความมีจริยธรรม เมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตก็จะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกหลานสืบไป เป็นวัฏจักรแห่งการสืบทอดจริยธรรม ส่วนเพื่อนต้องคอยตักเตือนกันในเรื่องการหมกมุ่นกามารมณ์ ดูหนังโป๊ในอินเตอร์เน็ต เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและจะนำผลเสียมาสู่ตัวเราและสังคม ควรไปเล่นกีฬา อ่านหนังสือ ใช้อินเตอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์ในทางที่สร้างสสรค์ หรือกิจกรรมนันทนาการอื่นๆ
การปลูกฝังจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2. ในหลักสูตรการศึกษาควรบรรจุรายวิชาที่เน้นปลูกฝังจริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติตนตาม ผู้สอนจะต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง ช่วยแก้ไข ปรับปรุง ตักเตือน เมื่อการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ให้ฝึกฝนแต่สิ่งที่ดีงาม
การปลูกฝังจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3. บุคคลที่มีจริยธรรมได้รับการยกย่องจากสังคม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจ เป็นกำลังใจให้แก่บุคคลที่ปฏิบัติตนให้มีจริยธรรมให้เกิดกับตนเอง ส่วนบุคคลที่ไม่มีจริยธรรม เช่น กลั่นแกล้งเพื่อนนักศึกษาลงโฆษณาขายบริการทางเพศบนอินเตอร์เน็ต หรือการตัดต่อภาพให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายนั้น เป็นความผิดทางกฏหมายและจะได้รับการลงโทษ
จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งตัวบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรต่างๆ ซึ่งการละเมิดความเป็นส่วนตัวเช่น การดูข้อมูลในคอมพิวเตอร์ หรือการแอบเข้าไปดูข้อความใน e-Mail ของบุคคลอื่น
จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) เช่น การบันทึกข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง การเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นความจริง
จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3. ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property) หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์ ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ สิ่งพิมพ์ แฟลชไดร์ฟ เป็นต้น
จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) เป็นการกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ และเข้าถึงข้อมูล เพื่อรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูล ส่วนการเข้าถึง ข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว
จรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ให้ระมัดระวังการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์หรือผู้ประสงค์ร้าย