เขตการค้าเสรี ไทย-อินเดีย India-Thailand Free Trade Area
ความเป็นมา ในปี 2001 ไทย-อินเดีย ได้จัดตั้ง คณะศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรี ผลการศึกษาปรากฏว่า การจัดทำ FTA จะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย ในแง่ความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุน ในปี 2002 ได้จัดตั้งคณะเจรจาจัดทำกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี ในปี 2003 ได้มีการลงนามกรอบฯ โดยรัฐมนตรีการค้าของทั้ง สองฝ่าย
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อเปิดเสรีและลดอุปสรรคทางการค้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายการค้าสินค้าและการค้าบริการ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาใหม่ๆ
ประโยชน์ที่จะได้รับ การเข้าสู่ตลาดที่มากขึ้นของทั้งสองฝ่าย (better market access) สร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการค้าและการลงทุน สร้างแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมกัน ระหว่าง ไทย-อินเดีย เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างเอเซียใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
สาระสำคัญของเขตการค้าเสรี ไทย-อินเดีย มีขอบเขตครอบคลุมในทุกเรื่อง คือ การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ จะยกเลิกมาตรการภาษีและมิใช่ภาษีในปี 2010 จะเปิดเสรีการค้าบริการ ให้ได้สาขามากที่สุด และกำลังตกลงในเรื่องระยะเวลาในการเปิดเสรีกันอยู่
ลักษณะของเขตการค้าเสรี ไทย-อินเดีย (ต่อ) ลักษณะของเขตการค้าเสรี ไทย-อินเดีย (ต่อ) ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในการลงทุนระหว่างกัน ร่วมกันสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะนำประโยชน์มา สู่ทั้งสองฝ่าย เช่น การประมง/เลี้ยงสัตว์น้ำ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีชีวะภาพ การท่องเที่ยว และการดูแล สุขภาพ เป็นต้น สนับสนุนการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน เช่นในเรื่องของกระบวนการศุลกากร ความตกลงการยอมรับร่วม เป็นต้น
สินค้าเร่งลดภาษี (Early Harvest Scheme) ครอบคลุมสินค้า 82 รายการ ได้แก่ เงาะ มังคุด ลำไย องุ่น แอปเปิ้ล ข้าวสาลี อาหารทะเลแปรรูป เม็ดพลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ ฯลฯ ตารางการลดภาษีสินค้า จะใช้วันที่ 1 มค. 2004 เป็นปีฐาน - 1 กย. 04-31 สค. 05 50% - 1 กย. 05-31 สค. 06 75% - 1 กย. 06 เป็นต้นไป 100%
สินค้าเร่งลดภาษี (ต่อ) ใช้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (ชั่วคราว) กับสินค้ากลุ่มนี้ สินค้าที่จะได้รับสิทธิการลดภาษีจะต้องระบุแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศไทยหรืออินเดีย สินค้าที่จะได้รับสิทธิพิเศษภายใต้ FTA จะต้อง - ใช้วัตถุดิบที่ผลิตภายในประเทศทั้งหมด (wholly obtained) - สินค้าที่ผลิตในไทยหรืออินเดีย โดยมีการนำเข้าวัตถุดิบจากแหล่งอื่นไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้
สินค้าเร่งลดภาษี (ต่อ) สินค้าที่มีวัตถุดิบจากต่างประเทศ (นอกจาก ไทยและอินเดีย) จะต้องมีกระบวนการผลิตเพิ่มและมีการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากรในระดับที่กำหนดไว้ (changing in tariff classification) สินค้าที่มีวัตถุดิบจากต่างประเทศ (นอกจาก ไทยและอินเดีย) จะต้องมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบในประเทศตามที่กำหนด (local value added content)
มูลค่าการค้าของทั้งสองฝ่าย
มูลค่าการค้าสินค้า Early Harvest Scheme
มูลค่าการค้าสินค้า Early Harvest Scheme มูลค่าการค้ารวมในปี 2545 86.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็น 7.2% ของมูลค่าการค้ารวม ไทย-อินเดีย) มูลค่าส่งออก 47.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (พลาสติก เครื่องปรับอากาศ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) มูลค่านำเข้า 37.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม เคมีภัณฑ์ และเครื่องจักร)
มูลค่าการค้าสินค้าเร่งลดภาษี (ต่อ) ในปี 2003 สินค้ากลุ่มนี้มีปริมาณการค้าเพิ่มขึ้น 60.5% ไทยนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้จากอินเดียเพิ่มขึ้น 91.5% ซึ่งอินเดียมีส่วนแบ่งตลาดในไทยเท่ากับ 1.1% ไทยส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไปอินเดียเพิ่มขึ้น 36.4%
สถานะการเจรจาในปัจจุบัน การเปิดเสรีการค้าสินค้า (Trade in Goods) ครอบคลุมหัวข้อสำคัญ สินค้าที่จะนำมาลดภาษี (Normal / Sensitive Track) รูปแบบการลดภาษี กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี และมาตรการปกป้อง พิธีการศุลกากร การระงับข้อพิพาททางการค้า
สถานการณ์เจรจาในปัจจุบัน (ต่อ) การค้าบริการและการลงทุน ใช้กรอบการเจรจาการค้าบริการภายใต้ WTO เป็นพื้นฐาน ให้มีการเจรจาเปิดเสรีรายสาขา โดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยน request / offer
สถานการณ์เจรจาในปัจจุบัน (ต่อ) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การท่องเที่ยว การศึกษา
ผลสืบเนื่องจาก FTA ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กว้างขึ้น การเข้าสู่ตลาด เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพในการผลิตและการแข่งขัน
ธวัชชัย โสภาเสถียรพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ขอบคุณครับ ธวัชชัย โสภาเสถียรพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์